พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีสัมปทานทำไม้ถูกระงับก่อนครบกำหนด สิทธิทำไม้ตามสัญญาเป็นประเด็นสำคัญ
สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดระยะเวลา 15 ปี ในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์จึงมีสิทธิทำไม้ในเขตสัมปทานของโจทก์ได้ภายใต้เงื่อนไขสัมปทาน การที่จำเลยโดยกรมป่าไม้สั่งให้โจทก์ระงับการทำไม้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัมปทานป่าไม้: การระงับทำไม้ก่อนหมดอายุสัมปทานเป็นการโต้แย้งสิทธิ
สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยมีกำหนดระยะเวลา 15 ปี การที่จำเลยโดยกรมป่าไม้สั่งให้โจทก์ระงับการทำไม้ในระหว่างอายุสัมปทาน จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องข้ามประเทศ, อายุความ, และการบังคับชำระหนี้เงินตราต่างประเทศในสัญญาซื้อขาย
ตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทนได้มีข้อตกลงในเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งมีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า บรรดาข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เสนอต่อศาลในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในศาลของประเทศไทยได้ ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ขัดต่อกฎหมายใดหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องปั๊มจากโจทก์มาเพื่อประกอบเข้ากับมอเตอร์และอุปกรณ์อื่นผลิตเป็นปั๊มเซตแล้วนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในกิจการของลูกหนี้นั่นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
หนี้ของจำเลยในคดีนี้เป็นหนี้เงินต่างประเทศสกุลมาร์กเยอรมัน อันเป็นเงินตราของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรปขึ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าว สมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย หากในเวลาใช้จริงเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินมาร์กเยอรมัน พร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น โดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริงและคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องปั๊มจากโจทก์มาเพื่อประกอบเข้ากับมอเตอร์และอุปกรณ์อื่นผลิตเป็นปั๊มเซตแล้วนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในกิจการของลูกหนี้นั่นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
หนี้ของจำเลยในคดีนี้เป็นหนี้เงินต่างประเทศสกุลมาร์กเยอรมัน อันเป็นเงินตราของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรปขึ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าว สมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย หากในเวลาใช้จริงเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินมาร์กเยอรมัน พร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น โดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินมาร์กเยอรมันเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริงและคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเงินสกุลที่ใช้แทนเงินมาร์กเยอรมันนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จและใช้เอกสารเท็จ: อัยการสูงสุดมีอำนาจฟ้องได้แม้เดิมอัยการจังหวัดไม่ฟ้อง
การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าวเป็นความผิดหลายกรรม ซึ่งกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (4) มิใช่ปัญหาที่ต้องพิจารณาในเรื่องเป็นความผิดต่อเนื่องหรือความผิดที่กระทำลงในหลายท้องที่ตามมาตรา 19 (2) (3)
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังมิได้แจ้งข้อหาให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้ เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่ได้มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในแอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267, 268 ด้วย จึงเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาล หาได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง ไม่ คำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังมิได้แจ้งข้อหาให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้ เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่ได้มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในแอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267, 268 ด้วย จึงเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาล หาได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง ไม่ คำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: ศาลมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้ แม้มิได้มีคำสั่งรับฟ้อง
ในการพิจารณาตรวจรับคำฟ้องของศาลภาษีอากรกลางนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ถือว่าศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับฟ้องโจทก์ไว้ก่อนไม่
ตามหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้อง มิได้มีข้อความระบุถึงการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว และกรณีถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเด็ดขาดแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มิใช่สั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ไม่ได้
ตามหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้อง มิได้มีข้อความระบุถึงการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว และกรณีถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเด็ดขาดแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มิใช่สั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: ศาลมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้หากผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาตรวจรับคำฟ้องของศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การตรวจรับคำฟ้องจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนไม่
คดีนี้หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้องมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีโดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อน ถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องแล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลภาษีอากรกลางไม่คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คดีนี้หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้องมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีโดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อน ถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องแล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลภาษีอากรกลางไม่คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดที่นายทะเบียนจำแนกออกจากสารบบทะเบียน: ยังไม่สิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคล
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับรองระบุว่า นายทะเบียนได้จำแนกห้างหุ้นส่วนนี้ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุเชื่อว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว หาได้มีข้อความอันใดที่แสดงว่า ฐานะการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดหรือหมดสภาพไปแล้วในเวลาที่โจทก์ยื่นคำฟ้องนั้นไม่ ทั้งข้อเท็จจริงที่นายทะเบียนได้จำแนกจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุที่เชื่อว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานนั้น ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องสิ้นสภาพของการเป็นนิติบุคคลไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้บัญชีเรียกเก็บเงินเป็นของกรรมการ, เช็คลงวันที่แล้วสมบูรณ์
