พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุสุดวิสัยในการขอขยายระยะเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้นต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ส่วนวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์นั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือนกำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลา มิใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน มิได้กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการตรวจสอบข้อมูลของทนาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์เสียนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาและพิพากษาใหม่
ข้ออ้างที่ว่าทนายจำเลยเชื่อคำบอกเล่าของเจ้าพนักงานศาลและทนายคนเดิมว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2547 และทนายจำเลยต้องว่าความทุกวันไม่สามารถมาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองได้ ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ข้ออ้างที่ว่าทนายจำเลยเชื่อคำบอกเล่าของเจ้าพนักงานศาลและทนายคนเดิมว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2547 และทนายจำเลยต้องว่าความทุกวันไม่สามารถมาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองได้ ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8568/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน: การอุทธรณ์ต้องห้าม & การพิจารณาพยานหลักฐานทางการแพทย์
โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 และมีหนังสือยินยอมให้องค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์เป็นผู้รับเงินทดแทนแทนโจทก์ การที่จำเลยโดยสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 มีหนังสือถึงผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาปฏิเสธการจ่ายเงิน ส. ผู้ทำการแทนนายจ้างอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ แม้จำเลยจะได้แจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนไปยังผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 แต่เมื่อหนังสือยินยอมที่โจทก์มีถึงผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 โจทก์เพียงแต่ยินยอมให้องค์การค้าของคุรุสภารับเงินทดแทนได้โดยตรงจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 เท่านั้น โดยไม่มีข้อความใด ๆ ให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภามีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การแจ้งของจำเลยทั้งสองครั้งจึงไม่มีผลต่อโจทก์ การนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53
โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 โจทก์อ้างว่าปวดบริเวณเอวเป็นอย่างมากและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยมีเหตุเนื่องมาจากโจทก์ทำหน้าที่ตรวจสอบและวัดขนาดคุรุภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายคุรุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมากให้แก่นายจ้าง ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย มิใช่ขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเจ็บป่วย จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 14 ที่การเจ็บป่วยของลูกจ้างที่สามารถรับเงินทดแทนได้จะต้องเกิดจากโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
การที่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักระหว่างคำเบิกความของ ป. ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อผู้ตรวจรักษาโจทก์กับคำเบิกความของ ธ. ซึ่งเป็นอนุกรรมการการแพทย์คนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งแล้ววินิจฉัยว่า คำเบิกความของ ป. น่าจะรับฟังมากกว่าและเชื่อตามคำเบิกความดังกล่าวว่าโจทก์ประสบอันตรายจากการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงมุ่งประสงค์ให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ประสบอันตรายจากการทำงานนั่นเอง อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 โจทก์อ้างว่าปวดบริเวณเอวเป็นอย่างมากและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยมีเหตุเนื่องมาจากโจทก์ทำหน้าที่ตรวจสอบและวัดขนาดคุรุภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายคุรุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมากให้แก่นายจ้าง ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย มิใช่ขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเจ็บป่วย จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 14 ที่การเจ็บป่วยของลูกจ้างที่สามารถรับเงินทดแทนได้จะต้องเกิดจากโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
การที่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักระหว่างคำเบิกความของ ป. ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อผู้ตรวจรักษาโจทก์กับคำเบิกความของ ธ. ซึ่งเป็นอนุกรรมการการแพทย์คนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งแล้ววินิจฉัยว่า คำเบิกความของ ป. น่าจะรับฟังมากกว่าและเชื่อตามคำเบิกความดังกล่าวว่าโจทก์ประสบอันตรายจากการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงมุ่งประสงค์ให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ประสบอันตรายจากการทำงานนั่นเอง อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์-ฎีกา: กรณีศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว
ในระหว่งศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำขอเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน เพราะคดีจะต้องพิจารณาต่อไป เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงให้จำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ใช่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้าม ป.วิ.อ. มาตรา 196 เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว
คดีนี้ ศาลชั้นต้นสั่งออกหมายจับจำเลยที่ 2 และจำหน่ายคดีชั่วคราว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนหมายจับ อ้างว่าคดีขาดอายุความแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำขอของจำเลยที่ 2 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน เพราะคดีต้องพิจารณาต่อไป เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนหมายจับ จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: โจทก์มีสิทธิวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของ ศ. ลูกจ้างและก่อนถึงแก่ความตาย ศ. ไม่ได้เลี้ยงดูโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตของ ศ. เนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ซึ่งจำเลยก็วินิจฉัยเฉพาะในปัญหานี้ว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในชั้นพิจารณาของจำเลยจึงไม่มีปัญหาว่าโจทก์ซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ศ. มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของจำเลยและนำคดีไปสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. หรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
การนำคดีไปสู่ศาลแรงงานกรณีผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน ฯ มาตรา 53 วรรคหนึ่ง ผู้อุทธรณ์สามารถกระทำได้เฉพาะในปัญหาที่ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น ผู้อุทธรณ์จะนำปัญหาอื่นที่ตนมิได้อุทธรณ์ไปสู่ศาลแรงงานย่อมมิได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่วินิจฉัยคำร้องที่โจทก์ขอรับเงินทดแทนกรณี ศ. เสียชีวิตว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. และโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตาย โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนเนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตายหรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นปัญหาเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7657/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบเพราะไม่วางค่าธรรมเนียม – ผลกระทบต่อคำพิพากษาเดิม – คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งมิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยให้อุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใชแก่โจทก์มาวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7418/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องปฏิบัติตามขั้นตอน หากไม่ส่งสำเนาให้คู่ความคัดค้าน คำสั่งไม่ชอบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตไปทันทีโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยคัดค้านก่อน ซึ่งหากจำเลยคัดค้าน ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตไปจึงเป็นการไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ได้ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ ตามมาตรา 27 ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากพ้นระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงกำหนดระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอุทธรณ์เฉพาะคำสั่ง
แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของจำเลย ก็ย่อมมีผลกระทบต่อคดีทั้งคดี เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ดังนั้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย