พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การได้ แม้ไม่เกี่ยวกับคำให้การเดิม ศาลพิพากษาตามเนื้อที่พิพาทที่คู่ความรับรอง ไม่เกินคำขอ
การแก้ไขคำให้การนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ จึงไม่สำคัญ
แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยแต่ศาลฎีกาสั่งรับหากปรากฏว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในท้องสำนวน พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นสืบพยานฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การเพิ่มเติมอีก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์รวม 3 ส่วน ในจำนวน 6 ส่วนหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงตามแผนที่ซึ่งคู่ความนำชี้เนื้อที่ประมาณ 1 ใน 4 ของโฉนดเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเกินคำฟ้องไม่
แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยแต่ศาลฎีกาสั่งรับหากปรากฏว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในท้องสำนวน พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นสืบพยานฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การเพิ่มเติมอีก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์รวม 3 ส่วน ในจำนวน 6 ส่วนหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงตามแผนที่ซึ่งคู่ความนำชี้เนื้อที่ประมาณ 1 ใน 4 ของโฉนดเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเกินคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถาน กรณีข้อเท็จจริงเพิ่งทราบภายหลัง
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ปรากฏตามคำให้การข้อ 2 ว่าไม่รับรองข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยที่ 1ได้จ่ายเงินให้นายย่งกิตต์ตัวแทนโดยปริยายของบริษัทโจทก์ไปหลายครั้ง แต่ไม่ทราบจำนวนเงินที่จะบรรยายให้การละเอียดมาในขณะนี้ได้ทันจะต้องใช้เวลาตรวจสอบทางธนาคารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้อย่างอื่นอีกโดยจำเลยยังไม่อาจยื่นได้ก่อนวันชี้สองสถาน ครั้นเมื่อศาลชี้สองสถานแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าจากการตรวจสอบปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้บริษัทโจทก์ใน พ.ศ. 2503 โดยเช็ค 4 ฉบับเป็นเงิน 1,750,000บาท รายละเอียดตามคำร้อง และนายย่งกิตต์ได้รับเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวไปจากธนาคารแล้ว จำนวนหนี้ตามฟ้องจึงเกินอยู่ 1,750,000 บาท ความตามที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเพิ่งทราบภายหลังจากการชี้สองสถานแล้ว ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังจากชี้สองสถานแล้วได้เพราะเป็นข้อที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องนั้นได้ก่อนวันชี้สองสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ผิดพลาด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีตามข้อต่อสู้ที่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยที่อ้างถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 สับกัน เห็นได้ชัดว่าเป็นเพราะพิมพ์คลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีเจตนาจะให้การเช่นนั้นเพราะถ้าได้มีการแก้ข้อผิดพลาดจากจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยที่ 2 และจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 แล้ว ข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยทั้งสองก็จะเป็นข้อเถียงตรงตามประเด็นในคำฟ้องทุกประการ ซึ่งการแก้คำที่พิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ศาลมีอำนาจให้แก้ได้เสมอ แม้จะขอแก้ภายหลังชี้สองสถานก็แก้ได้ การที่ศาลชั้นต้นถือเอาคำให้การที่พิมพ์ผิดพลาดมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 รับตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ ไม่มีประเด็นอื่น แล้วงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ฉะนั้น เหตุที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ จึงชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
(อ้างฎีกาที่ 316-318/2500)
(อ้างฎีกาที่ 316-318/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่พิมพ์ผิดพลาด ศาลมีอำนาจแก้ได้ แม้หลังชี้สองสถาน การงดสืบพยานโดยไม่แก้ไขคำให้การไม่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยที่อ้างถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 สับกันเห็นได้ชัดว่าเป็นเพราะพิมพ์คลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีเจตนาจะให้การเช่นนั้นเพราะถ้าได้มีการแก้ข้อผิดพลาดจากจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยที่ 2 และจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 แล้ว ข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยทั้งสองก็จะเป็นข้อเถียงตรงตามประเด็นในคำฟ้องทุกประการ ซึ่งการแก้คำที่พิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ศาลมีอำนาจให้แก้ได้เสมอ แม้จะขอแก้ภายหลังชี้สองสถานก็แก้ได้ การที่ศาลชั้นต้นถือเอาคำให้การที่พิมพ์ผิดพลาดมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 รับตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไม่มีประเด็นอื่น แล้วงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ฉะนั้น เหตุที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ (อ้างฎีกาที่ 316-318/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709-710/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การนอกเหนือกรอบเวลาตามกฎหมาย และผลของการไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัย
จำเลยมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากวันชี้สองสถานแล้วถึงหนึ่งเดือนเศษ เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ และฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้อะไรขึ้นใหม่ นอกจากรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมที่มีอยู่ในคำให้การเดิม ข้อต่อสู้ที่ขอเพิ่มเติมใหม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยย่อมทราบได้ดีว่ามีอยู่แล้วมาแต่ต้น ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อนวันชี้สองสถานได้แม้จำเลยจะสงวนสิทธิที่จะฟ้องบังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งไว้ในคำให้การเดิมและคดีมิใช่เป็นคดีอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งได้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
กรณีได้ความตามที่จำเลยยอมรับว่า จำเลยได้สิทธิอาศัยมาโดยข้อตกลงด้วยวาจาที่โจทก์ให้ไว้กับจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์สิทธิมาโดยนิติกรรม กรณีต้องตกอยู่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก เพราะมิใช่การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมดังบัญญัติไว้ในวรรคสอง เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิที่จำเลยกล่าวอ้างได้มา จึงยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว
กรณีได้ความตามที่จำเลยยอมรับว่า จำเลยได้สิทธิอาศัยมาโดยข้อตกลงด้วยวาจาที่โจทก์ให้ไว้กับจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์สิทธิมาโดยนิติกรรม กรณีต้องตกอยู่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก เพราะมิใช่การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมดังบัญญัติไว้ในวรรคสอง เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิที่จำเลยกล่าวอ้างได้มา จึงยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการแก้ไขคำให้การและคำฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ยกเลิกกระบวนพิจารณาได้หรือไม่
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจ แม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจ แม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจแม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้นไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจแม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้นไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและผลของการขาดอายุอุทธรณ์: การแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมหลังชี้สองสถาน
การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยื่นคำร้องภายหลังจากวันชี้สองสถาน ก็ไม่ต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า สรรพากรจังหวัดประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าโดยไม่ชอบ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัยว่าการประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ประเมิน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งประเมินขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อไม่มีสิทธิอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะได้ความว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งในอุทธรณ์ของโจทก์กว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ขาดอายุที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว การสั่งดังนี้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นถูกต้องขึ้นไม่ เท่ากับยังไม่อุทธรณ์โดยชอบตามกฎหมาย สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลย่อมไม่มี
โจทก์ฟ้องว่า สรรพากรจังหวัดประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าโดยไม่ชอบ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัยว่าการประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ประเมิน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งประเมินขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อไม่มีสิทธิอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะได้ความว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งในอุทธรณ์ของโจทก์กว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ขาดอายุที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว การสั่งดังนี้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นถูกต้องขึ้นไม่ เท่ากับยังไม่อุทธรณ์โดยชอบตามกฎหมาย สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลย่อมไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและผลของการแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นขาดอายุอุทธรณ์ในคดีภาษี
การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น. เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน. แม้จำเลยจะยื่นคำร้องภายหลังจากวันชี้สองสถาน ก็ไม่ต้องห้าม.
โจทก์ฟ้องว่า สรรพากรจังหวัดประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าโดยไม่ชอบ. โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.คณะกรรมการวินิจฉัยว่าการประเมินถูกต้องแล้ว. โจทก์จึงฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ประเมิน. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วัน. นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30. โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อไม่มีสิทธิอุทธรณ์.ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง. แม้จะได้ความว่า. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ถูกต้องแล้ว. แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ขาดอายุที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว. การสั่งดังนี้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นถูกต้องขึ้นไม่. เท่ากับยังไม่มีอุทธรณ์โดยชอบตามกฎหมาย. สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลย่อมไม่มี.
โจทก์ฟ้องว่า สรรพากรจังหวัดประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าโดยไม่ชอบ. โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.คณะกรรมการวินิจฉัยว่าการประเมินถูกต้องแล้ว. โจทก์จึงฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ประเมิน. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วัน. นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30. โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อไม่มีสิทธิอุทธรณ์.ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง. แม้จะได้ความว่า. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ถูกต้องแล้ว. แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ขาดอายุที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว. การสั่งดังนี้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นถูกต้องขึ้นไม่. เท่ากับยังไม่มีอุทธรณ์โดยชอบตามกฎหมาย. สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลย่อมไม่มี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และการผัดโอนที่ดินถือเป็นการผิดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 (2) มิได้ถือเอากำหนดเวลาที่คู่ความฝ่ายที่ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนการชี้สองสถานหรือก่อนกำหนดเวลาชี้สองสถานเป็นเกณฑ์ แต่มาตรา 180 (2) ถือเอากำหนดที่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน เหตุนี้ ถ้าหากจำเลยทราบเหตุที่จะขอแก้คำให้การในวันชี้สองสถานนั้นเอง แม้จะทราบก่อนกำหนดเวลาที่เริ่มมีการชี้สองสถาน ก็ไม่เป็นเหตุที่จะไม่อนุญาตให้แก้
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไปจำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่ 15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไปจำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่ 15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว