พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392-4393/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ละเว้นหน้าที่โดยทุจริต และรับรองเท็จ เจ้าหน้าที่ป่าไม้
จำเลยที่ 1 เป็นที่ดินอำเภอได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจสอบไม้ในที่ดิน น.ส.3 มีหน้าที่ออกไปตรวจสอบว่า มีไม้ขึ้นอยู่ในที่ดินแปลงที่ขออนุญาตทำไม้หรือไม่ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ออกไปตรวจสอบ อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อรับรองในบันทึกการตรวจสอบไม้ว่า เห็นสมควรให้ทำไม้ยางออกจากที่ดิน น.ส.3 ได้ เป็นการรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้ออกไปตรวจสอบไม้ดังกล่าวอันเป็นความเท็จ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162 (1) ซึ่งเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ โดยมีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นในคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคืนภาษีอากร กรณีสินค้าผิดแบบ – ความล่าช้าของเจ้าหน้าที่
สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นสินค้าผิดแบบโจทก์มีสิทธิที่จะขอส่งกลับคืนไว้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ของประกาศกรมศุลกากรที่ 9/2535 โจทก์ได้แจ้งเรื่องอุปกรณ์สินค้าที่นำเข้ามาผิดแบบให้จำเลยทราบทันที และขออนุมัติส่งคืนให้แก่ผู้ขายหลังจากทำการตรวจสอบสินค้าแล้ว แต่จำเลยมิได้มีคำสั่งเรื่องที่โจทก์ขอส่งสินค้ากลับคืนไปแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ของจำเลยเพิ่งจะมีคำสั่งแจ้งเรื่องให้โจทก์ทราบเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์นำสินค้าเข้ามา ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปภายใน 1 ปีได้นั้น จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคืนเงินอากรที่ชำระให้จำเลยพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ในการแจ้งเวนคืนที่ดิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อที่ไม่ตรวจสอบสิทธิ
ประกาศของคณะปฏิวัติและพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพียงแต่กำหนดว่าที่ดินจะถูกเวนคืนท้องที่ใด อำเภออะไร กว้างที่สุดและแคบที่สุดเท่าไรเท่านั้น แม้จะมีแผนที่แนบ ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินแปลงใดถูกเวนคืนบ้าง ผู้ขายได้ซื้อที่ดินมาจากผู้อื่นและขออนุญาตทำการปลูกสร้างอาคาร แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายไม่รู้ว่าที่ดินถูกเวนคืน และความไม่รู้มิใช่เพราะความประมาทของผู้ขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องที่ผู้ซื้อฟ้องว่าผู้ขายปกปิดความจริงเรื่องการเวนคืน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่...ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบเมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าหน้าที่: การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ต้องพิจารณาคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุกำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขตหรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอหรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ.เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ.จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องอาญา: การระบุตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่ดินในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้แจ้งให้ ถ. เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอผู้ทำหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนต่าง ๆ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเอกสารบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้หายไป แม้มิได้บรรยายว่า ถ.เป็นเจ้าพนักงานที่ดิน ก็ย่อมเข้าใจได้ว่า ถ. เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 แล้ว ฟ้องโจทก์หาเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมหรือขาดองค์ประกอบความผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเงินเพื่อจูงใจเจ้าหน้าที่ให้เสนอเรื่องซื้อสินค้า ถือเป็นความผิดฐานใช้ให้กระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่ผู้เสียหายมอบเงินให้จำเลยเพื่อนำไปให้ ส. เป็นการตอบแทนที่ ส. เสนอเรื่องขอซื้อสินค้าของผู้เสียหายต่อผู้บังคับบัญชาจนเป็นผลสำเร็จ เป็นกรณีที่ผู้เสียหายใช้จำเลยนำเงินไปให้แก่ ส.เพื่อจูงใจให้ส. กระทำการอันไม่ชอบด้วยหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการใช้ให้จำเลยไปกระทำความผิด ดังนี้ ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดและคดีอาญาจากการชนรถยนต์ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
โจทก์และจำเลยที่ 2 กับพวกเคยถูกฟ้องเรื่องละเมิดและผิดสัญญา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะคู่สัญญาส่วนจำเลยอื่นให้ยกฟ้องคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเรื่องละเมิดและเรียกทรัพย์คืน ดังนี้คดีก่อนโจทก์กับจำเลยไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันและไม่ใช่ประเด็นอย่างเดียวกันกับคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการตามกฎหมายซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยเคร่งครัดการที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อระเบียบของทางราชการโดยชัดแจ้ง ดังนี้เป็นการประมาทเลินเล่อ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
จำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการตามกฎหมายซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยเคร่งครัดการที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อระเบียบของทางราชการโดยชัดแจ้ง ดังนี้เป็นการประมาทเลินเล่อ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเจ้าหน้าที่, การจดทะเบียนที่ดินไม่ชอบ, รอนสิทธิ์, เพิกถอนรายการจดทะเบียน
ผู้มอบอำนาจตาย ก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หนังสือมอบอำนาจย่อมระงับสิ้นไปหรือหมดสภาพไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 826 จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วว่าผู้มอบอำนาจตาย แต่ยังดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการปฏิบัติราชการในหน้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมที่ดิน จำเลยที่ 1 ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนด ที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนด โดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตาย ได้ ตาม ป. กฎหมายที่ดินมาตรา 61 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนด ที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอน สิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 479.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินของกลางหลังคำร้องเปรียบเทียบถูกยกเลิก เจ้าหน้าที่ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายได้
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมโจทก์ในข้อหาพยายามพาของต้องจำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 27 จึงมีอำนาจนำตัวโจทก์และของพิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เกี่ยวกับการพยายามกระทำความผิดส่งสถานีตำรวจ เพื่อจัดการตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์ได้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบเพื่อไม่ต้องดำเนินคดี โดยขอยกของพิพาทให้เป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ภายหลังโจทก์กลับขอคืนของพิพาทก่อนที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะพิจารณาคำร้องขอให้เปรียบเทียบมาตรา 102 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบต่อไปโจทก์จึงหมดความคุ้มกันในการที่จะถูกดำเนินคดีจำเลยย่อมมีอำนาจยึดของพิพาทไว้เพื่อนำส่งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามมาตรา 20 ได้