คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: กำหนดเวลาอุทธรณ์ค่าทดแทนและการมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนการขนย้าย
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือถึงโจทก์เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา แต่ส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยจึงออกประกาศ เพื่อแจ้งความเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา โดยวิธีปิดประกาศแจ้งความไว้ ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบ ตามมาตรา 13 วรรคสี่ และวรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แต่เป็นประกาศแจ้งความเกี่ยวกับหนังสือเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนอันเป็นหนังสือที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 ส่วนกรณีของโจทก์คดีนี้ หนังสือที่ถือได้ว่าเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ หนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนที่ฝ่ายจำเลยได้ปิดประกาศหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฉบับแรกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 และฉบับที่สองวันที่ 6 ธันวาคม 2536 จึงเป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
แม้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (5) โจทก์มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนการขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ โจทก์จะต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอเงินค่าทดแทนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9820/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเช่ากรณีเวนคืน: ความเสียหายโดยตรงจากการขาดประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินที่เช่า
เงินค่าทดแทนในการเช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนอันเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องออกจาก ทรัพย์สินก่อนสัญญาเช่าระงับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18 (3) เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่ผู้เช่าต้องขาดประโยชน์แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาก่อนสัญญาเช่าระงับ กรณีเช่นนี้ความเสียหายจริงต้องเป็นความเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการขาดประโยชน์ แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาก่อนสัญญาเช่าระงับเท่านั้น ค่าเช่าที่โจทก์อ้างว่าจะต้องไปเช่าที่อยู่ใหม่ที่ต้องเสียค่าเช่าสูงกว่าค่าเช่าเดิมเป็นเวลา 21 ปี มิใช่ความเสียหายโดยตรงจากการเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่า ไม่เข้ากรณีที่จะเรียกเงินค่าทดแทนการเช่าตามมาตรา 18 (3) ได้ แต่การที่โจทก์ขาดประโยชน์เพราะไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่าประมาณ 21 ปีนั้น เป็นความเสียหายจริงตามมาตรา 18 (3) โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในการเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9820/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืน: ความเสียหายโดยตรงจากการขาดประโยชน์ใช้สิทธิเช่า ไม่รวมค่าเช่าที่อยู่อาศัยใหม่
เงินค่าทดแทนในการเช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนอันเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องออกจากทรัพย์สินก่อนสัญญาเช่าระงับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 18(3) เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่ผู้เช่าต้องขาดประโยชน์แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาก่อนสัญญาเช่าระงับ กรณีเช่นนี้ความเสียหายจริงต้องเป็นความเสียหายโดยตรงเท่านั้น ค่าเช่าที่โจทก์อ้างว่าจะต้องไปเช่าที่อยู่ใหม่ที่ต้องเสียค่าเช่าสูงกว่าค่าเช่าเดิมเป็นเวลา 21 ปีมิใช่ความเสียหายโดยตรงจากการเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่า ไม่เข้ากรณีที่จะเรียกเงินค่าทดแทนการเช่าตามมาตรา 18(3)ได้ แต่การที่ที่โจทก์ขาดประโยชน์เพราะไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่าประมาณ 21 ปีนั้น เป็นความเสียหายจริงตามมาตรา 18(3) โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในการเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดีจากการยื่นฟ้องคดีเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายเวนคืน
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องเรียกคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทน และไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดี
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดีทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นต้น จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนและไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7170/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรง และศาลมีอำนาจกำหนดราคาที่ดินส่วนที่เหลือลดลงได้แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกา
ค่าเสียหายที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะมีสิทธิได้รับเพราะเหตุที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น การที่โจทก์ที่ 1 และ ส. จะต้องไปเช่าบ้านอยู่ในระหว่างที่รอการก่อสร้างบ้านใหม่ มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามกำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูง ให้เอาราคาสูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ หากที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ส. ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ลดลงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลพิจารณามูลค่าที่ดินส่วนที่เหลือเพิ่มได้ หากการเวนคืนทำให้ราคาสูงขึ้น และโจทก์ต้องอุทธรณ์ความเสียหายให้ชัดเจน
การเวนคืนที่ดินของโจทก์ส่งผลให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นมาก โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยมิได้นำเอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำเอามูลค่าของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือที่มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนมาคำนึงประกอบว่าสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์หรือไม่ ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 22,000 บาท โดยมิได้เอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้ว หากกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์อีกย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคม
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อนต่อจากนั้นจึงถึงขั้นตอนของการฟ้องคดีต่อศาล ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีฯ นั้นไม่ได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการจำต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเป็นเงินจำนวนเท่าใดและขอให้รัฐมนตรีฯ เพิ่มเงินค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้จำนวนเท่าใดจึงจะเป็นที่พอใจของโจทก์ นอกจากนี้ในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ก็มีข้อความว่า ขอให้พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ต้องเวนคืนเพียงอย่างเดียว จากตารางวาละ 21,000 บาท เป็นตารางวาละไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีฯโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแยกประเภทเป็นไปตามกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินนั้นต้องปฏิบัติตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (1) และกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (2) แยกประเภทกัน ดังนั้น การคิดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนแยกจากกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7142/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนเมื่อ พ.ร.ฎ.เวนคืนสิ้นผลบังคับ และสิทธิการได้รับดอกเบี้ย
ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่? พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ได้สิ้นผลบังคับไปแล้ว ซึ่งเท่ากับว่ามีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวโดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงเข้ากรณีตามมาตรา 23 ที่ว่าในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม คือต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคากับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 กันยายน 2535 แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายใน 7 วัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2535 และได้รับเงินไปในวันเดียวกันนั้นเอง จึงถือได้ว่าวันที่ 28 กันยายน 2535 เป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคท้าย เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามที่ศาลวินิจฉัยจึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่จะได้รับเพิ่มด้วย ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2535 เป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนเวนคืน: การแยกสิทธิระหว่างผู้เช่า, เจ้าของที่ดิน และผู้เช่าช่วง
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18 (1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง
of 56