พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ยังไม่เสร็จและการครอบครองแทนทายาทอื่น สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ยังแบ่งปันกันไม่เสร็จ แม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. แต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปัน ถือว่า ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นเอาไว้ โจทก์ทั้งห้าจึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกของ ส. ซึ่งโจทก์ทั้งห้ามีส่วนได้รับนั้นได้จำเลยจะยกเอาอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้ทายาทอื่น ถือเป็นละเลยหน้าที่และมีเหตุถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของทายาทในการแบ่งมรดก และขอบเขตคำพิพากษาศาลที่ให้ถอนคำคัดค้านการโอน
ข้อความในคำฟ้องได้บรรยายว่า โจทก์ทั้งสอง ส.และจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ช.เจ้ามรดกตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกันแล้วจำเลยได้คัดค้านการโอนที่ดินมรดกซึ่งเป็นส่วนแบ่งของโจทก์ทั้งสอง จึงขอให้จำเลยถอนคำคัดค้าน ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องในฐานะส่วนตัวหาใช่ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ไม่ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปถอนคำคัดค้านการจดทะเบียนโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มาเป็นทรัพย์มรดกของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ มีความหมายเพียงว่าให้จำเลยไปถอนคำคัดค้านที่จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านไว้ในเรื่องที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนโอนที่ดินมาเป็นทรัพย์มรดกของโจทก์ที่ 1 และที่ 2เท่านั้นหาได้มีความหมายเลยไปว่าให้ที่ดินมรดกตามฟ้องตกได้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วยไม่คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: สัญญาจะขายที่ดินยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ ทายาทมีสิทธิฟ้อง
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเพียงทำสัญญาจะขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับมรดกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครองทำประโยชน์ และอายุความฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยโจทก์ทั้งสี่และ ส. เจ้ามรดกตกลงให้จำเลยทั้งสองใส่ชื่อไว้แทน แสดงว่าที่ดินมิใช่ของจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสี่และ ส. ให้จำเลยทั้งสองลงชื่อไว้แทนเท่านั้นสิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ยังเป็นของทายาททุกคนมิใช่ของจำเลยทั้งสองการที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่หากฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นความจริงแล้ว คำขอบังคับก็เป็นการขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดที่ดิน และการให้ไปในตัว โจทก์ทั้งสี่ไม่จำเป็นต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดที่ดินและการให้เสียก่อน ดังนั้น คำพิพากษาที่วินิจฉัยให้จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสี่จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ หลังจาก ผ. เจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์บางคนร่วมกับจำเลยที่ 1 ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา และการที่จำเลยทั้งสองมีชื่อในที่ดินพิพาทเป็นการถือสิทธิและครอบครองแทนทายาทโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ส.และผ. ย่อมมีสิทธิฟ้องแบ่งมรดกได้แม้จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิของผู้จัดการมรดก & การแบ่งมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
มารดาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรรคแรก เมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้ว จึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดกดังนั้น เมื่อผู้ร้องจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยก ทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้อง ทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย
แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยก ทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้อง ทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีการแบ่งมรดกแล้วแต่ยังไม่จดทะเบียน
มารดาผู้ร้องและคัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้าน ได้ เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดก โดยชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรกเมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้วจึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดก ดังนั้น เมื่อผู้ร้องขอจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไป จากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการ แบ่งแยกทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการ หรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้องทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4318/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทในทรัพย์มรดกเมื่อทายาทรุ่นก่อนถึงแก่ความตายก่อนแบ่งมรดก ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
บิดาผู้ร้องถึงแก่ความตายหลังเจ้ามรดก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแบ่งปันทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกขณะที่บิดาผู้ร้องมีชีวิตอยู่แต่อย่างใด ทรัพย์มรดกในส่วนที่ตกได้แก่บิดาผู้ร้องย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอันจะขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งมรดกที่ดิน, โรงแรม, เงินฝาก, รายได้โรงแรม ระหว่างทายาทและอดีรภัสยา โดยคำนึงถึงสัดส่วนการเป็นเจ้าของและรายได้
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภรรยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111และมาตรา 1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้ทายาทคนหนึ่งปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ทายาทคนนั้นก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมรดกของผู้ปกครองเด็ก, อายุความมรดกมีผู้จัดการ, การแบ่งมรดกสินส่วนตัวและสินร่วม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ค. เป็นผู้ปกครองของเด็กชาย ท.คดีถึงที่สุดแล้วค. ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กชาย ท.จำเลยไม่อาจโต้แย้งในคดีนี้ว่าค. ไม่มีอำนาจเป็นผู้ปกครองเด็กชาย ท. ได้ ฟ้องระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของเจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่มีสิทธิได้รับมรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คนและเป็นผู้ใด หากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่าจำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งตามฟ้องไม่ถูกต้องจำเลยต้องให้การต่อสู้ไว้ และเมื่ออ่านฟ้องประกอบใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาด ที่ถูกต้องเป็นตามใบมรณบัตรแนบท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ทรัพย์ที่เจ้ามรดกกับ ส. เป็นเจ้าของร่วมกัน ต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกตกได้แก่เด็กชาย ท. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับส่วนของเจ้ามรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งสี่คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อรวมแล้วเด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับจำนวน 5 ใน 8 ส่วน กรณีทรัพย์มรดกมีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทไม่จำต้องฟ้องเรียกทรัพย์มรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754