คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสียชีวิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5315/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการร่วมกัน เมื่อมีผู้จัดการมรดกเสียชีวิต อีกฝ่ายไม่มีอำนาจดำเนินคดีต่อ
ศาลตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งสองจะต้องจัดการมรดกร่วมกันการดำเนินคดีในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก เมื่อโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 2ผู้เดียวจะอุทธรณ์และฎีกาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5315/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการร่วมกัน เมื่อผู้จัดการมรดกคนหนึ่งตาย อีกคนไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทน
ศาลตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งสองจะต้องจัดการมรดกร่วมกัน การดำเนินคดีในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก เมื่อโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 2 ผู้เดียวจะอุทธรณ์และฎีกาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการถอยรถ - ผู้ขับมีหน้าที่ระมัดระวังแม้ได้รับคำสั่ง - วิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัยเป็นเหตุให้เสียชีวิต
แม้ว่าผู้ตายเป็นผู้ออกคำสั่งให้จำเลยถอนรถ จำเลยจะต้องพิจารณาว่าการถอยรถในลักษณะเช่นนั้นปลอดภัยหรือไม่ การนำขดลวดสายไฟฟ้าลงจากรถยนต์บรรทุกคันหนึ่งโดยวิธีใช้เหล็กท่อน้ำให้ปลายข้างหนึ่งยันขดลวดสายไฟฟ้า และปลายอีกข้างหนึ่งยันที่กระบะท้ายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งที่จำเลยขับ ผู้ตายจับเหล็กท่อน้ำไว้ระหว่างกระบะท้าย รถยนต์บรรทุกทั้งสองคัน แล้วให้จำเลยเดินเครื่องยนต์ถอยรถเพื่อให้แรงของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับถอยหลังนี้ดัน เหล็กท่อน้ำ เพื่อเหล็กท่อน้ำจะได้ดัน ให้ ขดลวดสายไฟฟ้าเคลื่อนที่จากแนวขวางเป็นแนวตรงนั้น เป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัย เพราะถ้าเหล็กท่อน้ำหลุดจากขดลวดสายไฟฟ้าหรือจากกระบะท้าย รถยนต์บรรทุกที่ยันหรือจากมือผู้ตาย กระบะท้าย รถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับก็จะอัดผู้ตายเข้ากับกระบะท้าย รถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่ง การถอยรถของจำเลยจึงเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ตามพฤติการณ์แห่งคดี เป็นการทำงานร่วมกันของผู้ตายกับจำเลยและผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย ประกอบกับมีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่มารดาของผู้ตายจนเป็นที่พอใจ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน สมควรให้จำเลยกลับตัวโดยให้รอการลงโทษจำคุก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการสมรสหลังจำเลยเสียชีวิต และการจำหน่ายคดีที่ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนหย่าให้จำเลยตามข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยจึงยื่นฎีกาขอให้รับฟ้องแย้งไว้พิจารณาต่อไป แต่หลังจากยื่นฎีกาแล้ว จำเลยถึงแก่กรรม ดังนี้ การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป ให้จำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดของคดีฟ้องแย้งเกี่ยวกับการจดทะเบียนหย่าหลังคู่สมรสเสียชีวิต
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนหย่าให้จำเลยตาม ข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยยื่นฎีกาขอให้รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา เมื่อจำเลยถึง แก่กรรมการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลง จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อ ไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิจารณาถึงเจตนาและผลกระทบต่อการเสียชีวิตของผู้ถูกทำร้าย
จำเลยใช้ไม้ขนาดหน้า 3 นิ้วฟุต ยาวราว 1 ศอก ไม่ปรากฏว่าหนาเท่าใดตีผู้ตายเมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพ จำเลยก็จับศีรษะผู้ตายโขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถปิกอัพซึ่งเป็นเสากลมกลวงขนาดโตไม่เกิน 1 นิ้ว กับเมื่อผู้ตายเดินกลับบ้านจำเลยก็หักไม้รั้วบ้านซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นไม้ขนาดเท่าใด ตีผู้ตายแล้วก็เลิกรากันไป ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงถือได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่า ก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ ไม่ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติอันส่อว่าจะถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียงประมาณ 17 ชั่วโมง แม้แพทย์จะเห็นว่าผู้ตาย ถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายก็ตาม ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้ายเพราะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีสำหรับผู้เสียหายวิกลจริตที่เสียชีวิตแล้ว ไม่อาจดำเนินคดีแทนได้
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีก็เพื่อดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้วิกลจริตที่ไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้แทนเฉพาะคดีแล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อดำเนินคดีแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการเสียชีวิต และการรับทายาทเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน
เมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5), 1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ เมื่อปรากฏว่า บ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาหุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมาและเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทน บ. แล้ว ห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการฝึกซ้อมกีฬา แม้ไม่มีวัตถุประสงค์ในกฎหมายจัดตั้ง
วัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการ ซึ่งรัฐวิสาหกิจจะดำเนินการเท่านั้น งานของรัฐวิสาหกิจหาได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะเท่าที่ระบุไว้ดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาก็ตาม แต่เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์แล้ว การกีฬาจึงเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง การที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังแต่งตั้งผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อม เมื่อใดก็ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานแก่องค์การฟอกหนังแล้ว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายขณะฝึกซ้อมกีฬาเนื่องจากออกกำลังกายเกินควร ย่อมเป็นกรณีผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม กับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับ ที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตามข้อ 54 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีความหมายว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีกำหนดห้าปี
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างต้องรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้หลังการเสียชีวิต: การรู้ถึงความตายของผู้ตายมีผลต่อการเริ่มนับอายุความ
ย. พยานโจทก์ทั้งในฐานะ ส่วนตัวและในฐานะ อธิการบดีของโจทก์รู้ถึง ความตายของ ว. ตั้งแต่ ต้น เดือน พฤศจิกายน 2527ทั้งยังปรากฏว่ารองอธิการบดีของโจทก์ในฐานะผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีของโจทก์ได้ มีหนังสือถึงราชเลขาธิการขอพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ศพของ ว. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 แสดงว่าโจทก์รู้ถึง การตาย ของ ว. อย่างช้าเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 โจทก์ฟ้องทายาทของ ว. ให้ชำระหนี้ของ ว. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2529 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม.
of 28