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบแก่บริษัทโจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนดแม้โจทก์จะนำเข้าบัญชี ส.กรรมการผู้จัดการโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ ส. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีเพียงการนำเช็คพิพาทเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของ ส. เท่านั้น โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ และไม่ว่าโจทก์จำนะเช็คพิพาทเข้าบัญชีโจทก์เองหรือเข้าบัญชีของ ส. เพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะทำให้การเป็นผู้เสียหายของโจทก์ไม่สมบูรณ์
เดิมจำเลยออกเช็คพิพาทโดยยังไม่ลงวันที่เพื่อค้ำประกัน ในกรณีที่สะสางจำนวนเงินกับลูกค้าให้เรียบร้อยได้แล้วโจทก์จะไม่นำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปให้จำเลยลงวันที่ อันเป็นการรับรองว่าจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเป็นมูลหนี้จำนวนแน่นอนและเจตนาชำระหนี้นั้นด้วยเช็คพิพาทแล้ว จึงไม่ใช่เช็คค้ำประกัน แม้มีการชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนก็ไม่ได้ทำให้เช็คพิพาทที่สมบูรณ์อยู่แล้วไม่สมบูรณ์
เดิมจำเลยออกเช็คพิพาทโดยยังไม่ลงวันที่เพื่อค้ำประกัน ในกรณีที่สะสางจำนวนเงินกับลูกค้าให้เรียบร้อยได้แล้วโจทก์จะไม่นำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปให้จำเลยลงวันที่ อันเป็นการรับรองว่าจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเป็นมูลหนี้จำนวนแน่นอนและเจตนาชำระหนี้นั้นด้วยเช็คพิพาทแล้ว จึงไม่ใช่เช็คค้ำประกัน แม้มีการชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนก็ไม่ได้ทำให้เช็คพิพาทที่สมบูรณ์อยู่แล้วไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178-5179/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของบริษัทฟื้นฟูกิจการ, อายุความ, และดอกเบี้ยค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีผลประกอบการที่ดีและมีกำไรมาโดยตลอด แต่ต่อมาเมื่อกลางปี 2540 โจทก์เกิดขาดสภาพคล่องกะทันหันจนถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 และแต่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้ทำแผน เมื่อมีการตรวจสอบรายการทางการเงินของโจทก์พบว่า การรายงานสินทรัพย์สุทธิและกำไรสุทธิมีความคลาดเคลื่อน และระหว่างเดือนธันวาคม 2537 ถึงกรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้บริหารงานของโจทก์ได้ร่วมกันชำระเงิน 3,950,000,000 บาทให้แก่บุคคลหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชอบ โดยโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยแต่ละคนโดยละเอียดถึงวันที่มีการเบิกถอนเงิน จ่ายเงิน และโอนเงินจำนวนเท่าใดจากธนาคารอะไร ให้ใคร ที่บัญชีเลขที่เท่าใด พร้อมรายละเอียดแห่งความเสียหายที่จำเลยแต่ละคนได้ก่อให้แก่โจทก์ตามเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นคำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำผิดสัญญาโดยโอนเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกโดยไม่ชอบ พร้อมทั้งบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำการอย่างไร เมื่อใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เท่าใด โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายโดยชัดแจ้งแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่แก้ไข มาตรา 90/25 บัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และมาตรา 90/24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนให้เริ่มแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว และให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง หมายความว่า เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน การฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ผู้ทำแผนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันทำละเมิดในการทำงานตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง อันถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 โดยนำคดีมาฟ้องในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์ด้วยการเบิกถอนเงินจากบัญชีธนาคารแล้วจ่ายให้แก่บริษัทและบุคคลอื่นโดยไม่ชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,950,000,000 บาท ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดหลายครั้ง แม้โจทก์จะได้นำเช็คและรายการที่เรียกเก็บเงินตามเช็คมาแสดงต่อศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นยอดรวมหลายครั้งว่าแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้แยกให้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินตามเช็คแต่ละใบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และจ่ายออกไปโดยไม่ชอบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงโดยละเอียดดังกล่าว โจทก์นำสืบได้เพียงว่าโจทก์ทราบมูลเหตุที่ฟ้องร้องคดีนี้ในวันประชุมคณะกรรมการโจทก์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น แม้ว่ามูลหนี้จากการทำละเมิดให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดและต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดแต่ละครั้งเมื่อใด จำนวนเท่าใด การที่ศาลแรงงานกลางให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องนั้น จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่แก้ไข มาตรา 90/25 บัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และมาตรา 90/24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนให้เริ่มแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว และให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง หมายความว่า เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน การฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ผู้ทำแผนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันทำละเมิดในการทำงานตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง อันถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 โดยนำคดีมาฟ้องในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์ด้วยการเบิกถอนเงินจากบัญชีธนาคารแล้วจ่ายให้แก่บริษัทและบุคคลอื่นโดยไม่ชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,950,000,000 บาท ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดหลายครั้ง แม้โจทก์จะได้นำเช็คและรายการที่เรียกเก็บเงินตามเช็คมาแสดงต่อศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นยอดรวมหลายครั้งว่าแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้แยกให้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินตามเช็คแต่ละใบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และจ่ายออกไปโดยไม่ชอบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงโดยละเอียดดังกล่าว โจทก์นำสืบได้เพียงว่าโจทก์ทราบมูลเหตุที่ฟ้องร้องคดีนี้ในวันประชุมคณะกรรมการโจทก์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น แม้ว่ามูลหนี้จากการทำละเมิดให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดและต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดแต่ละครั้งเมื่อใด จำนวนเท่าใด การที่ศาลแรงงานกลางให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องนั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีจึงต้องยก
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง และเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118