คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินเพิ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการคำนวณเงินเพิ่ม: ใช้กฎหมาย ณ วันนำเข้าและจำกัดเงินเพิ่มไม่เกินภาษีค้างชำระ
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินราคาสินค้าของจำเลยเพิ่มขึ้น เช่นนี้ การชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ต้องนำบทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรมาบังคับ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ชำระ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้ สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะ แล้วเมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีก ดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีต้องที่ชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษที่ไม่ใช่รายจ่ายทางภาษี และการไม่มีเจตนาสุจริตในการเสียภาษี ทำให้ไม่ได้รับลดเงินเพิ่ม
แม้เงินบำเหน็จพิเศษที่ธนาคารโจทก์จ่ายให้พนักงานจะไม่มีลักษณะเป็นเงินกองทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) เพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบก็ตาม แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงาน เพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอน เงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ6 เดือนมาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงาน และบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงาน จึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริงเงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามมาตรา65 ตรี (1) ซึ่งไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงนำเงินบำเหน็จพิเศษมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้วถึงแม้จะมิได้นำมา กล่าว ในคำขอท้ายฟ้อง ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยแล้ว การที่โจทก์ออกระเบียบว่าด้วยบำเหน็จและระเบียบว่าด้วยหลักประกันตัวพนักงาน ด้วยวิธีกำหนดให้เงินบำเหน็จพิเศษและเงินประจำตัวมีจำนวนเท่ากัน เพื่อประโยชน์ที่จะอาศัยวิธีการทางบัญชีนำเงินบำเหน็จพิเศษซึ่งมิได้มีการจ่ายมาเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยกว่าความเป็นจริงนั้น เรียกไม่ได้ว่าโจทก์และเจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นในการตีความกฎหมายต่างกันโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินเพิ่มจากค่าจ้างค้างชำระ นายจ้างต้องจ่ายร้อยละ 15 ต่อระยะเวลา 7 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยจงใจผิดนัดจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 31 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวัน มิใช่ร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดเงินเพิ่มจากค่าจ้างค้างชำระ: ศาลยืนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดอัตราเงินเพิ่มรายเจ็ดวัน มิใช่รายปี
จำเลยจงใจผิดนัดจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวัน มิใช่ร้อยละ 15ต่อปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มอากรศุลกากร: การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี และการไม่อุทธรณ์ดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้าแก่จำเลย ให้จำเลยนำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด 30 วันตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 112 ทวิ มิฉะนั้นจะถูกเรียกเงินอีกร้อยละ 20 ของค่าอากรที่ต้องชำระหรือชำระเพิ่มเติมมาตรา 112 ตรี จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว ไม่นำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด กรมศุลกากรมีคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 3/2525 ข้อ 1.5 มีใจความว่า ถ้าผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินภาษีอากรมาชำระเกินกำหนด 3เดือน ขึ้นไปนับแต่วันที่ครบกำหนด 30 วัน จากวันที่ได้รับแจ้งให้เรียกเงินเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ ทุกรายคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรดังกล่าว อธิบดีกรมศุลกากรก็ต้องเป็นผู้ออกคำสั่งนั้นทั้งตามมาตรา 112 ตรี ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าให้อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ต้องทำเป็นหนังสือเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากผู้นำของเข้าโดยตรงทุกรายดังนั้น การส่งแบบแจ้งการประเมินดังกล่าว ฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ทั้งไม่ปรากฏว่า การใช้ดุลพินิจของพนักงานประเมินที่กระทำในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นการไม่ชอบ และทางฝ่ายจำเลยก็มิได้มีพฤติการณ์อย่างใดที่สมควรจะให้งดเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรที่ต้องนำมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละ 20
