พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยในสัญญาเช่าซื้อ การรวมราคารถและค่าเช่าไม่ขัดกฎหมาย
การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถโดยรวมค่าเช่ากับราคารถที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน ไม่มีกฎหมายห้ามทำและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ย คำนวณเป็นดอกเบี้ยได้เท่าใดบวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จึงกำหนดเป็นค่างวด ซึ่งดอกเบี้ยดังกล่าวมากกว่าอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ก็มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475สัญญาเช่าซื้อจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของผู้ให้เช่าซื้อที่เพิกเฉยต่อการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ และรับชำระเงินต่อ ย่อมถือได้ว่ารู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด
ผู้ร้องทราบว่าศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่ผู้ร้องก็เพิกเฉยหาได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ ทั้งยังรับชำระค่าเช่าซื้อต่อมาอีก 2 งวด หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 เดือน ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาและมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น จึงเพิกเฉยไม่บอกเลิกสัญญาและไม่ติดตามเอารถจักรยานยนต์ของกลางคืน ทั้ง ๆ ที่มีการผิดนัดค่าเช่าซื้อติดต่อกันมาหลายงวด การที่ผู้ร้องมาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9034/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเช่าซื้อรถยนต์: สัญญาเช่าซื้อมีผลเหนือกว่าสัญญาซื้อขายเดิม
แม้โจทก์ได้สั่งซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยชำระค่าจองรถยนต์รวมทั้งค่ารถยนต์บางส่วน และได้รับมอบรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยืนยันว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับบริษัท ธ. จำกัด อันแสดงโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าบริษัท ธ. จำกัด เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท หาใช่จำเลยที่ 1 ไม่ มิฉะนั้นโจทก์คงไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายงวดให้แก่บริษัท ธ. จำกัด ตลอดมา โดยบริษัทดังกล่าวได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกงวด แม้แต่ค่าจองรถยนต์ จนกระทั่งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ธ. จำกัด ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้รับมอบรถยนต์ไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้มีนิติสัมพันธ์ตามลักษณะของสัญญาซื้อขายกันไม่ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ปรากฏว่า มีความผูกพันกับโจทก์ตามสัญญาใดที่จะทำให้ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ ลำพังเพียงการรับประกันว่า หากรถยนต์ที่จำหน่ายมีปัญหาสามารถส่งซ่อมได้ที่ศูนย์บริการตัวแทนจำหน่ายและที่ศูนย์ของจำเลยที่ 2 มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 2 ผูกพันต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่โจทก์ได้รับมอบมาตามสัญญาเช่าซื้อ เพราะความรับผิดในกรณีทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อชำรุดบกพร่องโจทก์ย่อมเรียกร้องได้จากผู้ให้เช่าซื้อโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่าซื้ออันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่าซื้อนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8810/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า
จำเลยตกลงทำสัญญาเช่ารถยนต์คันพิพาทกับโจทก์ตามเอกสารซึ่งระบุว่า เป็นสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง มีกำหนด 48 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 19,100 บาท หรือคิดเป็นเงินค่าเช่าทั้งหมด 916,800 บาท และเงินประกันการเช่าอีก 57,300 บาท เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าจำเลยจะซื้อทรัพย์สินที่ให้เช่าหรือรถยนต์คันพิพาทได้ในราคา 200,000 บาท จึงรวมเป็นเงินที่ผู้เช่าหรือจำเลยจะต้องชำระทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1,174,100 บาท โดยโจทก์คิดเป็นราคารถยนต์ คันพิพาทจำนวน 803,738.32 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 56,261.68 บาท สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่ง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีความประสงค์ในทางสุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 และมาตรา 368 ว่า ต้องการจะใช้บังคับแก่กันในลักษณะเช่าทรัพย์หรือเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จึงต้องอนุวัตน์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญาดังกล่าวเป็นสำคัญ อีกทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่า ค่าเช่าและเงินประกันการเช่า การประกันภัยและหน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่า ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 537 ถึงมาตรา 564 ทั้งสิ้น แม้จะมีข้อตกลงเป็นพิเศษที่กำหนดให้ผู้เช่าสามารถเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้โดยต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ให้เช่าทราบไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนสัญญาเช่าจะสิ้นสุดลงก็เป็นแต่เพียงข้อยกเว้นในทางให้สิทธิแก่ผู้เช่าบางประการในการเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ก็ได้เท่านั้น กรณีมิใช่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่งรายพิพาทจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2543)
โจทก์และจำเลยต่างมีความประสงค์ในทางสุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 และมาตรา 368 ว่า ต้องการจะใช้บังคับแก่กันในลักษณะเช่าทรัพย์หรือเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จึงต้องอนุวัตน์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญาดังกล่าวเป็นสำคัญ อีกทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่า ค่าเช่าและเงินประกันการเช่า การประกันภัยและหน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่า ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 537 ถึงมาตรา 564 ทั้งสิ้น แม้จะมีข้อตกลงเป็นพิเศษที่กำหนดให้ผู้เช่าสามารถเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้โดยต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ให้เช่าทราบไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนสัญญาเช่าจะสิ้นสุดลงก็เป็นแต่เพียงข้อยกเว้นในทางให้สิทธิแก่ผู้เช่าบางประการในการเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ก็ได้เท่านั้น กรณีมิใช่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่งรายพิพาทจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในค่าเสียหายและราคาขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถยนต์
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และตามมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดจากการเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองรถยนต์อยู่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7799/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ศาลยืนโทษจำคุก
การที่จำเลยรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายสองคนร่วมกันชิงทรัพย์รถจักรยานยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อไป เพื่อมิให้ผู้ให้เช่าซื้อยึดรถจักรยานยนต์คืนจากจำเลย เนื่องจากจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อ นอกจากจะเป็นการกระทำที่มุ่งถึงประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของผู้ให้เช่าซื้อแล้วยังก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการที่ต้องสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดตามที่จำเลยแจ้งความอีก พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7768/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้เช่าซื้อเมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน
โจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อโดยตรง การที่จำเลยร่วมเป็นผู้ชักนำให้โจทก์เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลย และโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อผ่านจำเลยร่วมนั้น ไม่มีผลทำให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของโจทก์แต่ประการใด เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อต้องมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารชุดโอนทะเบียนรถยนต์แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7531/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้ออำพรางการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน จนกว่าชำระราคาครบถ้วน ผู้ซื้อไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขาย จึงต้องนำบทบัญญัติกฎหมายซื้อขายมาใช้บังคับ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ส่งมอบรถยนต์คันพิพาทโดยยังไม่ส่งมอบเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนแก่จำเลยที่ 2 ทั้งมีข้อตกลงตามสัญญาว่ากรรมสิทธิ์ของรถยนต์ยังไม่โอนให้แก่ผู้ซื้อจนกว่าจะชำระราคาครบถ้วน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ให้จนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระราคาครบถ้วน เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระราคายังไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 2 โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7531/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้ออำพรางการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าชำระราคาครบถ้วน
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขายต้องนำบทบัญญัติกฎหมายซื้อขายมาใช้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ส่งมอบรถยนต์คันพิพาทโดยยังไม่ส่งมอบเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนแก่จำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ให้จนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระราคาครบถ้วน เมื่อจำเลยที่ 2ชำระราคายังไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 2 โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7379/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบรถยนต์เช่าซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากยังไม่ได้ส่งมอบ ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจฟ้องบังคับคดีได้ และต้องคืนค่าซ่อม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และมาตรา 546 กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์พิพาทตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ เมื่อฟังได้ว่า ฉ. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อและรับมอบรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์นำจำเลยทั้งสองมาทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทและสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ หลังจากโจทก์ยื่นฟ้อง ฉ. กับพวกว่าผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาท ให้ร่วมกันส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ ขณะโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อนั้นสภาพรถยนต์พิพาทจอดซ่อมอยู่ในอู่ซ่อมรถโดยไม่มีกระบะท้ายต้องซ่อมเครื่องยนต์และใส่กระบะท้ายใหม่ จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ได้รับรถยนต์พิพาทไปใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อมาฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืนไปในสภาพที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินค่าซ่อมไปแล้ว เป็นการได้ประโยชน์ในค่าซ่อมรถยนต์พิพาทโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกคืนค่าซ่อมรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อมาฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืนไปในสภาพที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินค่าซ่อมไปแล้ว เป็นการได้ประโยชน์ในค่าซ่อมรถยนต์พิพาทโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกคืนค่าซ่อมรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406