พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความรุนแรงของบาดแผล: ซี่โครงหัก 2 ซี่ ไม่ถือเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยใช้เท้าเตะผู้เสียหายซี่โครงด้านขวาซี่ที่ 7 และที่ 8 หัก แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 40 วันหาย ทางโรงพยาบาลจ่ายยาให้ผู้เสียหายไป โดยไม่ได้ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทั้งไม่ได้ความว่าผู้เสียหายรักษาตัวที่บ้านกี่วันจึงหายเป็นปกติ และไม่สามารถประกอบกรณียกิจตามปกติได้เพียงใด จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส: การพิจารณาเจตนาและความรุนแรงของการกระทำ
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดยใช้เก้าอี้ตีทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 แล้ววิ่งไล่ตามจำเลยที่ 2 ไป จำเลยที่ 2 ได้ใช้ปืนยิงจำเลยที่ 1 ก่อน 3 นัด นัดแรกถูกที่แขนซ้าย นัดที่ 2 ไม่ถูก นัดที่ 3ถูกนิ้วชี้ สิ้นเสียงปืนนัดที่ 3 แล้วจำเลยที่ 1 ก็เข้าถึงตัวจำเลยที่ 2และแทงจำเลยที่ 2 ไป 1 ที ถูกที่อกด้านขวาเหนือรักแร้ บาดแผลขนาด 2X3 เซนติเมตร ถึงสาหัส เป็นการเข้าประชิดตัวแทงโดยกระทันหันในเวลากลางคืน หลังจากถูกยิงบาดเจ็บแล้ว และแทงสุ่มไปโดยไม่มีโอกาสจะเลือกกำหนดได้ว่าจะแทงส่วนไหนของร่างกาย หากแต่บังเอิญไปถูกที่อกทะลุช่องปอด พฤติการณ์ประกอบบาดแผลยังไม่พอชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 มี เจตนาฆ่า ควรลงโทษเพียงฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส การพิจารณาเจตนาฆ่า และการลดโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดยใช้เก้าอี้ตีทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 แล้ววิ่งไล่ตามจำเลยที่ 2 ไป จำเลยที่ 2 ได้ใช้ปืนยิงจำเลยที่ 1 ก่อน 3 นัด นัดแรกถูกที่แขนซ้าย นัดที่ 2 ไม่ถูก นัดที่ 3 ถูกนิ้วชี้ สิ้นเสียงปืนนัดที่ 3 แล้วจำเลยที่ 1 ก็เข้าถึงตัวจำเลยที่ 2 และแทงจำเลยที่ 2 ไป 1 ที ถูกที่อกด้านขวาเหนือรักแร้ บาดแผลขนาด 2X3 เซนติเมตร ถึงสาหัส เป็นการเข้าประชิดตัวแทงโดยกระทันหันในเวลากลางคืน หลังจากถูกยิงบาดเจ็บแล้ว และแทงสุ่มไปโดยไม่มีโอกาสจะเลือกกำหนดได้ว่าจะแทงส่วนไหนของร่างกาย หากแต่บังเอิญไปถูกที่อกทะลุช่องปอด พฤติการณ์ประกอบบาดแผลยังไม่พอชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 มี เจตนาฆ่า ควรลงโทษเพียงฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความรุนแรงของการทำร้ายร่างกาย: การสูญเสียฟันเข้าข่ายอันตรายสาหัสหรือไม่
ผู้เสียหายถูกจำเลยทำร้าย ฟันล่างด้านหน้าหักสี่ซี่ฟันที่เหลือยังใช้เคี้ยวอาหารได้ ยังไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัสจากการสูญเสียฟัน: การสูญเสียฟันต้องกระทบต่อการเคี้ยวอาหารอย่างร้ายแรงจึงถือเป็นอันตรายสาหัสตามกฎหมาย
ผู้เสียหายถูกจำเลยทำร้าย ฟันล่างด้านหน้าหักสี่ซี่ฟันที่เหลือยังใช้เคี้ยวอาหารได้ ยังไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: เกณฑ์การพิจารณาอาการบาดเจ็บเกิน 20 วัน
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปีครึ่ง กระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: การประเมินอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักฟื้น
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ1 ปีครึ่งกระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาบาดแผล, ระยะเวลาพักรักษาตัว, และผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ
แม้ตามรายงานชันสูตรบาดแผลประกอบคำเบิกความของแพทย์จะลงความเห็นว่ารักษา 20 วันหาย เมื่อปรากฏบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับมี 5 แห่ง บาดแผลสำคัญคือแผลถูกแทงที่หน้าท้องกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร ลึก 2.5 เซนติเมตร ประกอบกับคำของผู้เสียหายว่ารักษาตัวที่สถานีอนามัยและที่บ้านรวม 24 วันแผลจึงหาย ทั้งยังต้องพักรักษาตัวอยู่อีก 2 เดือน จึงทำงานได้ตามปกติ เช่นนี้ นับได้ว่าผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังอันตรายสาหัสจากรายงานแพทย์: ไม่จำต้องพยานเพิ่มเติมหากรายงานระบุชัดเจนถึงระยะเวลาพักฟื้น
ตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ประกอบบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่อ้างว่า บาดแผลของผู้เสียหายซึ่งได้รับเป็นอันตรายสาหัสนี้ปรากฏว่า ผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงกระดูกเชิงกรานขวาหัก กระดูกไหปลาร้าเคลื่อน กระดูกซี่โครงแถวขวาหัก นายแพทย์ผู้ตรวจลงความเห็นว่า จะต้องรักษาประมาณ 35 วัน ดังนี้แม้โจทก์จะนำคดีมาฟ้องหลังเกิดเหตุเพียง 6 วันแต่ตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ดังกล่าวนี้เป็นที่เห็นได้ว่าในระหว่างการรักษาตัวประมาณ 35 วันนั้นผู้เสียหายจะต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ฉะนั้นเมื่อพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ดังกล่าว ก็เพียงพอที่จะรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสแล้ว โจทก์หาจำเป็นต้องนำพยานสืบประกอบว่า ผู้เสียหายต้องทนทุกขเวทนาประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันจริงอีกไม่ (อ้างฎีกาที่ 195/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อันตรายสาหัสจากรายงานแพทย์: ไม่จำเป็นต้องสืบพยานเพิ่มเติมหากรายงานแพทย์บ่งชี้อาการป่วยเจ็บเกิน 20 วัน
ตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ประกอบบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่อ้างว่า บาดแผลของผู้เสียหายซึ่งได้รับเป็นอันตรายสาหัสนี้ปรากฏว่า. ผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงกระดูกเชิงกรานขวาหัก กระดูกไหปลาร้าเคลื่อน กระดูกซี่โครงแถวขวาหัก. นายแพทย์ผู้ตรวจลงความเห็นว่า จะต้องรักษาประมาณ 35 วัน. ดังนี้แม้โจทก์จะนำคดีมาฟ้องหลังเกิดเหตุเพียง 6 วัน.แต่ตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ดังกล่าวนี้เป็นที่เห็นได้ว่า. ในระหว่างการรักษาตัวประมาณ 35 วันนั้น.ผู้เสียหายจะต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน. ฉะนั้นเมื่อพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ดังกล่าว ก็เพียงพอที่จะรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสแล้ว. โจทก์หาจำเป็นต้องนำพยานสืบประกอบว่า ผู้เสียหายต้องทนทุกขเวทนาประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันจริงอีกไม่.(อ้างฎีกาที่ 195/2510).