คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานบังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาต่ำกว่าตลาดและมีการเปลี่ยนแปลงหมู่บ้าน
เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปโดยสุจริตและไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมาย อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อันใดที่ส่อให้เห็นว่าผู้เข้าสู้ราคาสมคบกันกดราคาประมูลให้ต่ำลง แม้ว่าการขายทอดตลาดจะต่ำกว่าราคาซื้อขายกันในท้องตลาดบ้าง แต่ก็ไม่มีพิรุธประการใดจึงไม่มีเหตุที่จะยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาด
ในการขายทอดตลาดเมื่อมีผู้ประมูลราคาและเจ้าพนักงานผู้ขายทอดตลาดนับ1 ถึง 3 แล้วไม่มีผู้ใดให้ราคาสูงกว่านั้น ผู้ขายทอดตลาดจึงนำราคาประมูลที่ได้ไปขออนุญาตศาลขายเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ผู้ขายทอดตลาดจึงมาตกลงขายด้วยการเคาะไม้ ดังนี้ การขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาทจึงสมบูรณ์
ที่ดินที่ขายทอดตลาดมีที่ตั้งปรากฏตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ว่าอยู่หมู่ที่ 1แต่ขณะนำยึดที่ดินเพื่อขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวอยู่หมู่ที่ 9 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงประกาศขายทอดตลาดโดยระบุว่าที่ดินอยู่หมู่ที่ 9 ดังนี้ เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงหมู่บ้านตามเขตการปกครองท้องที่ของฝ่ายบริหาร จึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินไปโดยชอบแล้ว ไม่เป็นการขายที่ดินผิดแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขานราคาประมูลที่ไม่ชัดเจนทำให้ผู้เสนอราคาเข้าใจผิด การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบ
การที่ผู้แทนผู้ร้องที่ 2 ลงชื่อค้านราคาขาย 3,050,000 บาทในรายงานการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นเหตุผลสนับสนุนให้ฟังได้ว่าผู้แทนผู้ร้องที่ 2 เข้าใจผิดว่าในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ขานราคาประมูลว่า "สามล้านห้า หนึ่ง สามล้านห้า สอง สามล้านห้า สาม"นั้น หมายถึงราคา 3,500,000 บาท นอกจากนี้ปรากฏว่าการให้ราคาประมูลก่อนครั้งสุดท้ายถือราคา 3,000,000 บาท เพิ่มจากราคาครั้งก่อนหน้านั้นถึง 950,000 บาท ย่อมทำให้ผู้แทนผู้ร้องที่ 2เข้าใจได้ว่าผู้ซื้อทรัพย์ประมูลราคา 3,500,000 บาท จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขานราคาไม่ชัดเจน การดำเนินการขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ใต้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้โจทก์เป็นผู้รื้อโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลคงพิพากษาให้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยรื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้จำเลยไปจดทะเบียนทางภารจำยอมให้โจทก์หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์-ขายทอดตลาด: การรู้เห็นราคา, อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี, และราคาขายที่เหมาะสม
จำเลยที่ 3 ลงชื่อทราบหมายบังคับคดี กับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์ บัญชีทรัพย์ที่ยึด และสัญญารักษาทรัพย์ ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอด เมื่อจำเลยที่ 3 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง 5จำเลยที่ 3 ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสอง
เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้
การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ การประเมินราคา การขายทอดตลาด และอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่ 3 ลงชื่อทราบหมายบังคับคดี กับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์ บัญชีทรัพย์ที่ยึด และสัญญารักษาทรัพย์ ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอด เมื่อจำเลยที่ 3 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง 5จำเลยที่ 3 ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสอง เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ การประเมินราคา และการขายทอดตลาด: การปฏิบัติตามกฎหมายและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่3ลงชื่อทราบหมายบังคับคดีกับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์บัญชีทรัพย์ที่ยึดและสัญญารักษาทรัพย์ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์แสดงว่าจำเลยที่3ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอดเมื่อจำเลยที่3อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริงแม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง5จำเลยที่3ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน8วันนับแต่วันที่ยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้วและราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควรไม่ปรากฏว่าจำเลยที่3ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีกจึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยมิชอบและราคาต่ำเกินควร
ในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ผู้คัดค้านประมูลให้ราคาสูงสุดเป็นเงินจำนวน550,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดได้นับสองและยุติการขายชั่วคราวเนื่องจากผู้แทนผู้ร้องคัดค้านว่าราคาต่ำไปและได้ทำบันทึกเสนอผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการกองได้เรียกผู้แทนผู้ร้องและผู้คัดค้านเข้าไปพบในห้องทำงานให้ผู้คัดค้านเพิ่มราคา ผู้คัดค้านเพิ่มราคาอีก 100,000 บาทเป็น 650,000 บาท เกินกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ ผู้อำนวยการกองจึงอนุมัติให้ขายทรัพย์แก่ผู้คัดค้าน หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดออกจากห้องมาที่บริเวณขายทอดตลาดแสดงการตกลงด้วยการนับสามและเคาะไม้ขายทรัพย์พิพาทแก่ผู้คัดค้าน โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้สู้ราคาอื่นประมูลราคาด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ราคาสูงสุดที่ผู้คัดค้านประมูลได้โดยวิธีปกปิดบุคคลอื่นนั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก เป็นการกระทำโดยรวบรัด และไม่มีบทกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติเช่นนั้นได้ การขายทอดตลาดไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรามาตรา 509 ถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแทรกแซงและปิดโอกาสให้สู้ราคา
ในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ผู้คัดค้านประมูลให้ราคาสูงสุดเป็นเงินจำนวน 550,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดได้นับสองและยุติการขายชั่วคราวเนื่องจากผู้แทนผู้ร้องคัดค้านว่าราคาต่ำไปและได้ทำบันทึกเสนอผู้อำนวยการกองผู้อำนวยการกองได้เรียกผู้แทนผู้ร้องและผู้คัดค้านเข้าไปพบในห้องทำงานให้ผู้คัดค้านเพิ่มราคา ผู้คัดค้านเพิ่มราคาอีก100,000 บาท เป็น 650,000 บาท เกินกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ ผู้อำนวยการกองจึงอนุมัติให้ขายทรัพย์แก่ผู้คัดค้านหลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดออกจากห้องมาที่บริเวณขายทอดตลาดแสดงการตกลงด้วยการนับสามและเคาะไม้ขายทรัพย์พิพาทแก่ผู้คัดค้าน โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้สู้ราคาอื่นประมูลราคาด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ราคาสูงสุดที่ผู้คัดค้านประมูลได้โดยวิธีปกปิดบุคคลอื่นนั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก เป็นการกระทำโดยรวบรัด และไม่มีบทกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติเช่นนั้นได้ การขายทอดตลาดไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 509 ถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าหลังบอกเลิกสัญญาเช่า และการฟ้องในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้เช่าอาคารของ จ. แล้วให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเช่าช่วงเพื่อทำโรงแรมเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจ. ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ จ. ผู้ให้เช่าและห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผู้เช่ามีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเช่าอาคาร และการที่จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ก็เป็นมูลกรณีจากการที่คู่กรณีในสัญญาจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อสัญญา ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ต้องถือว่าเป็นการใช้สิทธิของจำเลยที่ 3ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือจงใจกระทำการฉ้อโกงอันเป็นการกระทำละเมิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถ้อยคำเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสี่ไม่สุจริต การกระทำฉ้อโกงโจทก์อันเป็นละเมิด แต่ฟ้องโจทก์ในตอนต้นก็บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนนั้นไว้โดยละเอียดแล้วและตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ก็ขอให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการก่อสร้างให้โจทก์ตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ ศาลก็มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่นำสืบกันมา การนำสืบข้อเท็จจริงของโจทก์จึงไม่ต่างกับฟ้อง
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
ส. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และแม้คำฟ้องของโจทก์จะมีคำว่า ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ต่อท้ายชื่อของ ส.ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการฟ้องคดีในนามของผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์
คำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีซึ่งสังกัดอยู่ในกรมบังคับคดี มิได้มีความหมายจำกัดเฉพาะอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ากองพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนราชการในกรมบังคับคดีมีหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ยังไม่นับสาม หากมีคำสั่งอนุมัติจากผู้มีอำนาจ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับหนึ่งถึงสองในการขายทอดตลาดแล้วเสนอรองอธิบดีเพื่อขอคำสั่งอนุมัติให้ขายตามราคาสูงสุดที่มีผู้ประมูลได้ ซึ่งหากมีคำสั่งประการใดก็ให้ถือว่าเป็นเด็ดขาดนั้น เป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมบังคับคดี และโจทก์ก็ทราบคำสั่งนั้นแล้ว จึงเป็นคำโฆษณาบอกขายหรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งผู้ขายทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการขายทรัพย์เฉพาะรายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 และแม้จะยังมิได้นับสามก็หาขัดต่อระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 83 ไม่ เพราะระเบียบดังกล่าวขึ้นต้นด้วยข้อความว่า "ตามปกติ" แสดงว่ามิได้บังคับตายตัว จึงอาจจะตกลงหรือปฏิบัติตามคำสั่งอันเป็นที่รับรู้กันแล้วได้ ดังนั้น เมื่อรองอธิบดีมีคำสั่งอนุมัติให้ขายแล้ว แม้โจทก์จะขอสู้ราคาโดยที่ยังไม่ทันได้นับสาม แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อนุญาตและได้นับสามพร้อมกับเคาะไม้ก็ตามก็เป็นการขายทอดตลาดที่ชอบแล้ว.
of 17