คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษและการปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติ เมื่อถูกจำคุกในคดีอื่น
จำเลยถูกจับกุมในวันเวลาเกิดเหตุเดียวกันในข้อหาร่วมกันบุกรุกและมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองพนักงานอัยการได้แยกฟ้องคดีร่วมกันบุกรุกเป็นอีกคดีหนึ่งซึ่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย6เดือนส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาก่อนคดีดังกล่าวให้จำคุก6เดือนรอการลงโทษ2ปีและคุมความประพฤติไว้การที่จำเลยมิได้ไปรายงานตัวในครั้งที่3ถึงครั้งที่5ในคดีนี้ก็เพราะเหตุถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำจึงไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดและกรณีมิใช่จำเลยกระทำความผิดขึ้นอีกหลังจากที่มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้วศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้จากรอการลงโทษเป็นให้ลงโทษที่รอไว้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา57หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนอากรขาเข้ากรณีของเสียหายจากเพลิงไหม้ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออก
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยแสดงความจำนงต่อจำเลยทั้งสองว่าจะใช้ของที่นำเข้ามานั้นในการผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุเพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี เพื่อขอคืนเงินอากรขาเข้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 และโจทก์มิได้ชำระอากรขาเข้าเพราะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารแทนการชำระภาษีอากรที่จะต้องเสีย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ตรี แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินค่าภาษีอากรนั้น มาตรา 19 ทวิบัญญัติไว้เพียงกรณีเดียว คือ เมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก)- (จ) ด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งของที่ผลิตด้วยเส้นด้ายใยยาวสังเคราะห์ทำด้วยโปลีเอสเตอร์และผ้าทอโปลีเอสเตอร์ใยสั้นที่ได้นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด1 ปี จึงไม่อาจขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระหรือขอคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามมาตรา 19 ทวิ
แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้
ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้า ซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดี-กรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี แม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าชี้ขาดคดีต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลง หากเงื่อนไขไม่เป็นไปตามนั้น คำท้าเป็นอันตกไป ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
โจทก์และจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้สั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดทำแผนที่พิพาทหากพนักงานเจ้าหน้าที่ทำแผนที่พิพาทแล้วปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8049หรือนอกเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วโจทก์ยอมแพ้แต่ถ้าหากที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วจำเลยยอมแพ้โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานต่อไปต่อมาเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้วไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่าที่พิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินแปลงใดเนื่องจากไม่สามารถรังวัดปูโฉนดได้เพราะที่ดินตามโฉนดเดิมไม่มีระวางโยงยึดและหมุดหลักที่แน่นอนจึงยังถือไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใดศาลจึงยังไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เป็นไปตามคำท้าของโจทก์และจำเลยได้ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นตรวจดูแผนที่พิพาทและระวางแผนที่อีกครั้งหนึ่งแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาโดยนำตำแหน่งของที่พิพาทมาเปรียบเทียบกับระวางแผนที่แล้ววินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033ให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้าจึงเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ตรงตามคำท้าของโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าคำท้าของโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันตกไปศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการชี้สองสถานหากจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9779/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามสัมปทานและการเลิกสัญญา ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขในสัญญา
ตามสัมปทานข้อ 7 กำหนดให้สัมปทานอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย กฎ และข้อบังคับทั้งปวงที่ประกาศใช้บังคับอยู่แล้วในขณะนี้และที่จะได้ประกาศใช้บังคับต่อไปในภายหน้า ผู้รับสัมปทานจะอ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ ในสัมปทานเป็นข้อยกเว้นมิให้ต้องถูกบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับนั้น ๆ หรือจะอ้างเหตุที่ได้รับ หรือจะได้รับโทษตามกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ต้องถูกบังคับตามสัมปทานนี้หาได้ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐผู้มีอำนาจให้รัฐมนตรีมีคำสั่งหยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงการจัดโครงการทำไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งเป็นคำสั่งที่ใช้รวมกันทุกสัมปทานใน 14 จังหวัดภาคใต้ คำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎและข้อบังคับที่ประกาศใช้บังคับภายหลังมีสัมปทานทำไม้ ย่อมมีผลผูกพันโจทก์มิให้อ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นมิให้ถูกบังคับตามคำสั่งดังกล่าวตามสัมปทานทำไม้ข้อ 7 ได้
