พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการประเมินค่าเสียหายที่เกิดกับร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาทของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาท เงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้ เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้นจะมิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6 ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอกว่าตอนที่โจทก์ที่ 6ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6 จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6 ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอหรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน
ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้นจะมิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6 ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอกว่าตอนที่โจทก์ที่ 6ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6 จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6 ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอหรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน
ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลลูกจ้างจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง
จำเลยที่1ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์เท่านั้นส่วนการที่ พ. ลูกจ้างโจทก์กับ ม. ซึ่งเป็นภริยาของ พ. ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ของโจทก์ได้รับบาดเจ็บด้วยก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อ พ. และ ม.โดยตรงการที่โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ พ. และ ม.ไปเป็นการจ่ายตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างรวมทั้งคู่สมรสไม่มีกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิหรือรับช่วงสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างไม่มีสิทธิรับช่วงจากลูกจ้าง
จำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายและพ. ลูกจ้างโจทก์กับม. ภริยาซึ่งโดยสารไปในรถยนต์ของโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจนต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไปเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์เท่านั้นส่วนการที่พ.กับม. ได้รับอันตรายแก่กายนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อพ. และม. โดยตรงมิได้กระทำต่อโจทก์การที่โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่พ.และม. ไปเป็นการจ่ายตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างรวมทั้งคู่สมรสของลูกจ้างโจทก์ไม่มีกฎหมายให้โจทก์ในฐานะนายจ้างมีสิทธิหรือรับช่วงสิทธิจากลูกจ้างและคู่สมรสที่จะมาเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปคืนจากผู้กระทำละเมิดต่อลูกจ้างและคู่สมรสได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับรถบรรทุกประมาทเลินเล่อและนายจ้างต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน
การที่จำเลยที่1ห้ามล้อรถยนต์บรรทุกเป็นระยะทางถึง50เมตรแล้วรถยนต์บรรทุกยังพุ่งข้ามเกาะกลางถนนไปชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับสวนทางมาเป็นการแสดงแจ้งชัดอยู่ในตัวว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกด้วยความเร็วสูงและโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงถึงขนาดข้ามเกาะกลางถนนไปขวางอยู่ในช่องเดินรถของผู้อื่นที่ไม่อาจจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่1จะขับรถเข้ามาเช่นนั้นดังนั้นเหตุที่เกิดจึงมิใช่เพราะความประมาทเลินเล่อของผู้ตายหากแต่เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่1และที่3เคยเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2จำเลยที่3ใช้ชื่อจำเลยที่2ในการประกอบการขนส่งวันเกิดเหตุจำเลยที่2สั่งให้จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกทรายไปส่งให้ลูกค้าที่กรุงเทพมหานครและยอมรับว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเพื่อกิจการขนส่งและผลประโยชน์ทางการค้าของจำเลยที่2หลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยที่2เป็นผู้เจรจาเรื่องค่าเสียหายกับโจทก์นอกจากนั้นจำเลยที่2มีชื่อเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งเป็นการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของจำเลยที่2เองดังนั้นแม้จำเลยที่2จะให้จำเลยที่3เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในรถเท่านั้นส่วนกิจการขนส่งจำเลยที่2หาได้เลิกไปไม่จำเลยที่2ยังทำกิจการขนส่งร่วมกับจำเลยที่3จำเลยที่2จึงเป็นนายจ้างจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่1กระทำต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์และการรับประกันความเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟ มิใช่ความเสียหายจากอุบัติเหตุ