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น 290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มจากภาษีอากร: การใช้ดุลพินิจเรียกเก็บเงินเพิ่มตามกฎหมายศุลกากร และข้อยกเว้นดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้าแก่จำเลย ให้จำเลยนำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด 30 วันตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 112 ทวิ มิฉะนั้นจะถูกเรียกเงินอีกร้อยละ 20 ของค่าอากรที่ต้องชำระหรือชำระเพิ่มเติมมาตรา 112 ตรี จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว ไม่นำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด กรมศุลกากรมีคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 3/2525 ข้อ 1.5 มีใจความว่า ถ้าผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินภาษีอากรมาชำระเกินกำหนด 3เดือน ขึ้นไปนับแต่วันที่ครบกำหนด 30 วัน จากวันที่ได้รับแจ้งให้เรียกเงินเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ ทุกรายคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรดังกล่าว อธิบดีกรมศุลกากรก็ต้องเป็นผู้ออกคำสั่งนั้นทั้งตามมาตรา 112 ตรี ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าให้อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ต้องทำเป็นหนังสือเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากผู้นำของเข้าโดยตรงทุกรายดังนั้น การส่งแบบแจ้งการประเมินดังกล่าว ฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ทั้งไม่ปรากฏว่า การใช้ดุลพินิจของพนักงานประเมินที่กระทำในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นการไม่ชอบ และทางฝ่ายจำเลยก็มิได้มีพฤติการณ์อย่างใดที่สมควรจะให้งดเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรที่ต้องนำมาชำระตามมาตรา 112จัตวา จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละ 20
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินเพิ่มจากค่าจ้างค้างชำระ นายจ้างต้องจ่ายร้อยละ 15 ต่อระยะเวลา 7 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยจงใจผิดนัดจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวัน มิใช่ร้อยละ 15 ต่อปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระภาษีอากร, เงินเพิ่ม, และขอบเขตการเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาล
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการขอชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโดยขอผ่อนเป็น 3 งวด งวดแรกชำระเป็นเงินสด งวดที่ 2 และที่ 3 จำเลยสั่งจ่ายเช็ครวม 2 ฉบับล่วงหน้ามอบให้แก่โจทก์ การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงิน มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับ และจำเลยไม่เคยนำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับไปชำระให้แก่โจทก์เลย มูลหนี้ซึ่งเป็นค่าภาษีอากรจึงยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เดิมได้และเนื่องจากมูลหนี้เดิม เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร จึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระภาษีอากรและเงินเพิ่ม หากไม่ชำระตามกำหนด จะเสียสิทธิประโยชน์และต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการขอชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโดยขอผ่อนเป็น 3 งวด งวดแรกชำระเป็นเงินสด งวดที่ 2 และที่ 3 จำเลยสั่งจ่ายเช็ครวม 2 ฉบับล่วงหน้ามอบให้แก่โจทก์การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงิน มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับและจำเลยไม่เคยนำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับไปชำระให้แก่โจทก์เลย มูลหนี้ซึ่งเป็นค่าภาษีอากรจึงยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เดิมได้และเนื่องจากมูลหนี้เดิมเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร จึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7(4)โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12(1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าข้ามพรมแดน การหลีกเลี่ยงภาษี และการคำนวณเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ฎีกาของจำเลยจะคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มา แต่ก็เป็นฎีกาในเหตุเดียวกับที่จำเลยอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) นั้น คำว่าอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องจะต้องเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากคดีที่กำลังพิพาทกันอยู่โดยตรง เมื่อจำเลยให้การรับว่าเครื่องรับโทรทัศน์รายพิพาทไม่ใช่เครื่องรับโทรทัศน์ชนิดแบบวงจรปิดตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาลตามที่โจทก์ฟ้องดังนั้นศาลชั้นต้นย่อมสั่งงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระภาษีอากรได้ การที่จำเลยได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งและนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเครื่องรับโทรทัศน์สีชนิดแบบวงจรปิด โดยให้ได้รับงดเว้นการเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า แต่จำเลยกลับนำเข้าโทรทัศน์สีซึ่งใช้รับภาพจากสถานีส่งภายนอกได้ด้วย และมีราคาแพงกว่าเช่นนี้จำเลยอ้างไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีอากร การคิดเงินเพิ่มภาษีอากรไม่ถูกต้องและการให้เสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มซึ่งไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อกฎหมายได้บัญญัติทางแก้ ในกรณีที่ไม่ชำระภาษีอากรตามกำหนดเวลาไว้ใน พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ อยู่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินเพิ่มตามบทกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
of 15