คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: โจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ทั้งทางแพ่งและ ทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีนี้โดยฟ้องจำเลย ทั้งสามเป็นคดีอาญาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในการดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ซึ่งให้นำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนี้ ในการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้นนอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 แล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ด้วย
พยานหลักฐานของโจทก์เองแสดงให้เห็นว่า การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้น เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจาก วันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้ว โดยเป็นการทำซ้ำเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำนั้น ให้แก่ ส. ตามที่ ส. ได้ล่อซื้อนั่นเอง มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ ดังนี้ จึงน่าเชื่อว่าการที่มีผู้กระทำผิด ด้วยการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์กรณีออกใบกำกับภาษี โจทก์ต้องนำสืบหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง
คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า บริษัท บ.เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับหรือไม่ และออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตน จึงฟังไม่ได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันในวันชี้สองสถานฟังได้แต่เพียงว่าบริษัท บ.ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนธันวาคม 2539 เท่านั้น แต่จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธว่าใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับซึ่งออกโดยบริษัทดังกล่าวนั้น บริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตน ไม่มีสถานประกอบการและไม่มีการให้บริการจริง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ของโจทก์ในคดีภาษี: การใช้เครดิตภาษีจากใบกำกับภาษีที่ถูกโต้แย้ง
คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า บริษัท บ. เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับหรือไม่ และออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประเด็นดังกล่าว โจทก์กล่าวอ้างโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนจึงฟังไม่ได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันในวันชี้สองสถานฟังได้แต่เพียงว่าบริษัท บ. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนธันวาคม 2539 เท่านั้นแต่จำเลยปฏิเสธว่าใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับซึ่งออกโดยบริษัทดังกล่าวนั้นบริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตน ไม่มีสถานประกอบการและไม่มีการให้บริการกันจริง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดี และมิใช่เป็นการขาดนัดพิจารณา
หลังจากจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและศาลภาษีอากรกลางได้นัดชี้สองสถาน และได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ทราบโดยชอบแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ทราบวันนัดชี้สองสถานของศาลภาษีอากรกลางแล้ว ในวันชี้สองสถานทนายโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้อง คงมาแต่ฝ่ายจำเลย ศาลจึงทำการชี้สองสถานไปโดยให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วให้จำเลยนำสืบแก้ แต่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร และโจทก์ไม่มาศาล ศาลภาษีอากรกลางจึงสั่งงดสืบพยานโจทก์ได้ และถือว่าโจทก์ได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันชี้สองสถานแล้ว
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร และโจทก์ไม่มาศาล ศาลจึงสั่งงดสืบพยานโจทก์ และต่อมาพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี มิใช่เป็นกรณีที่ศาลสั่งให้โจทก์ขาดนัดพิจารณา โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีป้ายต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากมิได้ประเมินภาษี
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีป้ายตามกฎหมายแต่ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้ายของโจทก์ที่กระทำต่อจำเลยในกรณีที่ ตรวจพบว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมซึ่งจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้วอันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายอีกในป้ายเดียวกัน กลับไม่มี รายละเอียดแสดงขั้นตอนนับแต่ บ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลง แก้ไขป้ายเดิมว่าเหตุใดจึงตรวจพบ ไม่มีรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ขออนุมัติไปตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วก็หามีรายงานเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับผลการตรวจสอบดังกล่าวนี้ไม่เป็นการผิดปกติวิสัยของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดเก็บภาษีป้ายในกรณีที่ผู้เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสองแห่ง พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้าย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 9 บังคับให้เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ แต่จำเลยมิได้ยื่นแบบดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องประเมินภาษีป้ายเช่นเดียวกับกรณีปกติและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือให้เจ้าของป้ายทราบตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 17 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ประกอบด้วยมาตรา 29 เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ประเมินภาษีป้ายของจำเลยสำหรับกรณีที่ จำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ย่อม ไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือแจ้งการประเมินอันเป็นการข้ามขั้นตอน ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ส่งหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) ไปยังจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้มีการประเมิน ให้จำเลยเสียภาษีป้าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีป้าย แม้ว่า จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 การที่ศาลภาษีอากรพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมานั้นแล้ว วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ทำการ ประเมินภาษีป้ายและแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีที่จำเลย เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นจึงชอบแล้ว และเมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้ทำการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระภาษีป้ายส่วนที่จำเลย ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้ง: ผลกระทบต่อโจทก์และจำเลย, การรับอุทธรณ์เฉพาะประเด็นกฎหมาย
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งที่จะต้องเข้าลักษณะทั่วไปตามป.วิ.พ.มาตรา 55 คือ ตามฟ้องนั้นมีสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งโต้แย้งกันอยู่พร้อมบริบูรณ์แล้วจึงจะฟ้องร้องกันได้
ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม มิได้บังคับให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การ แต่เป็นบทบัญญัติให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะเห็นสมควร แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้โจทก์กลายเป็นลูกหนี้ ดังนั้น การฟ้องคดีของโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)ก็เป็นผลเฉพาะโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย จำเลยฟ้องแย้งเมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงเหตุแห่งการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงต้องยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายดังกล่าวโดยไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นการชอบด้วยวิธีพิจารณาความตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยโดยศาลอุทธรณ์เกินอำนาจเมื่อโจทก์ไม่เคยอุทธรณ์เรื่องการบวกโทษ
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยกระทำความผิดในระหว่างที่ศาลรอการลงโทษจำคุกในคดีก่อน ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจเป็นไม่รอการลงโทษให้จำเลย โดยไม่นำโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ โจทก์ไม่อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์การพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 บัญญัติว่า คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความกันทางอาญาไม่ระงับคดี ย่อมไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิฟ้อง
คำว่า "ยอมความกัน" ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) หมายถึงการยอมความในทางอาญาเท่านั้น มิได้หมายความว่า เมื่อมีการยอมความกันไม่ว่าจะในเรื่องใดแล้ว จะทำให้คดีอาญาต้องระงับไปด้วย เมื่อยังไม่มีข้อตกลงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเบิกความในฐานะจำเลย ไม่กระทบสิทธิพยานโจทก์
แม้โจทก์และจำเลยจะอ้าง ท. เป็นพยาน แต่ตอนที่ ท. เบิกความได้เบิกความในฐานะพยานจำเลย หาได้เบิกความในฐานะพยานโจทก์ด้วยไม่ ว. และ อ. พยานโจทก์ซึ่งนั่งฟัง ท. เบิกความจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การพิสูจน์ว่าจำเลยรับจำนองแทนโจทก์ และการมีอยู่จริงของความเสียหาย
โจทก์เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัท น. จำเลยเคยเป็นพนักงานบริษัทดังกล่าวในตำแหน่งผู้ช่วยสมุห์บัญชีและมีชื่อเป็นผู้รับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโจทก์ไม่มีหลักฐานใด ๆ มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งตามหนังสือสัญญาจำนองก็ไม่ปรากฏข้อความให้เห็นว่าจำเลยกระทำแทนโจทก์ช. พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำโฉนดที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้เงินก็เบิกความว่า นำโฉนดที่ดินและหลักฐานส่วนตัวไปติดต่อกับบริษัท น. และตอบคำถามค้านว่า ขณะไปกู้เงินไม่พบโจทก์ พบแต่จำเลย บริษัทให้จำเลยรับจำนองแทน จึงเจือสมกับที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทแทนบริษัท น. ขณะที่จำเลยทำงานเป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ การที่โฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาจำนองตัวจริงอยู่ในครอบครองของโจทก์ตลอดมาก็ไม่เป็นข้อพิรุธที่จะชี้ให้เห็นว่าจำเลยจำนองแทนโจทก์ เพราะขณะรับจำนองโจทก์เป็นกรรมการผู้หนึ่งของบริษัท น. โจทก์อาจนำเอกสารดังกล่าวมาเก็บไว้เป็นได้ จึงฟังยังไม่ได้ว่าจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 104