พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเลิกสัญญาโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในราคา 3,500,000 บาทโดยโจทก์วางเงินมัดจำแก่จำเลย 300,000 บาท เมื่อถึงกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์จำเลยต่างไปยังสำนักงานที่ดินแต่ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35(พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปิดประกาศ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาโดยปริยายจากพฤติการณ์ของคู่สัญญาและการขาดการติดต่อ
ตามหนังสือข้อตกลงดังกล่าวข้อ 17 ระบุถึงการเลิกข้อตกลงว่า ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดภายในกำหนด 90 วัน ถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลง โดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป หลังจากจำเลยไม่ยอมโอนบ้านตัวอย่างพร้อมที่ดินให้โจทก์แล้ว ต่อมาโครงการเคหะสงเคราะห์ดังกล่าวประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ ผู้อื่นเข้าดำเนินโครงการ ส่วนจำเลยได้นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อหมู่บ้านเดชาดำเนินการต่อมา และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2530 ถึงเดือนมกราคม 2535 โจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเลย รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยโดยปริยาย เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และการไม่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้สัญญาสิ้นผล
หนังสือข้อตกลงระบุถึงการเลิกสัญญาว่า "ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้ข้อหนึ่งข้อใด ภายในกำหนด 90 วันถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป" ดังนี้ แม้ ก. และ ห. พยานโจทก์จะเบิกความเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนังสือข้อตกลงยังไม่มีการยกเลิกก็ตาม แต่พยานเหล่านี้เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า เมื่อโครงการประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ผู้อื่นเข้าดำเนินการ ส่วนจำเลยที่ 1 นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อ "หมู่บ้านเดชา" ดำเนินการต่อมา โจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเป็นเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยายโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้
เมื่อหนังสือข้อตกลงดังกล่าวได้ยกเลิกไปแล้ว ไม่มีผลบังคับ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ว่าหนังสือข้อตกลงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ มิใช่สัญญาต่างตอบแทนธรรมดา เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อหนังสือข้อตกลงดังกล่าวได้ยกเลิกไปแล้ว ไม่มีผลบังคับ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ว่าหนังสือข้อตกลงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ มิใช่สัญญาต่างตอบแทนธรรมดา เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายไม่สมบูรณ์เมื่อยังไม่ได้ติดตั้งสินค้า ผู้ซื้อมีสิทธิระงับการจ่ายเช็คและเลิกสัญญาได้
ส. สั่งซื้อเครื่องเสียงจากโจทก์โดยชำระราคาให้บางส่วน ที่เหลือได้ออกเช็คให้โจทก์ไว้ ซึ่งการส่งมอบโอนกรรมสิทธิ์เครื่องเสียงซึ่งเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายจะสำเร็จครบถ้วนได้ก็ด้วยการที่โจทก์จะต้องติดตั้งให้เรียบร้อยก่อน การที่โจทก์นำเครื่องเสียงส่วนหนึ่งไปติดตั้งให้แล้วคิดเป็นเงิน 100,000 บาทเศษ ส่วนที่เหลือยังไม่ได้ติดตั้ง ส.จึงสั่งจ่ายเช็คสองฉบับ ฉบับแรกจำนวนเงิน 200,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้รับชำระเงินไปแล้ว อีกฉบับคือเช็คพิพาท ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2537 ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้งว่าในการชำระราคานั้น ส. ชำระให้เฉพาะส่วนที่ส่งมอบด้วยการติดตั้งแล้วส่วนเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าระยะเวลานานเพราะถือว่ายังไม่ได้ติดตั้งจึงไม่เป็นการส่งมอบที่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์ติดตั้งให้ในคราวแรกนั้นมีความชำรุดบกพร่อง ส. จึงมีสิทธิสั่งธนาคารให้ระงับการชำระเงินตามเช็คพิพาทได้เมื่อการซื้อขายยังไม่เสร็จสมบูรณ์แม้ต่อมาส. จะถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. ได้ตกลงเลิกสัญญากับโจทก์โดยโจทก์ยอมรับสินค้าคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระราคาสินค้า จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับเงินคืนสู่สถานะเดิม แม้จะมีการอ้างเหตุผิดสัญญา
แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้มาที่สำนักงานที่ดินในตอนเช้าของวันกำหนดนัดโอน แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตามจำเลยทั้งสามก็มา จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด และการที่ได้เลื่อนจะนัดโอนที่ดินใน ตอนบ่ายและจำเลยทั้งสามไม่มาตามนัดก็ได้ความว่า ต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่สำนักงานที่ดิน หาไม่พบ แม้จำเลยจะมาตอนบ่าย เจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสาม จึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์
เมื่อโจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินมัดจำ 50,000 บาท และเงิน 240,000 บาท อันเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับไว้แล้วเป็นค่าที่ดินคืน แม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายอื่นรวมมาด้วย โดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงกรณีเลิกสัญญากันและโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามคืนเงินจำนวน 290,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อโจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินมัดจำ 50,000 บาท และเงิน 240,000 บาท อันเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับไว้แล้วเป็นค่าที่ดินคืน แม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายอื่นรวมมาด้วย โดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงกรณีเลิกสัญญากันและโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามคืนเงินจำนวน 290,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสื้อซื้อขายที่ดิน: ศาลพิพากษาคืนเงินมัดจำและราคาที่ดิน พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินพิพาทที่สำนักงานที่ดินตามนัดในตอนเช้า แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตาม จำเลยทั้งสามก็ไปสำนักงานที่ดินพร้อม ๆ กัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด เหตุที่โอนที่ดินไม่ได้เนื่องจากหาต้นฉบับน.ส.3ที่สำนักงานที่ดินไม่พบ และแจ้งเหตุขัดข้องให้คู่กรณีทราบแล้ว แม้จำเลยจะมาตอนบ่ายเจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่พิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสามจึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ ราคาที่ดินที่โจทก์จ่ายไปแล้วบางส่วนและค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่ามีการเลิกสัญญากันแล้ว และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้คืนเงินในส่วนที่มีสิทธิดังกล่าวได้ เพื่อให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นพิพากษาเกินคำขอ และจำเลยทั้งสามต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินแต่ละจำนวนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญาและการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระ แม้มีการปฏิเสธเช็ค
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 7 มีความว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยไม่ต้องบอกกล่าว" ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าซื้อไว้ล่วงหน้า 8 ฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2538 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทุกฉบับโจทก์มิได้มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลย แสดงว่าโจทก์ยังไม่มีเจตนาเลิกสัญญากับจำเลยและโดยสภาพข้อสัญญาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ผู้ให้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ยึดรถคืนในวันที่16 กันยายน 2538 อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่ามีการเลิกสัญญา เช็คจำนวน 7 ฉบับที่สั่งจ่ายถึงวันที่ยึดรถ จึงเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจำเลยทั้งสองจึงต้องชำระหนี้ตามเช็ค7 ฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการละเลยหน้าที่และการเลิกสัญญาจ้าง
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนา หรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดก็ดีผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญารับฝากขายและการหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากการไม่คืนพื้นที่
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงินไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้าจำเลยเช่ามาจากบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อจำเลยได้ ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลา ที่ยังไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน หักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญารับฝากขาย การหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย และสิทธิในการได้รับเงินประกันคืน
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงิน ไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้า จำเลยเช่ามาจากบริษัทซ.ต่อมาบริษัทซ.บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การชำระหนี้ ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน มาใช้บังคับโจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมแต่โจทก์เมื่อยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยก ขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อ จำเลยได้ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับ จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์ แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการ ไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลาที่ยังไม่ส่งมอบ พื้นที่พิพาทคืนหักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย ดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่ จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาทนั้นเป็นฎีกาที่เกินกว่า คำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะฟ้องแย้ง เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง