พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด
อ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปรประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม. ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ(กล่อง) สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนกันหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้สินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้ นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และกรณีไม่ต้องด้วยวรรค 2 เพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายให้การล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน โจทก์ย่อมไม่สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ(กล่อง) สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนกันหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้สินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้ นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และกรณีไม่ต้องด้วยวรรค 2 เพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายให้การล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน โจทก์ย่อมไม่สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: แม้เลียนแบบแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนภายใน 5 ปี ไม่มีสิทธิขอห้ามหรือเรียกคืนสินค้า
อ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปลประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์ เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม.ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและสินค้า การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า
โจทก์ผลิตขนมชนิดต่างๆ ออกจำหน่าย ใช้คำประดิษฐ์ ไกวไกว เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่างๆหลายประเทศแล้ว จำเลยเพิ่งเริ่มผลิตขนมอย่างเดียวกับขนมของโจทก์ออกจำหน่ายทีหลัง และใช้เครื่องหมายการค้าว่า ไกวไกว เช่นเดียวกับโจทก์ ซองที่ใช้บรรจุขนมก็เลียนแบบซองบรรจุขนมของโจทก์ ทั้งคำประดิษฐ์ ไกวไกว ก็ไม่ใช่คำสามัญเช่นนี้ จำเลยเลียนแบบสินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางการค้าโดยไม่สุจริต เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " HALLS " และได้จดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวในจำพวกที่ 3 สำหรับสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วย ซึ่งกองเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2506 ครั้นวันที่ 23 มีนาคม 2510 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า " HALL" ในสินค้าจำพวก 48 เครื่องสำอาง ดังนี้ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่ผู้ซื้อสนใจหรือสังเกตว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าอยู่ตรงที่มีอักษรโรมันและสำเนียงที่เรียกขานทั้งของโจทก์และของจำเลยก็อ่านว่า "ฮอลล์" อย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายโดยโจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และหน่วยรถฉายภาพยนตร์แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวจึงส่อให้เห็นถึงการฉวยโอกาสเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์จำหน่ายสินค้าของจำเลย อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยเป็นการส่อเจตนาที่จะลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตทางการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HALLS" และได้จดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวในจำพวกที่ 3 สำหรับสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วย ซึ่งกองเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2506 ครั้นวันที่ 23 มีนาคม 2510 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "HALL" ในสินค้าจำพวก 48 เครื่องสำอาง ดังนี้ ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่ผู้ซื้อสนใจหรือสังเกตว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าอยู่ตรงที่มีอักษรโรมัน และสำเนียงที่เรียกขานทั้งของโจทก์และของจำเลยก็อ่านว่า "ฮอลล์"อย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลาย โดยโจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และหน่วยรถฉายภาพยนตร์แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวจึงส่อให้เห็นถึงการฉวยโอกาสเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อแสวงหาประโยชน์จำหน่ายสินค้าของจำเลย อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยเป็นการส่อเจตนาที่จะลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' 'GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดาการใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกันคำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL'เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYME TOOTH PASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษรสีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYME TOOTH PASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษรสีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างของรูปและคำรวมถึงสาระสำคัญของเครื่องหมาย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ตัวหนังสือว่า LEVI'Sมีช่องผ่ากลางตัวหนังสือนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีตัวหนังสืออีก 4 คำบรรจุอยู่ส่วนเครื่องหมายที่จำเลยใช้มีตัวหนังสือว่า LEVIE ไม่มีช่องผ่ากลางตัวหนังสือดังกล่าวเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู มีหยักด้านล่างเป็นเส้นโค้งสองอันติดกัน กับมีหยักเป็นเหลี่ยมที่มุมบนทั้งสองมุมแต่เครื่องหมายที่จำเลยใช้ทั้งแบบ ก. และ ข. เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนแบบ ค. มีรูปสี่เหลี่ยมมุมบนทั้งสองข้างไม่หยัก ด้านล่างยังอยู่ภายในกรอบของรูปสี่เหลี่ยมอีกอันหนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมยังมีตัวหนังสืออื่นๆ ตลอดจนลวดลายผิดกับเครื่องหมายที่จำเลยใช้ทั้งสิ้น เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายของโจทก์ร่วม
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนไว้เป็นรูปและคำแม้เฉพาะคำในเครื่องหมายที่จำเลยใช้ก็มีตัวอักษรและลักษณะแตกต่างกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ดังนี้ จะถือเอาคำ (LEVI'S) เป็นสารสำคัญแต่ประการเดียวหาได้ไม่
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนไว้เป็นรูปและคำแม้เฉพาะคำในเครื่องหมายที่จำเลยใช้ก็มีตัวอักษรและลักษณะแตกต่างกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ดังนี้ จะถือเอาคำ (LEVI'S) เป็นสารสำคัญแต่ประการเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและการสร้างความเข้าใจผิด: ศาลฎีกาตัดสินว่าการใช้ชื่อและบรรจุภัณฑ์ยาที่คล้ายคลึงกันไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ทำให้ผู้ใช้หลงเชื่อว่าเป็นสินค้าเดียวกัน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "PENSTREP" และใช้คำว่า "PENSTREP 4 1/2" ลงบนหีบห่อยาของโจทก์ จำเลยใช้คำว่า P-STREPTO ลงบนหีบห่อยาของจำเลย การอ่านออกเสียงชื่อยาทั้งสองขนานห่างไกลกันมาก รูปลักษณะการวางตัวอักษรบนกล่องยาก็ไม่เหมือนกัน แถบสีขาวบนหีบห่อยาไม่ถือว่าเป็นรอยประดิษฐ์ของโจทก์ เพราะไม่เป็นสัญลักษณ์พิเศษ นอกจากนั้น กล่องยาของจำเลยยังระบุชื่อห้างหุ้นส่วนของจำเลยไว้ชัดเจนยาของโจทก์จำเลยเป็นยาอันตราย บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะใช้ยานี้ ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ไม่มีทางที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและบรรจุภัณฑ์ยา ต้องพิจารณาความแตกต่างโดยรวมและกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 'PENSTREP' และใช้คำว่า 'PENSTREP 41/2' ลงบนหีบห่อยาของโจทก์ จำเลยใช้คำว่า P-STREPTO ลงบนหีบห่อยาของจำเลย การอ่านออกเสียงชื่อยาทั้งสองขนานห่างไกลกันมาก รูปลักษณะการวางตัวอักษรบนกล่องยาก็ไม่เหมือนกัน แถบสีขาวบนหีบห่อยา ไม่ถือว่าเป็นรอยประดิษฐ์ของโจทก์ เพราะไม่เป็นสัญญลักษณ์พิเศษ นอกจากนั้น กล่องยาของจำเลยยังระบุชื่อห้างหุ้นส่วนของจำเลยไว้ชัดเจนยาของโจทก์จำเลยเป็นยาอันตราย บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะใช้ยานี้ ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ไม่มีทางที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนลวงสาธารณชน แม้ต่างกันเพียงบางตัวอักษรก็ถือว่าละเมิดได้
โจทก์จดทะเบียนการค้าคำว่า "DEGUADIN" ซึ่งใช้กับสินค้ายาอมแก้เจ็บคอ แก้หวัด และอาการที่คล้ายคลึงกันมาประมาณ10 ปีแล้ว จำเลยมาขอจดทะเบียน คำว่า "DEORADIN" ใช้กับสินค้ายาอมแก้เจ็บคอและหวัดเช่นเดียวกัน เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยเป็นตัวอักษรโรมันทั้งหมด 8 ตัวเท่ากัน พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ขนาดไล่เลี่ยกัน ตัวอักษรเหมือนกันถึง 6 ตัว คือ ตัวหน้า 2 ตัว ตัวท้าย 4 ตัว คงผิดกันแต่ตัวกลางสองตัว คือ ของโจทก์ GU ของจำเลยเป็น OR คนที่ไม่สันทัดจัดเจนในภาษาต่างประเทศมองดูแล้วอาจหลงผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ง่ายสำเนียงที่เรียกขานก็คล้ายคลึงกัน เพราะขึ้นต้นด้วยคำว่า "D" ลงท้ายสำเนียง "DIN" เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้มีลักษณะคล้ายกันจนถึงกับนับได้ว่าเป็นลวงสาธารณชนได้