สัมปทานข้อ 34 กำหนดว่า "ถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ 2 ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ให้สัมปทานทราบว่า ประสงค์จะเลิกสัมปทานตั้งแต่เมื่อใด และผู้รับสัมปทานจะหยุดทำไม้นับแต่วันที่แจ้งก็ได้ แต่ผู้รับสัมปทานยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัมปทานนี้ จนถึงวันที่ผู้ให้สัมปทานกำหนดให้เป็นวันเลิกสัมปทาน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ให้สัมปทานได้รับหนังสือแจ้งขอเลิกสัมปทาน
การเลิกสัมปทานตามวรรคหนึ่ง ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้ตามข้อ 31 คืน"
ตามข้อสัมปทานดังกล่าวเป็นเรื่องขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัมปทานซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 30 ปี เมื่อโจทก์ได้แจ้งขอเลิกสัมปทาน ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัมปทาน หนังสือบอกเลิกสัมปทานดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัมปทานโดยความสมัครใจของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้คืน ทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในสัมปทานข้อ 34 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดการชี้สองสถานและงดสืบพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อ้างว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ดังนั้นการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลซึ่งถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234กำหนดไว้กรณีหากจำต้องให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดเวลาในจำเลยปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวก่อนไม่การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกันตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลให้ครบถ้วนตามเวลาที่กำหนดและการที่โจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้นั้นก็มิใช่เป็นการหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขที่กำหนด และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยภาษี
การจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.03.3หรือ ภ.พ.03.5 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2535 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบ ภ.พ.03.5 ในวันที่ 31 มกราคม 2535 โจทก์จึงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์ทำบันทึกขอลดเบี้ยปรับ บันทึกยินยอมชำระภาษีอากรหรือขอผ่อนชำระภาษีอากรให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็คงมีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาฟ้องแย้งเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ในคดีบุกรุกที่ดิน
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปทำรั้วปูนด้านหน้าและรั้วสังกะสีด้านข้างในที่ดินมีโฉนดของโจทก์ ด้านที่ติดกับจำเลยเป็นเนื้อที่รวม7 ตารางวา ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การปฏิเสธว่า มิได้บุกรุกหรือรุกล้ำ ขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยบุกรุกดังฟ้องโจทก์หรือไม่ หากฟังไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุก ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า เมื่อที่ดินของจำเลยอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์หากจำเลยได้ครอบครองที่ดินของจำเลยต่อเนื่องเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามฟ้องจำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินของโจทก์ติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้วเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์นั้น เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการคุมประพฤติและการเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือนและปรับ 1,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 จำเลยไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด ศาลชั้นต้นยกเลิกการคุมประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์-ภาค 3 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนเรียกร้องค่าที่ดิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ยังไม่ได้จัดการทำถนน ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า และยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดิน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยให้การสู้คดีว่าได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปรับโอนที่ดินในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 แต่คำให้การของจำเลยไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยยังไม่ได้จัดการทำถนน ท่อระบายน้ำและติดตั้งเสาไฟฟ้า จึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจริงและข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ ทั้งตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับเงินค่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยจะต้องแบ่งแยกที่ดินออกจากโฉนดที่ดินเดิม สร้างถนนเข้าที่ดินกว้าง 5 เมตร ทำท่อระบายน้ำ และตั้งเสาไฟฟ้าให้เรียบร้อย เมื่อจำเลยยังไม่ได้จัดการแบ่งแยกที่ดิน ทำถนนเข้าที่ดินทำท่อระบายน้ำ และตั้งเสาไฟฟ้า จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระและจดทะเบียนรับโอนที่ดินที่จะซื้อขายกัน การที่โจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยและไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินกันในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินก็ไม่อาจจะจดทะเบียนโอนที่ดินกันได้ และการที่จำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งเมื่อจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อ ส.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
of 48