พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: แม้ชื่อผู้ครอบครองในบัญชีไม่ตรง ก็ไม่กระทบสิทธิเวนคืน หากที่ดินอยู่ในแนวเขตที่กำหนด
ขณะจำเลยสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่กิ่งอำเภอบ้านฉางอำเภอเมืองระยอง และอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ. 2525 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในแนวเขตที่จะถูกเวนคืนด้วยมีชื่อบ. เป็นเจ้าของ เมื่อสำรวจเสร็จได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุดอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับ โดยระบุชื่อบ. เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาทท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งที่โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก บ. ก่อนแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงมีเจตนารมณ์ มุ่งบังคับเอาแก่ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นซึ่งอยู่ในแนวเขตที่จะต้องเวนคืนโดยเฉพาะ หาได้ถือเอาตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นสาระสำคัญไม่เหตุที่ให้ระบุชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายไว้ ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นแม้จะไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาทท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าว ก็หามีผลทำให้ที่ดินพิพาทไม่อยู่ภายใต้บังคับที่จะถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5769/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคา การคิดดอกเบี้ย และขอบเขตการชดเชย
เมื่อมีข้อโต้เถียงกันระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ที่ถูกเวนคืนและจำเลยซึ่งมีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนที่ดินว่า การกำหนดค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ เป็นมูลกรณีเนื่องมาจากการที่ที่ดินถูกเวนคืน มูลแห่งคดีจึงเกิดขึ้น ในเขตศาลที่ที่ดินตั้งอยู่ เมื่อโจทก์ขออนุญาตฟ้องและศาลซึ่งที่ดินตั้งอยู่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(2) การกำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษนั้น มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสุดท้าย บัญญัติว่า การเวนคืน อสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ ให้นำบทบัญญัติของ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง ในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงนั้นมาใช้โดยอนุโลม และ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 บัญญัติว่า เงินทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้ กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินใน บริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกา เช่นว่านั้น ฯลฯ ดังนี้ เมื่อราคา ที่ดินที่ซื้อขายกันในท้องตลาด หรือใกล้เคียงกันกับที่ดินที่ถูกเวนคืนซื้อขาย กันในราคาตารางวาละ 35,000 บาท ราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ขอมาตารางวาละ 15,000 บาท จึงชอบด้วยกฎหมายและความเป็นธรรมแล้ว กรณีที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน โจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเวนคืนเพิ่ม เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าเวนคืนเพิ่มขึ้น โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในวงเงินที่ได้รับเพิ่มนับแต่วันที่ซึ่งเป็น วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนใช้บังคับ อนุโลม ตามข้อ 24 และข้อ 26 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน 2515.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่ดินตามราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และดอกเบี้ย
แม้จะมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ลงวันที่ 18 ธันวาคม2514 กำหนดแนวทางหลวงแผ่นดินผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสองแล้วแต่เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาแทนอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติซึ่งเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 พระราชกฤษฎีกาที่ออกใช้บังคับในครั้งหลังนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ไปโดยปริยาย ดังนั้น เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76(2) ซึ่งบัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองจึงต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าวและถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในบริเวณที่ถูกเวนคืน ศาลก็มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดราคาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันดังกล่าวได้โดยพิจารณาจากราคาธรรมดาในท้องตลาดในการซื้อขายที่ดินในเวลาและในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน หาจำต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่เหลือจากการเวนคืนมีจำนวนมากเมื่อมีถนนสายรัชดาภิเษกแล้วราคาจะสูงขึ้นไม่น้อยกว่าเท่าตัว จึงต้องเอาราคาที่สูงขึ้นหักค่าทดแทนตามบทบัญญัติในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เมื่อหักแล้วไม่ควรจะมีเหลือจ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่โจทก์นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ให้เห็นว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนจะสูงกว่าราคาก่อนการสร้างถนนสายรัชดาภิเษกเท่าใด จึงมิใช่ประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดไว้ว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้น ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองกำหนดให้หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนจำนวนที่โจทก์ทั้งสองสมควรจะได้รับในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524ใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติม แม้ไม่อยู่ในเขตเวนคืนตาม พ.ร.บ.เฉพาะ แต่ถูกเวนคืนตามกฎหมายอื่น
ที่ดินโจทก์ซึ่งตัวแทนจำเลยทำการสร้างถนนผ่านอยู่ในแนวเขตที่จะถูกเวนคืนโดยอยู่ในท้องที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร แม้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกในท้องที่แขวงวัดท่าพระ ฯ จะไม่ได้กำหนดรวมเอาท้องที่ดังกล่าวไว้ด้วยก็ตาม แต่ก็มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ระบุท้องที่เขตยานนาวาไว้ด้วยแล้ว หาใช่ว่าที่ดินของโจทก์จะไม่ได้ถูกเวนคืนตามกฎหมายฉบับอื่นด้วยไม่ เมื่อโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมตามส่วนที่ควรจะได้รับ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้เพิ่มจากจำเลยได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินไม่ใช่ราคาตลาด การกำหนดค่าทดแทนต้องเป็นราคาซื้อขายจริงในท้องตลาด
