คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินมัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด: การพิสูจน์ความผิดสัญญาและการริบเงินมัดจำ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2525 ระบุว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2526 และโจทก์ผู้จะซื้อตกลงชำระเงินมัดจำให้ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 210,000 บาท และจะชำระในช่วงระยะเวลาก่อสร้างอีก 2,160,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวดจำนวน 24 งวด ภายในวันที่ 28 ของทุกเดือน จนกระทั่งถึงวันที่28 พฤษภาคม 2527 โจทก์ชำระเงินมัดจำแล้วแต่ไม่ได้ชำระเงินค่างวดเช่นนี้ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องดำเนินการก่อสร้างตามงวดการชำระเงินจึงเป็นเพียงการกะประมาณเอา หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโดยแท้จริง คือสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายในเดือนธันวาคม 2526ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างบริษัท ผ. ตอกเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2525 และก่อนหน้านั้นต้องเจาะสำรวจดินเพื่อหาข้อมูลในการปักเสาเข็มก่อน ผู้รับจ้างเจาะสำรวจดินทำงานล่าช้าไปประมาณเดือนครึ่งซึ่งเป็นปกติวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อคำนวณดูแล้วอย่างน้อยจำเลยก็ได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2525 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขสถานที่ติดตั้ง การไม่เตรียมสถานที่ตามกำหนดถือเป็นผิดสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบเงินมัดจำ
สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศที่กำหนดให้โจทก์ผู้ซื้อตระเตรียมสถานที่สำหรับการติดตั้งเดินสายไฟฟ้าและติดสวิตซ์สำหรับเครื่องปรับอากาศให้แก่จำเลยผู้ขาย ย่อมเป็นสัญญาที่ถือเอากำหนดเวลาและวิธีการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อถึงกำหนดส่งมอบตามสัญญา โจทก์ไม่มีโรงแรมให้จำเลยเข้าติดตั้งส่งมอบเครื่องปรับอากาศ เป็นกรณีที่โจทก์ละเลยไม่รับชำระหนี้จากจำเลยโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 และมีสิทธิริบเงินมัดจำตามมาตรา 378(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4090/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากตัวแทนที่ขายหุ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่า โจทก์ (จำเลยในคดีนี้) มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการเป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นให้แก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ได้หรือไม่ แต่สำหรับประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยได้หรือไม่ ดังนั้น แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอาศัยเหตุคนละอย่าง กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้ซื้อหุ้นให้แก่โจทก์จำเลยได้จัดการซื้อหุ้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งของโจทก์แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยได้นำหุ้นเหล่านั้นออกขายให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยโจทก์มิได้สั่ง การที่จำเลยได้ขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นไปโดยพลการ โดยไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ต้องคืนเงินและทรัพย์สินที่ได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนให้แก่โจทก์ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4090/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากตัวแทนที่ขายหุ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่า โจทก์ (จำเลยในคดีนี้) มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการเป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นให้แก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ได้หรือไม่ แต่สำหรับประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยได้หรือไม่ ดังนั้น แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอาศัยเหตุคนละอย่าง กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้ซื้อหุ้นให้แก่โจทก์จำเลยได้จัดการซื้อหุ้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งของโจทก์แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยได้นำหุ้นเหล่านั้นออกขายให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยโจทก์มิได้สั่ง การที่จำเลยได้ขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นไปโดยพลการ โดยไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ต้องคืนเงินและทรัพย์สินที่ได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนให้แก่โจทก์ทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นค่าภาระท่าเรือ: สินค้าเคมีเหลวเข้าข่าย 'น้ำมันเชื้อเพลิง' ตามกฎหมาย, จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยได้กำหนดให้สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้นำเข้านำเรือไปจอดขนถ่ายสินค้านอกเขตท่าของจำเลยได้และยกเว้นให้ผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่า ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าสินค้าเคมีเหลวที่โจทก์นำเข้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามความหมายของคำวิเคราะห์ศัพท์คำว่า น้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 3และสินค้าเคมีเหลวดังกล่าวก็มีชื่อตรงกันกับที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 สินค้าเคมีเหลวของโจทก์จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและได้รับยกเว้นการเรียกเก็บค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่าตามที่จำเลยได้กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในคดีฉ้อโกง: แม้เงินมัดจำจ่ายให้จำเลยอื่น จำเลยที่ร่วมกระทำผิดต้องรับผิดชดใช้ทั้งหมด
จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จำเลยเพียงบางคนเป็นผู้รับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยทุกคนก็ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายทุกคน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนฟ้องร้อง: ผลของการยินยอมคืนเงินมัดจำ ทำให้คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดในสัญญาเดิม
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านจากจำเลย ได้วางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์มาขอเงินมัดจำคืน จำเลยตกลงยินยอมคืนให้ ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายกันแล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกไม่ได้ คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่แต่เดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนฟ้องร้อง: ผลของการตกลงคืนเงินมัดจำและการกลับสู่ฐานะเดิม
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านจากจำเลยได้วางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่งต่อมาโจทก์มาขอเงินมัดจำคืนจำเลยตกลงยินยอมคืนให้ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายกันแล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกไม่ได้คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่แต่เดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, ข้อผิดพลาดเรื่องเนื้อที่ดิน, การผิดสัญญา, การคืนเงินมัดจำ, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาท ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-บ้าน, การแก้ไขโฉนด, คืนเงินมัดจำ, และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาทไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)
of 17