พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาในคดีที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี: ศาลชั้นต้นอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ป.วิ.อ.มาตรา 221 บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น แต่จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุกและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุกและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ผิดเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น แต่จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรีการที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468-469/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินปฏิรูปที่ดิน: โมฆะหากทำภายใน 3 ปีโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา28 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใด ๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินภายในระยะเวลา 3 ปี เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย" บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด เป็นเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการก่อนเท่านั้น
คู่กรณีได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินโดยกำหนดโอนกันครั้งแรกภายในระยะเวลา 3 ปี จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) และตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ซึ่งกำหนดโอนที่ดินพิพาทกัน และโจทก์ผู้จะซื้อมีหนังสือแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ภายในระยะเวลา 3 ปี เช่นเดียวกัน จึงเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน
คู่กรณีได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินโดยกำหนดโอนกันครั้งแรกภายในระยะเวลา 3 ปี จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) และตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ซึ่งกำหนดโอนที่ดินพิพาทกัน และโจทก์ผู้จะซื้อมีหนังสือแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ภายในระยะเวลา 3 ปี เช่นเดียวกัน จึงเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือจากเดิมที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดย ป.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาต จึงเป็นการที่จำเลยยึดถือครอบครองแทน ป. เมื่อมิใช่ ป.ได้ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้จำเลยยึดถือครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนั้นไม่ว่า ว.และโจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตหรือไม่จำเลยก็ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: คาน, โครงสร้าง, และอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า โครงสร้างอาคาร ไว้ แต่เมื่อพิจารณาความหมายในทางวิศวกรรมก่อสร้างและเจตนารมณ์ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว โครงสร้างอาคารหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารซึ่งได้แก่ ฐานราก เช่น คานคอดิน ตอม่อเสา หรือส่วนกลางของอาคาร เช่น คาน พื้น หรือส่วนบนของอาคาร เช่น โครงหลังคา หลังคา เป็นต้น
คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้าง นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ข้อ 1 (1) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 5 (3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1 (1)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน
เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้าง นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ข้อ 1 (1) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 5 (3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1 (1)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน
เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมาย ทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยคดีได้
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหา ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่จำเลยทั้งสามรับสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้วได้ยื่นคำแถลงคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลฎีกา จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์จากความปกครองของบิดามารดา แม้จะได้รับอนุญาตให้ไปในบางสถานการณ์ ก็ยังถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้านนาง น.ที่กรุงเทพมหานครต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดแล้วจำเลยพาผู้เสียหายไป ดังนี้ถือว่าระหว่างที่ผู้เสียหายทำงานพักอยู่บ้านนาง น.ที่กรุงเทพมหานคร ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของนางน. เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของบิดามารดาการที่บิดามารดาอนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดนั้นไม่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายพ้นจากความปกครองของบิดามารดาเมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 บัญญัติขึ้นโดย ตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปี ยังขาดความสำนึก ต่อเล่ห์กลของทุจริตชนอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาของผู้เสียหายพยายามติดตามเรื่องบุตรหายไปแสดงว่าผู้เสียหายมิได้มีความประพฤติสำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย การที่จำเลยทั้งสองพรากผู้เสียหายไปได้ก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดาผู้เสียหายพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีเหตุผลที่จะรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและในเขตป่าสงวน ถือเป็นความผิดฐานทำไม้ แม้ไม้จะตกเป็นของแผ่นดิน
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (5) ประกอบมาตรา11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้น การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามมาตรา 73
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ สุจริตโดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานผู้ดูแล
เดิมที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลได้กำหนดไว้ให้เป็นเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลยะระโดด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลพ.ศ. 2482 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาตั้งแต่ปี 2482 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้หวงห้ามไว้ตามความต้องการของกรมราชทัณฑ์ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล พ.ศ. 2517 เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ไม่ต้องการหวงห้ามที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป แต่ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดังเกาะราวีและเกาะอื่นๆในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน แสดงว่าการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวก็เพื่อจะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้เป็นการถาวรซึ่งมีผลทำให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเพียงแต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติและอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้ามาปลูกสร้างอาคารที่ทำการศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต แม้โจทก์จะมีชื่อใน น.ส.3 ซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่ากรมป่าไม้ ทั้งคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือกรมป่าไม้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน หรือการออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยาย การอนุญาตให้สร้างภาพยนตร์/ละคร และการละเมิดลิขสิทธิ์/ชื่อเสียง
หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ.กับเรื่อง ก. ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ผู้ขายซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 ตกลงขายนวนิยาย ทั้งสองเรื่องดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งหมายถึงโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ซื้อตกลง ซื้อเพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และออกเป็นรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ ผู้ขายตกลงสัญญาแก่ผู้ซื้อว่าผู้ขายขอมอบสิทธิและลิขสิทธิ์ของเนื้อเรื่องทั้งหมดในนวนิยาย ทั้งสองเรื่องทุก ๆ ตอนตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจนจบเรื่องโดยสมบูรณ์ให้แก่ผู้ซื้อแต่ผู้เดียว และผู้ขายจะต้องเขียนนวนิยายทั้งสองเรื่องนั้นให้จบสมบูรณ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อในการสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ และทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ต่อการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ. ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประพันธ์เพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิที่จะนำนวนิยายเรื่องพ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ได้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ.จะมิได้ระบุว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยาย ดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ใช้ลิขสิทธิ์ นวนิยาย เรื่อง พ. เป็นการเฉพาะคราวไว้โดยชัดแจ้งก็ตามแต่โดยที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาไว้ว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่สามารถที่จะสร้างภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะขายบทประพันธ์ทั้งสองเรื่องนี้ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรในการซื้อขายบทประพันธ์ให้แก่ผู้ซื้อครึ่งหนึ่ง ผลกำไรในที่นี้หมายถึงเงินซึ่งหักออกจากต้นทุนของผู้ซื้อเสียก่อน" เมื่อนำข้อความดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับสัญญาที่ว่า ผู้ซื้อตกลงสัญญาแก่ผู้ขายว่าจะต้องไม่ขายนวนิยายทั้งสองเรื่องดังกล่าวนี้ให้แก่บริษัทช.เป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ขายเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนแล้ว ดังนี้ย่อมทำให้ตีความการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ 1 และของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาซื้อและขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ. ต่อกันในลักษณะโอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไปไม่ ทั้งสองฝ่ายคงเพียงแต่ต้องการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยาย ทั้งสองเรื่องนั้นเป็นการเฉพาะคราวให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์เพียงครั้งเดียวโดยไม่มีการสร้างภาพยนตร์ซ้ำเกินกว่า 1 ครั้ง เท่านั้นซึ่งสอดคล้องกับในทางปฏิบัติของวงการพิมพ์และวงการภาพยนตร์การซื้อขายลิขสิทธิ์หรือการขอใช้สิทธิเพื่อการจัดพิมพ์บทประพันธ์จำหน่ายหรือนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นการขอใช้สิทธิหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิเพียงครั้งเดียวเท่านั้น กรณีจึงฟังได้ว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ. ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เพียงครั้งเดียว หาได้โอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไป ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 นำนวนิยายเรื่อง พ. ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ออกฉายเผยแพร่แล้ว สิทธิของโจทก์ ที่ 1 ในการที่จะนำนวนิยายเรื่องพ. ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ซ้ำอีกจึงเป็นอันระงับ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิจะโอนสิทธิหรืออนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำนวนิยาย เรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ต่อหรือซ้ำได้อีกต่อไปส่วนจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำบทประพันธ์นวนิยายเรื่องพ.ไปสร้างเป็นละคร โทรทัศน์หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ หรือแถบบันทึกเสียงได้ โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดลิขสิทธิ์บทประพันธ์แต่การที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ฉบับพิพาทมีข้อความชวนให้โจทก์ทั้งสองเข้าใจว่า โจทก์ที่ 1 ได้รับโอนลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่องพ. แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าลิขสิทธิ์ในนวนิยายดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละคร เพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต ประกอบกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ได้สร้างเป็นภาพยนตร์หรือละคร ออกเผยแพร่ดังนี้ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรจากโจทก์ทั้งสองได้ ข้อความในบทความตามที่ปรากฏในนิตยสารและหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นเพียงบทความที่วิจารณ์ว่าระหว่างโจทก์ กับจำเลยใครควรจะมีสิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่องพ. ดีกว่ากัน เป็นการที่โจทก์ให้ข่าวแก่ผู้สื่อข่าวโดยโจทก์ประสงค์จะชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนเพื่อปกป้องสิทธิของโจทก์ โดยโจทก์เชื่อว่าโจทก์ได้สิทธิในบทประพันธ์นวนิยาย เรื่องที่พิพาทโดยชอบแล้ว ดังนี้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย