คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดรูปที่ดิน: สิทธิครอบครองเปลี่ยนแปลงตามการจัดรูปใหม่ หากไม่คัดค้านตามขั้นตอนกฎหมาย จะหมดสิทธิเรียกร้อง
ตาม พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517 มาตรา33 และ 34 ผู้มีส่วนได้เสียต้องคัดค้านเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางอีก กรณีของโจทก์ปรากฏว่านางสมบูรณ์ภรรยาโจทก์ที่ 1เป็นผู้ไปคัดค้าน เมื่อหัวหน้าหน่วยรังวัดจัดรูปที่ดินแก้ไขจัดรูปที่ดินให้ใหม่ โจทก์ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดต่อไปอีก การคัดค้านดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการคัดค้านต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด หรือถ้าจะถือว่าเป็นการคัดค้านต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดแต่เมื่อมีการแก้ไขให้โจทก์ได้รับที่ดินเพิ่มขึ้น โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใด คงปล่อยให้มีการออกโฉนดที่ดินใหม่ในที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน โดยโจทก์ได้รับที่ดินเนื้อที่ 17 ไร่เศษ จำเลยที่ 2 ได้รับ 10 ไร่เศษหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้ว โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงได้คัดค้านขอให้แก้ไขโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านการจัดรูปที่ดินให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย กลับปล่อยให้มีการดำเนินการจนกระทั่งออกโฉนดที่ดิน และเนื่องจากการจัดรูปที่ดินมีผลทำให้สิทธิครอบครองของโจทก์ในที่ดินเดิมเปลี่ยนไปเพราะมาตรา 30 และ 38 ให้อำนาจคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจัดที่ดินใหม่โดยให้เจ้าของที่ดินเดิมได้รับที่ดินแปลงเดิมหรือที่ดินแปลงเดิมบางส่วน หรือได้รับที่ดินแปลงใหม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อทางราชการจัดที่ดินให้โจทก์ใหม่เนื้อที่ 17 ไร่3.8 ตารางวา การครอบครองของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปตามที่ทางการจัดรูปที่ดินให้ใหม่ ที่พิพาทเนื้อที่ 2 ไร่เศษอยู่ในโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามที่ทางราชการจัดให้ใหม่ ย่อมทำให้โจทก์หมดสิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง จำเลยต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จากเอกสารหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดหรือข้อตกลงเรื่องการคำนวณดอกเบี้ยของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ปรากฏว่าผู้จัดการจำเลยได้รู้เห็นและยินยอมด้วยให้นำวิธีการคำนวณดอกเบี้ยที่ผิดหลักเกณฑ์มาใช้โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าการคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ในเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยได้แต่งตั้งผู้คิดบัญชีและมีผู้ตรวจสอบบัญชีอีกคนหนึ่งเป็นเวลา 18 ปีแล้วจำเลยไม่เคยทักท้วงแต่อนุมัติตลอดมา จึงมิใช่การคำนวณผิดพลาดดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2511 และต่อมาจำเลยได้ระบุเรื่องการหักเงินสะสมและการเข้าร่วมโครงการเงินสะสมไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับพนักงานของจำเลยด้วย จำเลยได้คำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวิธีการในเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ จำเลยต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นและต่อมาได้ระบุเรื่องการหักเงินสะสมและการเข้าร่วมโครงการเงินสะสมไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับพนักงานของจำเลยแล้วเมื่อจำเลยได้คำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบตามวิธีการในเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว วิธีการคำนวณดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในคดีชุลมุนต่อสู้และการฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อ.มาตรา 288, 80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ตาม ป.อ.มาตรา 299 ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและการเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาในคดีอาญา
จำเลยอุทธรณ์ว่าตามหลักฐานที่ปรากฏ เหตุที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับถูกรถยนต์คันอื่นชนท้ายแล้วเสียการทรงตัวกระเด็นไปถูกโจทก์ร่วมที่ยืนอยู่บนทางเท้า ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นยกฟ้อง อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เพราะถ้าข้ออ้างของจำเลยฟังขึ้นผลของคำพิพากษาจะเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องโต้แย้งเหตุผลคำพิพากษาเดิม หากข้ออ้างฟังขึ้นผลคำพิพากษาต้องเปลี่ยนแปลง
จำเลยอุทธรณ์ว่าตามหลักฐานที่ปรากฏ เหตุที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับถูกรถยนต์คันอื่นชนท้ายแล้วเสียการทรงตัวกระเด็นไปถูกโจทก์ร่วมที่ยืนอยู่บนทางเท้าขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นยกฟ้อง อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เพราะถ้าข้ออ้างของจำเลยฟังขึ้นผลของคำพิพากษาจะเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการฟ้องคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแจ้งข้อหาเปลี่ยนแปลงจากการสอบสวน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ ดังนั้น แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงทางภารจำยอมที่ลดประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสิ่งที่กฎหมายห้าม
การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ย้ายทางภารจำยอมไปอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยให้ทางภารจำยอมเหลือความกว้างเพียง1 เมตรนั้นแม้จะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสอง แต่เป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ในอันที่จะใช้ทางภารจำยอมนั้นลดน้อยลง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 และ 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างทำของและการเปลี่ยนแปลงฐานข้อหาฟ้องคดี
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ได้ความว่า จำเลยรับจ้างทำไม้ให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา แต่จำเลยทำไม้ไม่ครบ ไม้บางส่วนสูญหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา มิได้ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิด คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญาจ้างที่ว่า ผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำไม้หวงห้ามที่ทำออกจากป่าสัมปทาน ไม้ต้นใดหรือท่อนใดที่ผู้รับจ้างได้ลงมือทำ ผู้รับจ้างมีหน้าที่ดูแลรักษามิให้เกิดความเสียหายจนกว่าผู้จ้างจะได้ขายให้ผู้รับจ้าง ไม้ที่ตีตราภาคหลวงแล้วผู้จ้างจะขายให้แก่ผู้รับจ้าง และผู้รับจ้างมีหน้าที่นำเงินมาชำระเพื่อนำไปวาง-มัดจำเพื่อตีตราภาคหลวง มิฉะนั้นผู้จ้างอาจจะนำไม้จำหน่ายแก่ผู้อื่นได้ โดยผู้จ้างจะชำระค่าจ้างทำไม้ซึ่งเป็นสินจ้างแก่ผู้รับจ้าง เช่นนี้เป็นสัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าไม้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 2 ปี แต่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 467 ฎีกาของจำเลยจึงแตกต่างจากที่จำเลยให้การไว้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 40