พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยรู้ว่าไม่มีเงินในบัญชี แม้ใช้ชื่อผู้อื่นเป็นผู้สั่งจ่าย ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเป็นผู้กรอกจำนวนเงินลงในเช็คซึ่งมีลายมือชื่อของส. เป็นผู้สั่งจ่ายและมอบให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ โดยจำเลยอ้างว่าชื่อของ ส. เป็นนามแฝงของจำเลยที่ใช้กับธนาคาร และจำเลยเคยใช้เช็คที่มีชื่อ ส. เป็นผู้สั่งจ่ายชำระหนี้ให้กับโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมนำไปขึ้นเงินได้มาก่อนแล้วสองสามครั้ง เช่นนี้ เมื่อโจทก์ร่วมนำเช็คดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงินจากธนาคารและธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยย่อมมีความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้ไม่ใช่การออกเช็คเกินจำนวนเงินที่มี
จำเลยกู้ยืมเงินผู้เสียหาย และออกเช็คไว้ล่วงหน้าให้เป็นการชำระหนี้เงินกู้ โดยตกลงกันว่าเมื่อเช็คถึงกำหนดให้นำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารได้ เช่นนี้ จำเลยมีเจตนาจะใช้เช็คนั้นเป็นการชำระหนี้ มิใช่เพื่อประกันการกู้ยืม
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและจะถือว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินได้ก็ต่อเมื่อมีการยื่นเช็คต่อธนาคารและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว เพียงแต่ผู้เสียหายไปถามธนาคาร ธนาคารบอกว่าเงินในบัญชีจำเลยไม่มี ยังถือไม่ได้ว่าธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายทั้งที่ทราบอยู่ว่า ไม่มีเงินฝากอยู่ในธนาคาร และตั้งแต่จำเลยออกเช็คตลอดมาจนถึงวันที่ผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินธนาคาร จำเลยไม่มีเงินในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินเท่านั้น หาเป็นความผิดฐานออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ในขณะออกเช็คนั้นไม่
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและจะถือว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินได้ก็ต่อเมื่อมีการยื่นเช็คต่อธนาคารและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว เพียงแต่ผู้เสียหายไปถามธนาคาร ธนาคารบอกว่าเงินในบัญชีจำเลยไม่มี ยังถือไม่ได้ว่าธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายทั้งที่ทราบอยู่ว่า ไม่มีเงินฝากอยู่ในธนาคาร และตั้งแต่จำเลยออกเช็คตลอดมาจนถึงวันที่ผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินธนาคาร จำเลยไม่มีเงินในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินเท่านั้น หาเป็นความผิดฐานออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ในขณะออกเช็คนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยรู้ว่าไม่มีเงินจ่าย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายด้วยการใช้เช็คของ ส. และส่งชื่อของ ส. เป็นผู้สั่งจ่าย โดยทำให้ผู้เสียหายหลงผิดว่าจำเลย คือ ส. ผู้มีอำนาจสั่งจ่าย เมื่อผู้เสียหายรับเงินตามเช็คไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค เป็นความผิดตามมาตรา 3(1) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค เนื่องจากมีเงินในบัญชีเพียงพอ ณ วันออกเช็ค แม้ภายหลังจะไม่มี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1) และ (3)แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันที่จำเลยออกเช็ค คือวันสั่งจ่ายเงินหรือวันถึงกำหนดชำระเงินตามเช็คนั้น เงินในบัญชีของจำเลยมีพอจ่ายเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการออกเช็ค – เจตนาไม่มีเงินในบัญชี – การเซ็นรับรองลายมือเป็นพฤติการณ์ร่วม
การที่จำเลยเซ็นรับรองลายมือของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็ค และจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปใช้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เพราะมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น และมาตรา 83 ก็เป็นบทบัญญัติในภาค 1 ทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ก็มิได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการออกเช็ค – การเซ็นรับรองลายมือผู้สั่งจ่ายเช็คถือเป็นความร่วมกระทำผิด
การที่จำเลยเซ็นรับรองลายมือของบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็ค และจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปใช้จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เพราะมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วยเว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น และมาตรา 83 ก็เป็นบทบัญญัติในภาค 1 ทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 ก็มิได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยไม่มีเจตนาให้ใช้เงิน แม้ผู้รับเช็คไม่ตรงตามฟ้อง ไม่เป็นเหตุยกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่บุคคลตามที่ระบุในฟ้องโดยเจตนาจะไม่ให้มีการจ่ายเงินตามเช็คขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คแต่ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยออกเช็คจ่ายให้แก่บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุมาในฟ้องดังนี้ ความต่างกันดังกล่าวไม่ใช่ข้อสารสำคัญอันจะถือเป็นเหตุยกฟ้อง
จำเลยออกเช็คให้บุคคลหนึ่งเอาไปหมุนหาเงินจากคนอื่นจำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้นเมื่อผู้ทรงเช็คเอาไปขั้นเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ต้องมีความผิด
จำเลยออกเช็คให้บุคคลหนึ่งเอาไปหมุนหาเงินจากคนอื่นจำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้นเมื่อผู้ทรงเช็คเอาไปขั้นเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ต้องมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้เงินโดยใช้เช็คเป็นประกัน ไม่ถือเป็นเจตนาออกเช็คเพื่อไม่ให้ใช้เงินตามเช็ค
จำเลยขอยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่มีจำเลยจึงขอให้ไปยืมคนอื่นมาให้ ผู้ให้กู้ให้โจทก์รับรองว่าจะคืนภายใน 2 เดือน จึงจะให้ยืม จำเลยจึงเขียนเช็ค 2 ฉบับไม่ได้ลงวันที่ โจทก์สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับ แล้วมอบให้จำเลยไปขอเงินที่ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่ชำระ ผู้ให้กู้ทวงถามโจทก์ โจทก์จึงใช้เงินให้ และยึดเช็ค 2 ฉบับนั้นไว้แล้วทวงถามจำเลย จำเลยชำระให้ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงคืนเช็คให้จำเลยหนึ่งฉบับ เมื่อทวงถามให้ชำระอีก จำเลยไม่ชำระโจทก์จึงเขียนวันที่ลงในเช็ค แล้วเอาไปเข้าบัญชีธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการกู้เงินโดยเอาเช็คเป็นประกันเงินกู้ มิใช่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดหรืออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ และไม่ใช่เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คสำคัญกว่าการไม่มีเงิน: ปัญหาข้อเท็จจริงห้ามฎีกา
การที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น มิใช่ว่า ถ้าจำเลยออกเช็คแล้วไม่มีเงินใช้ตามเช็คจะเป็นความผิดอาญาเสมอไป จะต้องมีกรณีตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ คือ 1 ออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เจตนาดังกล่าวนี้เป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความผิด เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังแล้วว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมเถียงว่ามีเจตนาเช่นนั้น เป็นการเถียงข้อเท็จจริงว่ามีพฤติการณ์ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดเกิดขึ้นหรือไม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 31/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์เจตนาทุจริต ไม่ใช่แค่ผู้รับเช็ค
เช็คที่ฟ้องร้องกันเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ จำเลยเป็นผู้ถือย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค เมื่อเช็คถึงกำหนด จำเลยจึงนำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคาร แต่ถูกธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน จำเลยจึงฟ้องกล่าวหาโจทก์ว่าโจทก์กระทำผิดอาญาโดยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3 ข้อความที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ว่ากระทำผิดทางอาญาจึงอยู่ที่ข้อความตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติไว้นั้น หาใช่อยู่ที่ข้อความว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คนั้นให้แก่ผู้ใด และจ่ายเช็คนั้นเป็นการชำระหนี้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งมิใช่จำเลยหรือไม่(อ้างฎีกาที่ 284/2507)ดังนั้นฟ้องของจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องเท็จ