คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกบัตรประชาชนให้บุคคลต่างด้าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 83, 137,157, 267, 268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคลต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรองบุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตามบทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา137, 267 และ 157 ด้วย แต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็นชัดเจน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้าง โดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ว.พา ท. มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน พ. วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร.ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท. ต่อมาวันรุ่งขึ้น ท.ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร.และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข. คือ ท.ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร. และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการรักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่งตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอสมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย... ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ.มาตรา 157
ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย เมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ แต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าว ได้รับคำสั่งให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,137,157,267,268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ 267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำ ด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการ ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคล ต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรอง บุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตาม บทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา 137,267 และ 157 ด้วยแต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็น ชัดเจนการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้างโดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ว.พาท.มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านพ.วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร. ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท.ต่อมาวันรุ่งขึ้นท. ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร. และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข.คือ ท. ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร.และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการ รักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่ง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้น เรียบร้อย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทย ได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยเมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้ รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน ฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลรถหายเพื่อเก็บรักษา ไม่ถือเป็นความผิดแจ้งความเท็จ
รถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบได้หายไป จำเลยจึงไปแจ้งต่อพันตำรวจโท ม.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่จำเลยไปพบรถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจนำรถยนต์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย โดยจำเลยไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องสืบให้ได้แน่ชัดก่อนแล้วจึงจะไปร้องทุกข์ดำเนินคดีภายหลัง เมื่อข้อความที่จำเลยแจ้งแก่พันตำรวจโท ม.เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจำเลยมิได้แจ้งว่ารถยนต์หายไป ไม่ว่าจะเป็นการโดยการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์อย่างใด และไม่ปรากฏข้อความที่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด แม้โจทก์ร่วมจะได้แนะนำให้จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีเพราะเหตุมีการกระทำความผิดแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยที่ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้นำรถมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจมิชอบเรียกเก็บเงินจากผู้ขับรถ แม้ไม่มีความผิด เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148/149
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ถ้าจำเลยที่ 1เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหน จากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งป.อ.มาตรา 148 และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียกรับเงินจากผู้ขับรถบรรทุกเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้ กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความ เกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมายถ้าจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหนจากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157อันเป็นบททั่วไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับบัตรประชาชนและการมีส่วนร่วมทางอาญา: จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรง
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของ ด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไป คือ ด. ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของ ด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชน ได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็น ด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตาม แต่ จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้ง จ.มิได้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.รับรองในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่องที่ จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนปลอม จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครอง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไปคือ ด.ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชนได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็นด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตามแต่จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้งจ.มิได้สังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายการที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ. รับรองให้การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่อง ที่จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบียดบังเงินของเจ้าพนักงาน การลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารกรอกข้อความลงในเอกสาร ดูแลรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเงินและบัญชี ควบคุมดูแลเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินทุกประเภทของโรงเรียน พ. จำเลยได้กรอกข้อความและลงลายมือชื่อของข้าราชการหลายคนในสัญญารับรองการยืมเงินว่า บุคคลเหล่านั้นยืมเงินค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนอันเป็นความเท็จ และปลอมลายมือชื่อของผู้อำนวยการ โรงเรียนกับพวกเป็นผู้อนุมัติให้ยืมเงิน อีกทั้งปลอมสัญญารับรองการยืมเงินของบุคคลดังกล่าวโดยเพิ่มเติมข้อความหรือแก้ไขตัวเลขให้สูงขึ้น แล้วเบียดบังเงินส่วนนั้นไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 และ 147 แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมก็โดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินเป็นของตนการที่จำเลยเบียดบังเงินแต่ละครั้งจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 147อันเป็นบทหนักที่สุดตามมาตรา 90 จำเลยกระทำความผิดรวม 36 กระทง เท่านั้นแต่การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยในความผิดตามมาตรา 147 และมาตรา 161 เป็นความผิดหลายกรรมและพิพากษาลงโทษจำเลย ตามมาตรา 147 รวม 36 กระทงกับมาตรา 161 รวม 36 กระทงนั้นไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่: อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและขอบเขตการจับกุม
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้
ตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงาน: การปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานอื่นตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจและมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วย ดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลยผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่
of 148