พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสต้องรอการหย่า แม้มีการจำหน่ายทรัพย์สินไปแล้ว ก็ให้ถือเสมือนว่ายังมีอยู่เพื่อแบ่ง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้ทำสัญญา ในเรื่องทรัพย์สินก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 และ 1534กำหนดว่า จะแบ่งสินสมรสได้เมื่อมีการหย่าและแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเดียวหรือในกรณีอื่น ๆ ก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์ แต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการ ขายรถยนต์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งสินสมรส โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา, สินสมรส, และการบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ต่อมาโจทก์ได้ทำร้ายจำเลยทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป จึงไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจ โดยให้เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกว่า โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก ซึ่งมีร้อยตำรวจโทส. และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อให้จำเลยไม่ติดใจเอาความโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยได้รับทรัพย์สินจากโจทก์เป็นการตอบแทน เมื่อมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลใช้เป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1514 วรรคสอง และยังใช้บังคับในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินตามบันทึกนั้นได้ด้วย ข้อตกลงเรื่องการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นข้อตกลงที่แบ่งแยกจากกันมิได้ จึงมิได้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง อันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินที่ว่าโจทก์ตกลงขายรถยนต์ที่โจทก์ใช้อยู่โดยจะแบ่งเงินที่ขายได้ให้แก่โจทก์ 20,000 บาทจำเลยจะจ่ายให้ทันที่ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะจ่ายเป็นเช็คให้อีก 10,000 บาท มีกำหนด 1 เดือน นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังใช้รถยนต์อยู่มิได้ขายตามข้อตกลง ส่วนจำเลยก็ชำระเงินให้โจทก์ไปเพียง 10,000 บาท ดังนั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดถึงกรณีที่มิได้ขายรถไว้ว่าคู่กรณีตกลงกันอย่างไร จึงต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้ เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะได้เงินจากการขายรถเพียง 20,000 บาท เงินส่วนที่เหลือจากการขายเป็นของจำเลยทั้งหมด เมื่อไม่มีการขายรถ จำเลยจึงควรจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเกี่ยวกับรถนั้นโดยชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อตกลงจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบรถให้แก่จำเลย บันทึกข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจะใช้บังคับทรัพย์สินอื่นที่มีอยู่ก่อนหรือได้มาหลังข้อตกลงนอกจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงนั้นไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนั้นจึงต้องเป็นสินสมรสที่จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกั สร้อยคอทองคำและพระเครื่องที่จำเลยซื้อให้แก่โจทก์ระหว่างสมรสเป็นทรัพย์ที่เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากมีการตกลงจะหย่ากัน เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาตามคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่สร้างระหว่างสมรสเป็นสินสมรสต้องแบ่งเท่ากัน
ผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อ 4 ธันวาคม 2504บ้านพิพาทปลูกในระหว่าง พ.ศ. 2517 ถึง 2524 หลังจากที่ผู้ร้องที่ 1ซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านมาเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้ว จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสกันได้มาระหว่างสมรสอันเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474(1) เมื่อผู้ร้องที่ 1และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชาย และหญิงได้ส่วนเท่ากัน เมื่อยังไม่มีการแบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสนั้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของร่วมกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมและผลของการซื้อขายโดยไม่ยินยอม สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน
จำเลยและ ส. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ แม้หนี้เงินกู้จะเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยและ ส. สัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทก็หาผูกพันจำเลยไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย แต่โจทก์มีสิทธิเข้าสวมสิทธิของ ส. เรียกร้องให้แบ่งส่วนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้ทำสัญญากัน การไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามป.พ.พ. บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้นกรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และเป็นกรณีตามมาตรา 1484เป็นการอ้างข้อเท็จจริง นอกคำฟ้องของโจทก์ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1484.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้หย่าขาด ไม่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น กรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 และไม่อาจจัดการใด ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สินสมรส เพราะไม่มีทรัพย์สินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่โจทก์ได้สินสมรสมา การกระทำของจำเลยเป็นการถ่วงความเจริญงอกงามที่จะเกิดแก่สินสมรสของโจทก์จำเลยนั้น เป็นการฎีกาอ้างข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องของโจทก์เอง เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 แต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าและการหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้: ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นโมฆะ
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน ได้ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์นำเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยอ้างว่าเป็นสินสมรสของจำเลย ก่อนถูกยึดทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยตกลงแบ่งที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้เป็นของผู้ร้อง แต่ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินในการหย่านั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอมไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทจึงคงเป็นทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้ถอนการยึดตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 158.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, มรดก, การโอนกรรมสิทธิ์, สิทธิในทรัพย์สิน
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา แม้ต่างมีคู่สมรสเดิม
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้มีคู่สมรสอื่น ย่อมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.