คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนการโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย โดยมีเจตนาให้เจ้าหนี้รายใหม่ได้เปรียบ
ท. รับโอนทรัพย์พิพาทจากจำเลย ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนขอให้ล้มละลาย แม้ ท. มิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนการโอนแต่การที่ ท. ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่พิพาทกับจำเลย ย่อมถือได้ว่า ท. เป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนทรัพย์พิพาทแก่ตนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนทรัพย์พิพาท จำเลยมีทรัพย์สินอย่างอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้คือผู้ร้องทั้งสองได้ ก็แสดงว่าจำเลยโอนทรัพย์พิพาทโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คือผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการโอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 115 การที่ผู้ร้องทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง และผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้เพิกถอนการโอนนั้น เมื่อศาลเห็นควรให้เพิกถอนการโอน ย่อมพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการโอนตามคำขอของผู้ร้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย โดยมีเจตนาให้เจ้าหนี้รายใหม่ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น
ท.รับโอนทรัพย์พิพาทจากจำเลย ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนขอให้ล้มละลาย แม้ ท. มิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนการโอนแต่การที่ ท. ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่พิพาทกับจำเลย ย่อมถือได้ว่า ท. เป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนทรัพย์พิพาทแก่ตนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนทรัพย์พิพาท จำเลยมีทรัพย์สินอย่างอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้คือผู้ร้องทั้งสองได้ ก็แสดงว่าจำเลยโอนทรัพย์พิพาทโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คือผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการโอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 115
การที่ผู้ร้องทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง และผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้เพิกถอนการโอนนั้น เมื่อศาลเห็นควรให้เพิกถอนการโอน ย่อมพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการโอนตามคำขอของผู้ร้องต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย และสิทธิของผู้ซื้อสุจริต
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ แต่อย่างใดไม่ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าวหากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อยักย้ายทรัพย์สินก่อนล้มละลาย แม้มีสัญญาซื้อขายก็ฟังไม่ได้ว่าสุจริต
ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้านที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่2 ได้วางมัดจำไว้และผู้คัดค้านที่ 1 ผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงฟ้องต่อศาลชั้นต้น และในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านที่ 2 ดังนี้ แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ก่อนก็มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระทำโดยสุจริต เพราะพฤติการณ์ที่มีการดำเนินคดีโดยรีบร้อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยเร่งด่วน ย่อมแสดงถึงความไม่สุจริตเจตนาช่วยเหลือจำเลยในการยักย้ายทรัพย์สิน พยานหลักฐานของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการโอนที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114, 116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อยักย้ายทรัพย์ก่อนล้มละลาย แม้มีการทำสัญญาซื้อขายและประนีประนอมยอมความ
ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้านที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้วางมัดจำไว้และผู้คัดค้านที่ 1 ผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงฟ้องต่อศาลชั้นต้น และในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านที่ 2 ดังนี้แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ก่อน ก็มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระทำโดยสุจริต เพราะพฤติการณ์ที่มีการดำเนินคดีโดยรีบร้อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยเร่งด่วน ย่อมแสดงถึงความไม่สุจริต เจตนาช่วยเหลือจำเลยในการยักย้ายทรัพย์สิน พยานหลักฐานของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการโอนที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114,116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย กรณีมีเจตนาช่วยเหลือลูกหนี้ยักย้ายทรัพย์สิน
ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้านที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่2 ได้วางมัดจำไว้และผู้คัดค้านที่ 1 ผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงฟ้องต่อศาลชั้นต้น และในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านที่ 2ดังนี้ แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ก่อนก็มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระทำโดยสุจริต เพราะพฤติการณ์ที่มีการดำเนินคดีโดยรีบร้อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยเร่งด่วน ย่อมแสดงถึงความไม่สุจริตเจตนาช่วยเหลือจำเลยในการยักย้ายทรัพย์สิน พยานหลักฐานของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการโอนที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114,116.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ใช้ อายุความ 10 ปี หากมิใช่การฉ้อฉล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 114 มิใช่กรณีเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ระยะเวลา 3 เดือน, เจ้าหนี้, คู่สัญญา, มุ่งหมายให้ได้เปรียบ
คำว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึง ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ไม่
การซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติชำระต่อกัน ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านตกลงซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทกับจำเลย ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขายและจำเลยก็มีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื่อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 แล้ว
ผู้คัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ถือเป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยตรง มิใช่เป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้โอนขายทรัพย์สินพิพาทให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ระยะเวลา 3 เดือน, เจ้าหนี้, และเจตนาให้ได้เปรียบ
คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว ดังนี้ เป็นคำร้องที่บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอเข้าใจได้แล้ว เพราะที่ผู้ร้องบรรยายว่า "ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย" มีความหมายว่าวันที่มีการขอให้ล้มละลายคือวันที่โจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายนั่นเอง คำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม คำว่า "ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย" ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึง ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้หรือจำเลยล้มละลายตาม มาตรา 61 ไม่ เมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินเมื่อวันที่5 มีนาคม 2523 นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จึงอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ซึ่งอาจมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้ การซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ฉะนั้นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามความหมายของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้โดยตรง มิใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนให้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การพิจารณาช่วงเวลาและเจตนาเพื่อประโยชน์เจ้าหนี้
คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว ดังนี้ เป็นคำร้องที่บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอเข้าใจได้แล้ว เพราะที่ผู้ร้องบรรยายว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' มีความหมายว่าวันที่มีการขอให้ล้มละลายคือวันที่โจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายนั่นเองคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม.
คำว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึงก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้หรือจำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ไม่ เมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2523 นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จึงอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ซึ่งอาจมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้
การซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ฉะนั้นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115
ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้โดยตรงมิใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้าน ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนให้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 15