จำเลยทั้งสองได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2524 ของกรมที่ดินมาบังคับซึ่งราคาดังกล่าวมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ในวันที่พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ฯพ.ศ. 2524 ใช้บังคับ เมื่อราคาที่จำเลยทั้งสองกำหนดค่าทดแทนนั้นต่ำกว่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเสนออนุญาโตตุลาการไม่บังคับ, ราคาประเมินทางราชการใช้ไม่ได้, ราคาซื้อขายจริงใช้ได้
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 24 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องเสนอตั้งเสมอไป และในวรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ ส่วนมาตรา 84 วรรคสอง ก็มีความหมายเพียงว่า หากผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการภายในกำหนด 6 เดือน ทั้งไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วย จึงให้ถือว่าราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นเงินค่าทดแทน ไม่ใช่ห้ามฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หน้าที่แจ้งการเวนคืนของเจ้าหน้าที่ และความรับผิดของผู้ขายที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง
ประกาศของคณะปฏิวัติและพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพียงแต่กำหนดว่าที่ดินจะถูกเวนคืนท้องที่ใด อำเภออะไร กว้างที่สุดและแคบที่สุดเท่าไร เท่านั้น แม้จะมีแผนที่แนบ ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินแปลงใดถูกเวนคืนบ้างผู้ขายได้ซื้อที่ดินมาจากผู้อื่นและขออนุญาตทำการปลูกสร้างอาคาร แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื่อโดยผู้ขายไม่รู้ว่าที่ดินถูกเวนคืน และความไม่รู้มิใช่เพราะความประมาทของผู้ขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องที่ผู้ซื้อฟ้องว่าผู้ขายปกปิดความจริงเรื่องการเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่ .........ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบ เมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่ .........ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบ เมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินตามวันออกพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง
วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติทางหลวงพุทธศักราช 2482 หรือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ 295 มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน คืออาจกระทำโดยออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก็ได้ดังนั้น เงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 (3) ที่ให้ถือเอาวันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับนั้น จึงต้องหมายถึงกรณีที่มิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เงินค่าทดแทนที่ให้กำหนดเท่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ก็จะต้องเอาราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับตามข้อ 76 (1) หรือ (2)แล้วแต่กรณี ทำนองเดียวกันกับเรื่องทรัพย์สินที่จะคำนวณค่าทดแทนตามข้อ 75.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารและการบังคับชำระค่าจ้างเมื่อมีข้ออ้างเรื่องเวนคืนที่ดิน
จำเลยทำสัญญาซื้อที่ดินจัดสรรจาก ล. โดยวางเงินให้ ผู้ขายแล้วบางส่วนและได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ให้ ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้น 1 หลังบนที่ดินนั้น จำเลย ได้ชำระเงินค่าที่ดินให้ผู้ขายแล้วบางส่วนและชำระค่าจ้าง ปลูกสร้างอาคารให้โจทก์ในวันทำสัญญาส่วนหนึ่งส่วนที่ เหลือแบ่งชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินงวดหนึ่งและเมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารเสร็จ และจำเลยรับมอบแล้วอีกงวดหนึ่ง ระหว่างก่อสร้างได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินประกาศใช้บังคับคลุมถึงที่ดินและ อาคารพิพาทแต่ข้อเท็จจริงยังไม่แน่นอนว่าที่ดินนั้นต้อง ถูกเวนคืนหรือไม่เพราะยังไม่ได้มีการสำรวจโดยเฉพาะเจาะจงและยังไม่มีข้อห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาดโดยให้มีการ โอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์เสียก่อนดังนี้ที่ดินแปลงที่จำเลยซื้อและ จ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคารยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขายจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้จำเลยได้ หาได้ตกเป็นการพ้นวิสัยที่จะโอนให้แก่กันไม่ จำเลยจึงจะยกข้ออ้างที่ว่าที่ดินและอาคารถูกเวนคืนจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างเหมาแก่ โจทก์หาได้ไม่
ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้างผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆ ผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้ารับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญาและให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อยหากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้
หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528
ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้างผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆ ผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้ารับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญาและให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อยหากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้
หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กฎหมายเวนคืนก่อนรัฐธรรมนูญ ไม่มีกำหนดระยะเวลาใช้ที่ดิน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เจ้าของไม่มีสิทธิเรียกคืน
การที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลง ตำบลราชาเทวะ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายแม่บท มิได้มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนไว้นั้น หาใช่เป็นเรื่องที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่ยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนในกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับที่กล่าวมาแล้วจึงหาได้ตกเป็นโมฆะไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ก็ดี หรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ก็ดี หรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)