พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝากลูกค้าได้ แต่ต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับฝาก การเบิกถอนเงินไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ ปรากฏว่าเงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนไปนั้นเป็นเงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองเงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าวนั้นประการใดก็ได้ จำเลยทั้งสองคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝาก การเบิกถอนเงินไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และเอกชนไม่มีอำนาจฟ้อง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต แต่กรณีตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ปรากฏว่า เงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนไปเป็นเงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองเงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าวนั้นประการใดก็ได้ จำเลยทั้งสองคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัด ตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัด ตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝาก, ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์เป็นความผิดรัฐ เอกชนไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ฝากเงินไว้กับธนาคารจำเลยที่ 1 เงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากนั้นประการใดก็ได้ คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ การที่จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารเบิกถอนเงินฝากไม่ใช่ลักทรัพย์ และเอกชนไม่มีอำนาจฟ้อง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์
การที่พนักงานธนาคารหรือธนาคารเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เพราะเงินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ธนาคารมีหน้าที่เพียงคืนเงินเท่าจำนวนที่ลูกค้าฝากเท่านั้น โดยไม่จำต้องเป็นตัวเงินที่ลูกค้านำมาฝาก
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน หรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389-1393/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียน: สิทธิเรียกร้องเงินฝากและเงินปันผลต้องรอการชำระบัญชี
การร่วมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อกู้ของโจทก์ทั้งห้าสิบสอง จำเลยทั้งห้ากับราษฎรในท้องที่เป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 มาตรา 1025 และมาตรา 1026 เมื่อโจทก์ทั้งห้าสิบสองอ้างว่าไม่ได้รับเงินฝากสะสมและเงินปันผลที่ครบกำหนดจ่ายและสมาชิกบางคนได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานปลอมเอกสาร ย่อมถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญจนไม่อาจดำรงการเป็นหุ้นส่วนต่อไปได้ กับเป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1) มาตรา 1061 และมาตรา 1062 แต่การที่โจทก์ทั้งห้าสิบสองฟ้องเรียกเอาเงินฝากสะสมและเงินปันผล อันมีลักษณะเป็นการคืนทุนโดยยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือข้อตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าสิบสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยทั้งห้ามิได้ให้การต่อสู้และไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาท/ผู้จัดการมรดก รับเงินฝากหลังเจ้าของบัญชีเสียชีวิต ธนาคารไม่สามารถกำหนดระเบียบเพิ่มเติมเกินสิทธิได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง บัญญัติว่า หากผู้ฝากทรัพย์ตาย ให้ผู้รับฝากคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ทายาท ประกอบคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้ตาย ระบุว่า "เมื่อธนาคารทราบว่าผู้ฝากถึงแก่กรรมจะงดจ่ายเงินของผู้ฝากทันที ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของผู้ฝากมีสิทธิที่จะรับเงินฝากคืนโดยนำสมุดคู่ฝากหรือใบรับฝากและหลักฐานต่าง ๆ ที่ธนาคารต้องการมาพิสูจน์จนเป็นที่พอใจแก่ธนาคาร จึงจะจ่ายคืนเงินให้" ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงเป็นทายาทโดยธรรม ทั้งยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลจังหวัดราชบุรีให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายและได้นำหลักฐานอื่น ๆ พิสูจน์ตนแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทั้งทายาทโดยธรรมและผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ส่วนหนังสือระเบียบปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่เจ้าของบัญชีถึงแก่กรรมของจำเลย ที่จำเลยกำหนดให้ผู้จัดการมรดกของเจ้าของบัญชีที่ถึงแก่ความตายซึ่งมีเงินฝากในบัญชีเกิน 50,000 บาท ต้องแสดงหนังสือรับรองว่าคดีที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั้นถึงที่สุดแล้วนั้นเป็นระเบียบภายในของจำเลยที่เพิ่มเติมขึ้นมาเอง เพื่อความรอบคอบในการตรวจสอบของจำเลยเองเท่านั้น ซึ่งเป็นระเบียบที่ขัดต่อสภาพความเป็นจริง กล่าวคือ หากต้องมีหนังสือรับรองคดีที่ถึงที่สุดมาแสดงด้วยเช่นนี้กรณีทายาทโดยธรรมไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ย่อมไม่อาจขอคืนเงินได้เลย อันเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ฝากและทายาทของผู้ฝากโดยไม่จำเป็น อีกทั้งผู้ฝากและทายาทของผู้ฝากไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยอันจะถือว่าผู้ฝากและทายาทของผู้ฝากผูกพันตามคำขอเปิดบัญชีของผู้ตายไม่ได้ ระเบียบปฏิบัติภายในดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ฝากและทายาทของผู้ฝาก การที่จำเลยไม่ยอมคืนเงินฝากของผู้ตายให้แก่โจทก์เป็นการกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยจึงต้องคืนเงิน 2,339,820.42 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2559 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6973/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติจากเงินฝากและตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเป็นต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินอย่างชัดเจน
เมื่อศาลพิพากษาให้เงินของผู้คัดค้านตกเป็นของแผ่นดิน แม้จะถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ตามคำร้องของผู้ร้องและคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินโดยตรงอันเป็นผลตามกฎหมาย และมิใช่กรณีบังคับตามสิทธิเรียกร้องทางแพ่ง แผ่นดินมิได้มีฐานะเป็นบุคคลที่มีมูลหนี้เหนือผู้คัดค้านในเงินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยผิดปกติอันที่จะเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เพื่อจะคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยผิดปกติและตกเป็นของแผ่นดินได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสที่ดิน เงินฝาก และหุ้นหลังการหย่าร้าง ประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ และข้อจำกัดการฎีกา
คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2.2 - 2.5 บรรยายบัญชีเงินฝากในธนาคาร ก. ธนาคาร ท. ธนาคาร อ. และธนาคาร พ. รวม 4 ธนาคาร แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และบรรยายในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะทรัพย์สินดังต่อไปนี้ว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ล. โดยไม่ได้อุทธรณ์ถึงบัญชีเงินฝากธนาคาร พ. แต่อย่างใด ทั้งในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ยังมีคำขอในข้อ 2 ให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินฝากธนาคารแก่โจทก์เพียง 35,872.73 บาท เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เงินฝากในธนาคาร พ. มีจำนวน 800,000 บาท เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ล. โจทก์จึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่งและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสในส่วนเงินฝากธนาคารแก่โจทก์ 435,872.22 บาท พร้อมดอกเบี้ยนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6