คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับระยะเวลาหลังออกโฉนดที่ดิน
การครอบครองที่ดินของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้นต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่ได้ออกโฉนดที่ดินแล้วติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีเท่านั้น เมื่อนับแต่วันออกโฉนดครั้งแรกถึงวันยื่นคำร้องขอ ผู้ร้องครอบครองที่ดินมายังไม่ถึงสิบปีผู้ร้องจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรวมแยกโฉนดที่ดินก่อนได้รับอนุญาตจัดสรร ไม่เข้าข่ายละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ แม้ถนนลดขนาด
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยื่นคำขอรวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดินภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 296 ใช้บังคับ จำเลยที่ 4ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ทำการรังวัดและแบ่งแยกที่ดินเสร็จสิ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขออนุญาตและได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงยังไม่ตกอยู่ในภารจำยอมจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิที่จะขอรวมและแบ่งแยกโฉนดและจำเลยที่ 3ถึงที่ 9 ก็มีสิทธิที่จะดำเนินการรวมและแยกโฉนดตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามอำนาจหน้าที่ของตนที่มีอยู่ได้ แม้ที่ดินที่เป็นถนนตามโฉนดดังกล่าวเมื่อรวมและแบ่งแยกแล้วจะมีเนื้อที่ลดน้อยลงกว่าเดิม และโจทก์ไม่ได้รับแจ้งให้ไประวังแนวเขตที่ดินขณะทำการรังวัด แต่เมื่อเจ้าพนักงานไม่ได้รังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยมิชอบจาก นส.3 โดยอ้างอิงคำพิพากษาเดิมที่มีผลผูกพัน
มูลคดีเดียวกันนี้ โจทก์เคยฟ้องและศาลได้พิพากษาขับไล่จำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่ความตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 โดยรับซื้อฝากจาก อ.แต่ อ. ไม่ได้ไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ ภายหลังจำเลยได้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ และจำเลยเอาที่ดินของโจทก์ดังกล่าวไปขอออกโฉนดซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิ การขอออกโฉนดที่ดินของจำเลยจึงไม่ชอบ ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนโฉนดดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดที่ดินสันนิษฐานถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องแย้งต้องพิสูจน์ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ครอบครองปรปักษ์ต้องครบ 10 ปี
โฉนดที่ดินของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ทรง-กรรมสิทธิ์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าได้ออกมาถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา127 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ว่าออกมาทับที่โดยไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือมิชอบด้วยกฎหมายนั้น
แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ.2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่สันนิษฐานว่าถูกต้อง ผู้ฟ้องแย้งมีหน้าที่พิสูจน์ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของโฉนด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ โฉนดนั้นมีผลผูกพัน
โฉนดที่ดินของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าได้ออกมาถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ว่าออกมาทับที่โดยไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือมิชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกโฉนดที่ดินกระทบสิทธิมรดก และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา
เมื่อ ท.ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่ดินส.ค.1ของท.ย่อมตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทในทันที การที่จำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ส.ค.1 ดังกล่าวสูญหายไป แล้วไปคัดสำเนา ส.ค.1จากอำเภอและไปดำเนินการขอให้ออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าทนายโจทก์ไม่ป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีจึงสั่งให้ยกคำร้องและโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามนัด จึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นมิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ผู้อุทธรณ์ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดินเมื่อมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้มีการอ้างเป็นทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด จำเลยเก็บรักษาโฉนดไว้ โจทก์ขอโฉนดคืนจากจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดให้ไว้แก่โจทก์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดคืนจากจำเลยโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนด และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดนั้น คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังคำให้การของจำเลยเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดให้โจทก์ภายในกำหนด7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: แม้เป็นทรัพย์มรดก แต่เจ้าของสิทธิย่อมเรียกคืนได้หากไม่ได้ยินยอมให้ครอบครอง
โจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลย โดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์ จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลย และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้การที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืนขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิมแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้นเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี โจทก์ขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: แม้มีข้ออ้างเป็นทรัพย์มรดก แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนดมีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ดิน จำเลยเก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้ โจทก์ขอโฉนดที่ดินคืน จำเลยไม่ยอมคืนขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดที่ดินได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดิน และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาลหรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินและกรรมสิทธิ์ตามการครอบครองจริง แม้ชื่อในโฉนดจะสลับกัน ศาลมีสิทธิแก้ไขชื่อให้ตรงตามการครอบครอง
โจทก์ และ ล. ได้รับมรดกตามพินัยกรรมเป็นที่ดิน 1 แปลงโดยลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดร่วมกัน ต่อมาโจทก์และ ล.ได้ขอแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกไป 2 โฉนด โดยขอแบ่งแยกตามส่วนที่แต่ละคนครอบครอง แต่มีการระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินสลับกันกรณี เช่นนี้ต้องถือว่าแต่ละฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองอย่างเป็นเจ้าของจริง ๆ ตลอดมา และมีสิทธิขอแก้ไขชื่อในโฉนดให้ตรงตามความจริงได้.
of 21