พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5315/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้ตามเช็คระงับ การฟ้องคดีอาญาจึงสิ้นสุด
เช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ จำเลยออกให้โจทก์ชำระหนี้ค่าซื้อรถยนต์กระบะของโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้โอนทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้จำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยังมิได้ชำระราคารถยนต์กระบะตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ การที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ให้จำเลยเอาหนี้ตามเช็คทั้งหมด รวมทั้งเช็คพิพาท 4 ฉบับด้วยมารวมกันแล้วให้จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,000,000 บาท โดยมีข้อความระบุว่า ผู้กู้ได้ยืมเงินสดจากผู้ให้กู้เป็นจำนวน 4,000,000 บาท ได้จ่ายเช็คของธนาคารมอบให้ไว้กับผู้ให้กู้ เมื่อถึงกำหนดให้เข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บวันนี้ผู้กู้ได้มอบเช็คดังกล่าวข้างต้นให้กับผู้ให้กู้ไว้เป็นที่เรียบร้อยในวันทำสัญญา ถือว่าได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพัน คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรกและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และการระงับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกัน จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่าน. เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าวความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่กระทบสิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกันจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ย เอา แก่ จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 229(3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น.เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่า น.เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้น ตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ขอ ที่จะฟ้องบังคับตาม มูลหนี้ ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเดิม ของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมระงับ
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้รายเดียวกันของ น. จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองเมื่อโจทก์ชำระหนี้แทน น. ลูกหนี้ไปแล้วโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 และมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อชำระหนี้ทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคแรก เมื่อต่อมาโจทก์กับ น. ตกลงทำสัญญากู้เงินไว้ว่า น. เดิมหนี้เงินกู้โจทก์ถือว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยนั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงินความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ (Novation) และผลผูกพันสัญญา
คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า แม่ชีสมพรได้ยกเงินที่จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตนซึ่งไม่มีหลักฐานการกู้ยืมทั้งหมดให้แก่โจทก์ แล้วจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนั้น สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญาตามเจตนาของคู่สัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ระหว่างแม่ชีสมพร อินทร์มงคล กับโจทก์ชอบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้และผลผูกพันตามสัญญากู้ยืม
คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า แม่ชีสมพรได้ยกเงินที่จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตนซึ่งไม่มีหลักฐานการกู้ยืมทั้งหมดให้แก่โจทก์ แล้วจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนั้นสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญาตามเจตนาของคู่สัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ระหว่างแม่ชีสมพรอินทร์มงคล กับโจทก์ชอบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ทรงเช็คคืน - อายุความสัญญาซื้อขายลดเช็ค - การแปลงหนี้
เช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมโอนให้แก่กันโดยการส่งมอบเมื่อโจทก์ได้รับเช็คไว้ในครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 แม้โจทก์จะสลักหลังโอนเช็คให้แก่บริษัท ท.และบริษัทท. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ ซึ่งถือว่าบริษัท ท. เป็นผู้เสียหายในขณะเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้รับเช็คคืนมา โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้ทรงในการที่จะบังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้อันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หนี้จึงไม่ระงับไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นหนี้กู้ยืมเงินและจำนอง รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
ภายหลังจากโจทก์ จำเลย และว.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลย และว. ยอมรับผิดร่วมกันชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศจำนวน 293,813 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงกันใหม่ว่าจำเลยรับว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ 293,813 บาท และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนี้เงินกู้และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่ปรากฏข้อความในหนังสือสัญญาจำนอง สัญญาจำนองจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย การที่โจทก์จะรับชำระหนี้จำนองไว้บางส่วนตามหนังสือสัญญาชำระหนี้ซึ่งมีข้อความสงวนสิทธิในการจะฟ้องบังคับจำนองหากจำเลยชำระหนี้จำนองไม่ครบ ภายหลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้วก็ตาม ไม่ถือว่าโจทก์สละเจตนาที่จะบังคับจำนองกับจำเลยยังถือเป็นหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองอยู่ การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว แม้ในหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าไม่มีดอกเบี้ยก็ตามแต่หนังสือสัญญาจำนองนี้เป็นทั้งสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองข้อความที่ว่าไม่มีดอกเบี้ยจึงหมายความว่าที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์293,813 บาท นั้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและสัญญาจำนองก็ไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินแต่เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 244
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคู่สัญญาครบถ้วน การตกลงระหว่างลูกหนี้กับบุคคลที่สามไม่ผูกพันเจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 อ้างว่า สามีของจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้รับผิดชอบ ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อแทนให้โจทก์ อันเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้ตกลงทำสัญญาด้วย กรณีจึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 ระงับ จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามคำแก้ฎีกาโจทก์ยอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยบางส่วนแล้ว จึงต้องนำมาหักออกจากหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิด เมื่อคำฟ้องและคำให้การพอที่จะรับฟังและวินิจฉัยได้ การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานหลักจากจำเลย ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนสืบพยานเสร็จก็มิได้ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ฎีกาข้อนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้เก่ากับบุคคลที่สามไม่ผูกพันเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ระหว่างเช่าซื้อรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ สามีจำเลยที่ 2 รับรถยนต์ไปซ่อมแซมและครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา การที่สามีจำเลยที่ 2 ตกลงกับจำเลยที่ 1 รับว่าจะโอนสิทธิหน้าที่และความรับผิดทั้งหมดแทนจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์นั้น เป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับสามีจำเลยที่ 2 โจทก์มิได้ตกลงทำสัญญาด้วย จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับ