คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุผลความล่าช้าในการยื่นอุทธรณ์: ความบกพร่องของทนาย ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าเพราะเสมียนทนายจำเลยแจ้งต่อทนายจำเลยว่าศาลอนุญาตในการขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สาม ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ตามขอ เป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ที่จะขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ไต่สวน แต่สั่งยกคำร้องของจำเลย และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด: ความบกพร่องของทนายจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าเพราะเสมียนทนายจำเลยแจ้งต่อทนายจำเลยว่าศาลอนุญาตในการขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สาม ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ตามขอ เป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่จะขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ไต่สวน แต่สั่งยกคำร้องของจำเลยและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องเกิดขึ้นก่อนหมดกำหนดเวลา และการพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลแล้ว การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลด้วยตนเองเพราะสำนวนอยู่ในระหว่างเสนอผู้พิพากษาตรวจและลงลายมือชื่อนั้น มิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา23 จะต้องกระทำเสียก่อนระยะเวลายื่นอุทธรณ์สิ้นสุดลงเว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งสุดท้ายเมื่อเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตในครั้งก่อนที่ให้ยื่นอุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ในครั้งสุดท้ายดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายอุทธรณ์ของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับมาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดอายุอุทธรณ์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23 จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องกระทำก่อนหมดกำหนดเวลา หากเลยกำหนดแม้มีเหตุผลก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทราบคำสั่งศาลแล้ว แต่โจทก์อ้างว่าโจทก์ ไม่ทราบคำสั่งศาลด้วยตนเองเพราะสำนวนอยู่ในระหว่าง เสนอผู้พิพากษาตรวจและลงลายมือชื่อนั้นมิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะต้อง กระทำเสียก่อนระยะเวลายื่นอุทธรณ์สิ้นสุดลงเว้นแต่กรณีที่มี เหตุสุดวิสัย แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ครั้งสุดท้ายเมื่อเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตในครั้งก่อน ที่ให้ยื่นอุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งศาลชั้นต้น ที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ในครั้งสุดท้าย ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายอุทธรณ์ของโจทก์ที่ศาลชั้นต้น สั่งรับมาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดอายุอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบ มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้อง, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การขยายอายุความ, ผลของการจำหน่ายคดี
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้ โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือ ศาลอื่นอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเพราะเหตุฟ้องซ้อน ไม่ใช่ยกฟ้อง เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล โจทก์จึงอ้างเอาการที่ศาล ยกคำฟ้องในคดีดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามเฉพาะโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คดีแรก ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยนั้น ได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/17 วรรคหนึ่งส่วนคดีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็น มูลกรณีเดียวกับคดีแรกนั้น ศาลยกฟ้องเพราะเหตุเป็นคดี ฟ้องซ้อน ต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การจำหน่ายคดี, ผลกระทบต่ออายุความ
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นกรณีที่เมื่อมีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุเป็นการฟ้องซ้อน จึงหาใช่เป็นการพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไม่ ดังนั้นโจทก์จะอ้างการที่ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง (คดีก่อน) เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณาการที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้ คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษา ยกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความ เกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษา ว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า กรณีเหตุสุดวิสัยและสภาพเรือ
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 52 จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า ที่ตนขนส่งต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุตาม มาตรา 52(1) หรือ (11) จริง จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ เพื่อให้ได้ความเช่นนั้น ซึ่งกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยต้องปรากฏว่า เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือ ใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น สินค้าเกลือพิพาทได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำทะเลรั่ว ผ่านรอยแตกผุกร่อนที่ดาดฟ้าและท่อระบายอากาศถังน้ำอับเฉา เข้าไปถึงสินค้าที่เก็บในระวางที่ 2 ซึ่งในระหว่างเดินทาง เรือประสบคลื่นลมแรง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคลื่นลมนั้นมีความรุนแรงเกินความคาดหมายในสภาพท้องทะเลช่วงนั้น ถึงขนาดที่ไม่อาจป้องกันมิให้น้ำทะเลรั่วซึม เข้าไปในเรือ ได้แต่อย่างใด จำเลยในฐานะผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องทำให้เรือ อยู่ในสภาพที่สามารถเดินทะเลได้อย่างปลอดภัยในเส้นทาง เดินเรือนั้น จัดให้มีคนประจำเรือ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นให้เหมาะสมแก่ความต้องการ สำหรับเรือนั้น และจัดระวางบรรทุกและส่วนอื่น ๆ ที่ใช้บรรทุก ของให้เหมาะสมและปลอดภัยตามสภาพแห่งของที่จะรับขนส่ง และรักษาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 8 แม้ก่อนหน้าที่จำเลยจะนำเรือดังกล่าวมาใช้ ขนส่งสินค้าพิพาทเพิ่งจะได้รับการตรวจสภาพโครงสร้าง ของตัวเรือมาก่อนก็ตาม แต่หลังจากการตรวจสภาพโครงสร้างเรือ แล้วก็อาจมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับโครงสร้างหรือส่วนอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้างของเรือเกิดขึ้นได้ซึ่งหากมีข้อบกพร่องดังกล่าวจำเลยก็มีหน้าที่ต้องแก้ไขเสียก่อนบรรทุก ของลงเรือหรือก่อนนำเรือออกเดินทางเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 8 ปรากฏว่าหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยเจ้าหน้าที่ สำรวจความเสียหายของสินค้าก็สามารถตรวจพบรอยผุกร่อน ที่ดาดฟ้าและท่อระบายอากาศถังน้ำอับเฉาได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในความดูแลของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยคำฟ้องไม่ได้ระบุถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากที่จำเลยได้รับรถไปตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเพียง 12 งวดและผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่งวดที่ 13 เป็นต้นมาจนถึงวันฟ้องโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว การผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปถึงเรื่องรายละเอียดของค่าเสียหาย ส่วนคำขอท้ายฟ้องเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ ลักษณะคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเช่นนี้ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไปเท่านั้น คดีจึงไม่มีกรณีที่จำเลยต้องชำระค่าเสียหายแม้จะเกิดจากเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาขัดกำหนดระยะเวลาและขาดเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกามีอำนาจยกเรื่องขึ้นพิจารณา
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกาแต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2เมื่อภายหลังจากระยะเวลายื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),242(1),246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4684/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องทำภายใน 15 วันนับจากวันที่ทราบคำพิพากษา หากมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถตรวจสำนวนได้ ระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อเหตุนั้นสิ้นสุด
ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสองบังคับให้ผู้ร้องขอให้พิจารณาใหม่จะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัด และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล และในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้ากว่ากำหนดก็ต้องกล่าวถึงเหตุที่ยื่นคำร้องล่าช้ามาด้วย การขอให้พิจารณาใหม่จึงจำเป็นที่จำเลยผู้ร้องขอต้องตรวจสำนวนคดีเพื่อทราบคำฟ้องและกระบวนพิจารณาคดีตลอดจนคำพิพากษาของศาลเสียก่อน
แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้ตรวจสำนวนหรือเห็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยก็ไม่อาจทราบคำฟ้อง และกระบวนพิจารณาตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่จะทำคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นได้ เท่ากับจำเลยไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เมื่อตามคำร้องของจำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานศาลยังหาสำนวนไม่พบ ทำให้จำเลยไม่สามารถตรวจดูสำนวนคดี ตลอดจนไม่สามารถคัดหรือถ่ายคำฟ้องและคำพิพากษาของศาลได้ กรณีตามคำร้องย่อมถือได้แล้วว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ และเมื่อใดที่จำเลยได้ตรวจสำนวนคดีทราบคำฟ้องคำพิพากษาตลอดจนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นนั้นแล้ว จึงจะถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นสิ้นสุดลงในวันนั้น เมื่อจำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายจากศาลชั้นต้นในวันที่ 29 พฤษภาคม 2540 ก็ต้องถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 จึงยังไม่ล่วงระยะเวลา15 วันตามที่กฏหมายบัญญัติบังคับไว้
of 52