พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง แม้มีเหตุเพิกถอนซ้ำ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
หลังจากศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฎีกาของจำเลยเนื่องจากต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการพิจารณาและพิพากษาคดีที่ผิดระเบียบในชั้นฎีกาทั้งหมดมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยอ้างเหตุเพิกถอนเป็นประเด็นในคดีว่าเกิดจากความผิดพลาดของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่ากรณีไม่จำต้องรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ทั้งที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงไว้แล้ว ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบอีก โดยอ้างเหตุเพิกถอนเป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบครั้งแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำเงินฝากและสิทธิเรียกร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิเพิกถอนการอายัดเงินฝาก
เงินฝากตามบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้องมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด กรณีมิใช่จำนำเงินฝาก ส่วนสมุดคู่ฝากออมทรัพย์ที่จำเลยมอบไว้แก่ผู้ร้องก็เป็นเพียงการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของผู้กู้ทุกรายทั้งสิทธิดังกล่าวก็เป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างอันจะส่งมอบแก่กันได้ โดยเฉพาะไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสารตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 ดังนั้น เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยจำนำเงินฝากหรือจำนำสิทธิ ซึ่งมีตราสารไว้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจะอ้างบุริมสิทธิจำนำมาบังคับเหนือทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ไม่ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์มรดกโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อทายาทอื่น
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าทายาทหลายคนไม่ได้ให้ความยินยอม จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสุจริต
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการคุมความประพฤติและการเปลี่ยนแปลงโทษ กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วถือเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่ใส่ใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนด อันเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ จึงให้ยกเลิกการคุมความประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ เมื่อจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้ ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังเช่นคดีอาญาทั่ว ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการรอการลงโทษเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติ และสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปีและปรับ 20,400 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปี จำเลยที่ 3 ไม่ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติตามกำหนดศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ใส่ใจในการปฏิบัติการตามที่กำหนด อันเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ จึงให้ยกเลิกการคุมความประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ จำเลยที่ 3 อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 17 วรรคสอง ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังเช่นคดีอาญาทั่ว ๆ ไป ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 3 มาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสที่ดินพิพาท การซื้อขายโดยไม่สุจริตและผลของการเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 1 และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 1476(1) และเมื่อจำเลยที่ 2เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ต้องมีการส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ก่อน
พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4) บัญญัติว่า "ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น" ดังนั้น ที่ดินพิพาทเมื่อยังมิได้มีการ ส่งมอบพื้นที่ให้แก่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้วก็ตาม พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ในทันที พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาขัดขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอรับรองฎีกาของจำเลยว่ากรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายบังคับคดีและการเพิกถอนการบังคับคดี: การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลยและการประเมินราคาขายทอดตลาด
จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งหากนับถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลาห่างกันเกือบ 1 ปี แต่จำเลยไม่แจ้งเรื่องการย้ายภูมิลำเนาให้ศาลหรือโจทก์ทราบแต่อย่างใด พฤติการณ์บ่งชี้ให้เข้าใจได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะปกปิดภูมิลำเนาของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี อย่างไรก็ตาม น. ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยเบิกความในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า น. มีภูมิลำเนาตามฟ้องซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของจำเลย ซึ่งแสดงว่า น. ยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานแห่งเดิมของจำเลยข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่งและมีภูมิลำเนาตามฟ้องด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 การที่พนักงานเดินหมาย นำคำบังคับไปปิดไว้ที่อาคารซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิม จึงเป็นการ ส่งหมายโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาดที่อ้างอิงราคาต่ำกว่าราคาตลาดและความไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย โดยอ้างว่าราคาที่ได้ต่ำเกินสมควรโดยเกิดจากความไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในข้อนี้ จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในข้อนี้ย่อมเป็นที่สุดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาในข้อนี้มาด้วย เป็นการไม่ชอบ
เงื่อนไขท้ายประกาศขายทอดตลาดที่กำหนดให้ผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์วางประกันความเสียหายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายกรณีผู้ซื้อทรัพย์บิดพลิ้วหรือแกล้งเข้าประมูลสู้ราคาโดยไม่มีเจตนาจะซื้อทรัพย์จริง น. เพียงเป็นผู้เข้าประมูลสู้ราคารายหนึ่งแต่ผู้ให้ราคาสูงสุดคือ ม. และการที่ น. เข้าสู้ราคาดังกล่าวก็เป็นเหตุให้ ม. ต้องเสนอราคาสูงขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เมื่อจำเลยไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ให้ น. วางเงินประกันก่อนเข้าประมูลทรัพย์ตามเงื่อนไขท้ายประกาศ จำเลยจะอาศัยเหตุดังกล่าวมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ได้
เงื่อนไขท้ายประกาศขายทอดตลาดที่กำหนดให้ผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์วางประกันความเสียหายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายกรณีผู้ซื้อทรัพย์บิดพลิ้วหรือแกล้งเข้าประมูลสู้ราคาโดยไม่มีเจตนาจะซื้อทรัพย์จริง น. เพียงเป็นผู้เข้าประมูลสู้ราคารายหนึ่งแต่ผู้ให้ราคาสูงสุดคือ ม. และการที่ น. เข้าสู้ราคาดังกล่าวก็เป็นเหตุให้ ม. ต้องเสนอราคาสูงขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เมื่อจำเลยไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ให้ น. วางเงินประกันก่อนเข้าประมูลทรัพย์ตามเงื่อนไขท้ายประกาศ จำเลยจะอาศัยเหตุดังกล่าวมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ได้