บัตรรับประกันในการซื้อขายรถมีข้อยกเว้นความรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุเมื่อสาเหตุไฟลุกไหม้เกิดจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ของรถยนต์คันพิพาทได้รับความเสียหายมิได้เกิดจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนกับรถคันอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่นในถนนแม้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายของโจทก์และจำเลยแต่มิใช่เกิดจากอุบัติเหตุจำเลยจึงต้องรับผิด แม้ในบัตรรับประกันจะระบุว่าโจทก์จะต้องนำรถมาซ่อมที่ห้างจำเลยเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำรถยนต์คันพิพาทไปจอดไว้ที่ห้างจำเลยเพื่อซ่อมจำเลยปฏิเสธไม่ยอมรับผิดอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุโจทก์จึงต้องนำรถยนต์คันพิพาทไปจ้างบริษัทอื่นซ่อมดังนี้จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าซ่อมแก่โจทก์ ค่ายกเครื่องค่าเปลี่ยนฝากระโปรงหน้าค่าเคาะพ่นสีค่ายกรถและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีการซ่อมและเปลี่ยนใหม่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งเครื่องยนต์และเป็นส่วนประกอบเพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆดังกล่าวไม่ถือว่าอยู่นอกเหนือเงื่อนไขของการรับประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าซื้อรถยนต์มอบให้ลูกจ้างใช้ แล้วเกิดอุบัติเหตุ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง
จำเลยที่2เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์มอบให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างเป็นผู้ใช้สอยรถยนต์คันดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่1ติดต่อการงานให้แก่จำเลยที่2จึงต้องถือว่าจำเลยที่2เป็นผู้ครอบครองใช้และได้รับประโยชน์ในรถยนต์ค้นดังกล่าวอยู่ในขณะเกิดเหตุดังนั้นจำเลยที่2จะอ้างว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่2เช่าซื้อมาให้จำเลยที่1ใช้จำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ พนักงานขายของจำเลยที่2สามารถใช้รถของจำเลยที่2จนกว่าจะปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้วจึงจะนำมาคืนโดยอาจจะปฏิบัติงานในในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้เมื่อปรากฎว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่2จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงานและจำเลยที่1มิได้หมายเหตุไว้ในบัตรตอกเวลาทำงานว่าจำเลยที่1ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเพื่อให้จำเลยที่2ทราบจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่เพราะเป็นเรื่องภายในระหว่างพนักงานของจำเลยที่2กับจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแบ่งความรับผิด และข้อยกเว้นการเรียกร้องค่าเสียหาย
เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุละเมิดเกิดจากจำเลยที่1ได้ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์โดย ประมาทเลินเล่อจำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้เป็นยุติปัญหาที่ว่าโจทก์ที่1ไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วยตามที่โจทก์ที่2ฎีกาหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะหากวินิจฉัยแล้วผลออกมาว่าโจทก์ที่1มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วยจำเลยทั้งสองก็ยังต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่2อยู่เช่นเดิม โจทก์ที่2มิได้มีส่วนในการทำละเมิดด้วยจึงนำป.พ.พ.มาตรา442มาใช้บังคับแก่โจทก์ที่2หาได้ไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่1และจำเลยที่1ต่างมีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจำเลยที่1และที่2จึงร่วมกันรับผิดในความเสียหายเพียงกึ่งเดียวส่วนอีกกึ่งหนึ่งโจทก์ที่2จะต้องไปเรียกร้องจากโจทก์ที่1จึงไม่ชอบเพราะโจทก์ที่2ไม่ได้ฟ้องให้โจทก์ที่1รับผิดชอบใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุตรเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ: การพิสูจน์สถานะบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยเอกสารการสมรส
โจทก์จะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งจำเลยขับรถโดยสารเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับจ. มารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ดังนั้นปัญหาว่ามีการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจ. หรือไม่จึงเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีและหากจะให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีแล้วก็จำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารซึ่งเป็นใบสำคัญการสมรสการที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230-231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, อายุความ, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหายและผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะ
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการเมาสุรากับอุบัติเหตุ
กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ว่า สัญญาเพิ่มเติมนี้ไม่คุ้มครองการสูญเสียหรือทุพพลภาพอันเกิดขึ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะหรือเนื่องจากผู้เอาประกันเมาสุราหรือแพ้ยา มีความหมายว่า สัญญาเพิ่มเติมนี้ไม่คุ้มครองการมรณะของผู้เอาประกัน อันเกิดขึ้นโดยตรงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากผู้เอาประกันเมาสุรา การที่จำเลยผู้รับประกันภัยพิสูจน์ได้เพียงว่า ผู้เอาประกันซึ่งถึงแก่กรรมโดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะผู้เอาประกันเมาสุราตามหลักวิชาการแพทย์ แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากผู้เอาประกันเมาสุรา จำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นตามข้อสัญญาดังกล่าว