พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้ยืมเงิน หากสัญญากำหนดตามกฎหมาย ต้องคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี แต่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด มิได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้ยืมเงิน หากสัญญากำหนดตามกฎหมายแต่ไม่ระบุอัตรา ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามคำขอท้ายฟ้อง แต่สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนดแต่ไม่ได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อำนาจฟ้อง, และการลดอัตราดอกเบี้ย: ประเด็นสำคัญในการพิพากษาคดี
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เงินทั้งสามฉบับและหนี้เบิกเงินเกินบัญชี 1 รายการ จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญา จึงเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อข้อตกลงในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ทั้งสามฉบับยอมให้โจทก์บอกกล่าวเลิกสัญญาได้ก่อนสัญญาครบกำหนด การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยก่อนสัญญาครบกำหนดจึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ เพราะหากโจทก์จะปล่อยให้จำเลยกู้เงินต่อไปก็ยิ่งจะเป็นภาระหนักแก่จำเลยที่ไม่อาจชำระหนี้คืนแก่โจทก์ได้แน่นอน และการที่โจทก์ยอมให้บริษัท ร. อันเป็นบริษัทในเครือของจำเลยกู้เงินจากโจทก์ มาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อลดหนี้ของจำเลย และยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ นำมาลดหนี้ของจำเลย ตามฎีกาของจำเลยก็ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองทั้งสิ้น หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพียงบางส่วนเท่านั้น มิได้ชำระทั้งหมดตามจำนวนที่โจทก์ทวงถาม ย่อมไม่ทำให้การทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองสิ้นผลไป เพราะสามารถนำส่วนที่จำเลยชำระนั้นมาหักลดหนี้เดิมได้ แล้วคิดดอกเบี้ยในหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระอยู่ต่อไปจนถึงวันฟ้อง แม้ยอดหนี้ตามคำฟ้องจะมีตัวเลขไม่ตรงตามหนังสือทวงถามก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้บางส่วน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองใหม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของโจทก์สำนักเพลินจิต ว่า ภายหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้ชำระหนี้ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินไปจากโจทก์ และจำเลยก็มิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงว่าเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์กับจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะสะพัดกันทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ต่อไป คงคิดดอกเบี้ยได้โดยไม่ทบต้นเท่านั้น
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพียงบางส่วนเท่านั้น มิได้ชำระทั้งหมดตามจำนวนที่โจทก์ทวงถาม ย่อมไม่ทำให้การทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองสิ้นผลไป เพราะสามารถนำส่วนที่จำเลยชำระนั้นมาหักลดหนี้เดิมได้ แล้วคิดดอกเบี้ยในหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระอยู่ต่อไปจนถึงวันฟ้อง แม้ยอดหนี้ตามคำฟ้องจะมีตัวเลขไม่ตรงตามหนังสือทวงถามก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้บางส่วน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองใหม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของโจทก์สำนักเพลินจิต ว่า ภายหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้ชำระหนี้ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินไปจากโจทก์ และจำเลยก็มิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงว่าเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์กับจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะสะพัดกันทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ต่อไป คงคิดดอกเบี้ยได้โดยไม่ทบต้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4690/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญา, เบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วน, ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ย
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หมายความว่าไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญาได้ดังนี้จึงไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ทางปฏิบัติโจทก์จะผ่อนผันให้โดยคิดดอกเบี้ยไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี โดยเริ่มแรกคิดเพียงร้อยละ 12.25 ต่อปีและต่อมาปรับเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้กลายเป็นเบี้ยปรับแต่อย่างใด
ส่วนข้อตกลงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเงินกู้ตามกำหนดงวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้นั้น หมายถึงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ19 ต่อปี ดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 19 ต่อปีไม่ได้
ส่วนข้อตกลงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเงินกู้ตามกำหนดงวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้นั้น หมายถึงกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ19 ต่อปี ดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 19 ต่อปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ ธ.แห่งประเทศไทย และการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย
++ เรื่อง ยืม บัญชีเดินสะพัด จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังได้ยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.4และในวันเดียวกันจำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามเอกสารหมาย จ.5 โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30146 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เป็นประกันในวงเงิน5,000,000 บาท ตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.6 จำเลยตกลงให้บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 001-1-06240-3 เป็นบัญชีเดินสะพัด ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2536 จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์จำนวน 2,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.7 และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 22653 ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่เป็นประกันตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.8 ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกมีว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินอีก 2 ฉบับ โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบหรือไม่ซึ่งจะได้วินิจฉัยพร้อมกันไป
++
++ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมายจ.4 ข้อ 3 สัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2533 เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 3 และสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2536เอกสารหมาย จ.7 ข้อ 3 มีข้อความอย่างเดียวกันว่า หากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้ก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบในเวลาอันสมควร โจทก์นำสืบว่าได้ปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย จ.18 และตามประกาศของธนาคารโจทก์ไว้ที่ธนาคารของโจทก์ทุกสาขา และทำสำเนาบัญชีกระแสรายวันตามเอกสารหมาย จ.11 ส่งให้แก่จำเลยทุกสิ้นเดือน ฝ่ายจำเลยนำสืบว่าได้นำเงินไปผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยตนเองเกือบทุกเดือนไม่ทราบว่าโจทก์ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าทราบหรือไม่เพราะไม่ได้สังเกต เมื่อได้รับสำเนาบัญชีกระแสรายวันแล้วจำเลยไม่เคยโต้แย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
++ จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ปิดประกาศไว้ที่ธนาคารโจทก์ทุกสาขาเพื่อให้ลูกค้าทราบแล้วจริง เมื่อตามข้อสัญญาเอกสารหมาย จ.4 จ.5 และ จ.7 ข้อ 3 ไม่ได้กำหนดวิธีการแจ้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้ผู้กู้ทราบว่าจะต้องกระทำโดยวิธีใดการที่โจทก์ปิดประกาศไว้ดังกล่าวถือได้ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ++
++ ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า หลังจากเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราเท่าใด
++ จำเลยฎีกาว่า นับถัดจากวันเลิกสัญญาแล้ว โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ไม่ใช่ร้อยละ 18 ต่อปี นั้น
++ เห็นว่าโจทก์มีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยระหว่างเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่นั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเอกสารหมาย จ.18 หลังเลิกสัญญาแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ต่อไป มิใช่ต้องคิดในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีมิฉะนั้นแล้วก็จะกลายเป็นว่าการปฏิบัติผิดสัญญาทำให้จำเลยได้ประโยชน์ ++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.5 และ จ.7 ภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดแล้วได้หรือไม่
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวกำหนดข้อตกลงกันไว้ในข้อ 4 ว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระตามอัตราและข้อกำหนดแห่งระยะเวลาที่กล่าวในข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ เมื่อตามสัญญาในข้อ 3 ตกลงกันให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้แม้หลังวันที่จำเลยผิดนัดแล้ว กรณีเป็นการปรับเปลี่ยนตามข้อตกลงในสัญญามิใช่เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ++
++ ปัญหาข้อสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
++ นางชุตินันท์ ยุววิทยาพาณิชนิติกรของโจทก์เบิกความว่า ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้บอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2537 โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามที่จำเลยให้ไว้ในสัญญากู้และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 การบอกกล่าวทวงถามบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นหน้าที่ของนิติกร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารได้มอบอำนาจให้อยู่แล้ว การใดที่นิติกรได้กระทำไปถือว่าธนาคารโจทก์ให้สัตยาบัน จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า โจทก์มิได้นำสืบหรือส่งระเบียบของธนาคารหรือมีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 และ 798นั้น
++ เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งระเบียบหรือหนังสือมอบอำนาจ จึงยังไม่พอฟังว่าได้มีการมอบอำนาจให้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยทำเป็นหนังสือก็ตาม แต่นางชุตินันท์เป็นนิติกรของโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของนางชุตินันท์ เป็นการให้สัตยาบันในการกระทำของนางชุตินันท์ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 5,000 บาทแทนโจทก์. ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังได้ยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.4และในวันเดียวกันจำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามเอกสารหมาย จ.5 โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30146 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เป็นประกันในวงเงิน5,000,000 บาท ตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.6 จำเลยตกลงให้บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 001-1-06240-3 เป็นบัญชีเดินสะพัด ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2536 จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์จำนวน 2,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.7 และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 22653 ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่เป็นประกันตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.8 ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกมีว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินอีก 2 ฉบับ โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบหรือไม่ซึ่งจะได้วินิจฉัยพร้อมกันไป
++
++ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมายจ.4 ข้อ 3 สัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2533 เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 3 และสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2536เอกสารหมาย จ.7 ข้อ 3 มีข้อความอย่างเดียวกันว่า หากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้ก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบในเวลาอันสมควร โจทก์นำสืบว่าได้ปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย จ.18 และตามประกาศของธนาคารโจทก์ไว้ที่ธนาคารของโจทก์ทุกสาขา และทำสำเนาบัญชีกระแสรายวันตามเอกสารหมาย จ.11 ส่งให้แก่จำเลยทุกสิ้นเดือน ฝ่ายจำเลยนำสืบว่าได้นำเงินไปผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยตนเองเกือบทุกเดือนไม่ทราบว่าโจทก์ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าทราบหรือไม่เพราะไม่ได้สังเกต เมื่อได้รับสำเนาบัญชีกระแสรายวันแล้วจำเลยไม่เคยโต้แย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
++ จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ปิดประกาศไว้ที่ธนาคารโจทก์ทุกสาขาเพื่อให้ลูกค้าทราบแล้วจริง เมื่อตามข้อสัญญาเอกสารหมาย จ.4 จ.5 และ จ.7 ข้อ 3 ไม่ได้กำหนดวิธีการแจ้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้ผู้กู้ทราบว่าจะต้องกระทำโดยวิธีใดการที่โจทก์ปิดประกาศไว้ดังกล่าวถือได้ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ++
++ ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า หลังจากเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราเท่าใด
++ จำเลยฎีกาว่า นับถัดจากวันเลิกสัญญาแล้ว โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ไม่ใช่ร้อยละ 18 ต่อปี นั้น
++ เห็นว่าโจทก์มีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยระหว่างเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่นั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเอกสารหมาย จ.18 หลังเลิกสัญญาแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ต่อไป มิใช่ต้องคิดในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีมิฉะนั้นแล้วก็จะกลายเป็นว่าการปฏิบัติผิดสัญญาทำให้จำเลยได้ประโยชน์ ++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.5 และ จ.7 ภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดแล้วได้หรือไม่
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวกำหนดข้อตกลงกันไว้ในข้อ 4 ว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระตามอัตราและข้อกำหนดแห่งระยะเวลาที่กล่าวในข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ เมื่อตามสัญญาในข้อ 3 ตกลงกันให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้แม้หลังวันที่จำเลยผิดนัดแล้ว กรณีเป็นการปรับเปลี่ยนตามข้อตกลงในสัญญามิใช่เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ++
++ ปัญหาข้อสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
++ นางชุตินันท์ ยุววิทยาพาณิชนิติกรของโจทก์เบิกความว่า ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้บอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2537 โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามที่จำเลยให้ไว้ในสัญญากู้และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 การบอกกล่าวทวงถามบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นหน้าที่ของนิติกร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารได้มอบอำนาจให้อยู่แล้ว การใดที่นิติกรได้กระทำไปถือว่าธนาคารโจทก์ให้สัตยาบัน จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า โจทก์มิได้นำสืบหรือส่งระเบียบของธนาคารหรือมีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 และ 798นั้น
++ เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งระเบียบหรือหนังสือมอบอำนาจ จึงยังไม่พอฟังว่าได้มีการมอบอำนาจให้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยทำเป็นหนังสือก็ตาม แต่นางชุตินันท์เป็นนิติกรของโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของนางชุตินันท์ เป็นการให้สัตยาบันในการกระทำของนางชุตินันท์ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 5,000 บาทแทนโจทก์. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชย-ค่าจ้าง กรณีเลิกจ้าง: อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายและวันผิดนัดชำระ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดกรณีค่าชดเชยและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไว้เป็นพิเศษ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยค่าชดเชยและค่าจ้างกรณีเลิกจ้าง: ศาลฎีกาตัดสินดอกเบี้ยตามประเภทหนี้และวันผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดกรณีค่าชดเชยและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไว้เป็นพิเศษ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษ ไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษ ไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ระบุว่าหากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามที่กำหนดไว้ไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนด (สูงกว่าร้อยละ 9.5) เมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ สัญญากู้เงิน ฉบับพิพาท ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง มีระยะเวลาที่แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิ ผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง สมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป แม้มีสัญญาให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้
การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำตามสัญญาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า แต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบลูกค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนดังกล่าวแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้วจำนวน 1,500,000 บาท นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนต้นเงิน 1,500,000 บาท อยู่ แต่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยส่วนนี้เป็นเหตุที่สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสัญญา และการแจ้งเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินกำหนดไว้ 2 อัตรา คิดอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา และอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ เมื่อตามสัญญาดอกเบี้ยสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยสูงสุดไม่ผิดเงื่อนไข แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาประสงค์จะให้อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญาโดยกำหนดเป็นค่าเสียหายล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในสัญญากู้เงินระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระอันเนื่องมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง ผู้กู้ก็ตกลงยินยอมด้วย ในการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นซึ่งจากข้อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยกับจำเลยเป็นเท่าใดแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยในอัตราตามข้อสัญญาที่กำหนดไว้เดิม
โจทก์อุทธรณ์ขอดอกเบี้ยส่วนที่ขาดเนื่องจากศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 15.25 ต่อปี และ 18.50 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 34,409.85 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวจำนวน 860 บาท เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเกิน จึงต้องคืนส่วนที่เกินแก่โจทก์
ในสัญญากู้เงินระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระอันเนื่องมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง ผู้กู้ก็ตกลงยินยอมด้วย ในการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นซึ่งจากข้อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยกับจำเลยเป็นเท่าใดแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยในอัตราตามข้อสัญญาที่กำหนดไว้เดิม
โจทก์อุทธรณ์ขอดอกเบี้ยส่วนที่ขาดเนื่องจากศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 15.25 ต่อปี และ 18.50 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 34,409.85 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวจำนวน 860 บาท เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเกิน จึงต้องคืนส่วนที่เกินแก่โจทก์