พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดิน: จำเลย (นายอำเภอ) ไม่ต้องรับผิดเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มีข้อโต้แย้งกับ ฮ. หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ที่ไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ครอบครองตามหนังสือสัญญาเลิกหุ้นส่วนโจทก์ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีทางศาลแก่ ฮ.หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71ประกอบด้วยมาตรา 72 หมายถึง ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจะต้องมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยชอบและคู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่หนังสือแสดงสิทธิเป็นของผู้อื่นและยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เช่นกรณีของโจทก์ไม่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสิทธิครอบครองให้ได้ขอให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบไม่เป็นละเมิดและไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วก็ยังสามารถพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
คำพิพากษาของศาลแม้จะวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของบ้านพิพาทว่าเป็นของจำเลย ซึ่งจำเลยใช้ยันบุคคลภายนอกได้ก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็ยังมีสิทธิที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2)ทั้งการที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา8 วัน นับแต่วันปิดประกาศกำหนดเวลาให้โจทก์ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องดังกล่าว มาตรา296 จัตวา (3) ก็เพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ซึ่งมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดโจทก์จึงยังสามารถโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโดยเป็นเจ้าของบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องมีเหตุโต้แย้งสิทธิ หากไม่มีเหตุโจทก์ผิดสัญญา ศาลไม่รับฟ้อง
ฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง จึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 กล่าวคือ จะต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยเกิดขึ้น หากคำฟ้องแย้งไม่ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาให้สิทธิอาศัย แต่จำเลยฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยกับ ต. ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยนายทะเบียน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ฟ้องร้องได้
กำหนดเวลาในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมีหน้าที่ต้องไปทำการร้องขอต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ ให้ออกใบสำคัญประจำตัวให้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลต่างด้าว มิใช่เป็นคนสัญชาติไทยภายในเวลา 30 วัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ซึ่งเสียสัญชาติไทยเพิกเฉยหรือละเลย มิฉะนั้นจะมีความผิดและถูกลงโทษตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดก: การออก น.ส.3ก. โดยไม่ชอบ และการยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ไม่มีสิทธิ
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ที่นาและที่ดินบ้านย่อมตกได้แก่โจทก์และทายาทอื่นรวมทั้ง ว.ด้วยการที่ว. นำที่นาและที่ดินบ้านดังกล่าวไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ดังนั้นเมื่อต่อมา ว.ถึงแก่กรรม จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ว. ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ว.เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกว. ที่ได้มาโดยไม่มีสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกคืนทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การตั้งคณะกรรมการสอบวินัยยังไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยโจทก์ข้อหากระทำผิดวินัยเท่านั้น จำเลยจะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์หรือไม่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ โจทก์จะมีความผิดหรือไม่ก็ต้องรอฟังผลการสอบสวนก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติไทยของผู้เกิดในไทยภายหลังมารดาถูกถอนสัญชาติ และการโต้แย้งสิทธิโดยเจ้าพนักงาน
ง. มารดาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อพ.ศ. 2493 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรรา 3 (3)ต่อมา ง.ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 14 ธันวาคม 2515 แต่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยขณะเกิด ง.มารดายังคงมีสัญชาติไทยอยู่จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ที่บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา7 (1) ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์ที่ 4 และที่ 5 แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยภายหลัง ง.มารดาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยกลายเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 แล้วก็ตาม แต่ ง.เกิดในราชอาณาจักรไทยมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 กรณีของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508มาตรา 7 (3) เดิมก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ทวิ ที่แก้ไขใหม่เพราะโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีบิดาซี่งมิได้มีการสมรสกับมารดาเป็นคนสัญชาติไทย จึงไม่เข้ากรณีที่ต้องเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ยังคงมีสัญชาติไทย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับกิจการญวนอพยพ และเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยได้ขอสูติบัตรของโจทก์คืน โดยอ้างว่าเป็นคนญวนอพยพและได้จัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยเพิ่มเติมชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย และสูติบัตรกับสำเนาทะเบียนบ้านก็ระบุสัญชาติของโจทก์ว่าสัญชาติไทย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
โจทก์ที่ 4 และที่ 5 แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยภายหลัง ง.มารดาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยกลายเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 แล้วก็ตาม แต่ ง.เกิดในราชอาณาจักรไทยมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 กรณีของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508มาตรา 7 (3) เดิมก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ทวิ ที่แก้ไขใหม่เพราะโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีบิดาซี่งมิได้มีการสมรสกับมารดาเป็นคนสัญชาติไทย จึงไม่เข้ากรณีที่ต้องเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ยังคงมีสัญชาติไทย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับกิจการญวนอพยพ และเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยได้ขอสูติบัตรของโจทก์คืน โดยอ้างว่าเป็นคนญวนอพยพและได้จัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยเพิ่มเติมชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย และสูติบัตรกับสำเนาทะเบียนบ้านก็ระบุสัญชาติของโจทก์ว่าสัญชาติไทย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการรับบุตรบุญธรรม และการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะให้การจดทะเบียนการหย่าและหนังสือสัญญาหย่ามีผลผูกพันซึ่งโจทก์ก็ทราบถึงเจตนาอันแท้จริงของจำเลยดังกล่าวและโจทก์เองก็ไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับจำเลย การจดทะเบียนหย่าและหนังสือสัญญาหย่าตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 117 นั้น เป็นฎีกานอกประเด็นจากที่จำเลยให้การต่อสู้คดีจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ได้ยกบุตรผู้เยาว์ของโจทก์และจำเลยให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ อำนาจปกครองบุตรจึงตกแก่ ก. ผู้รับบุตรบุญธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฟ้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องดังฎีกาของจำเลยหรือไม่นี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จำเลยก็หยิบยกขึ้นอ้างอิงปัญหานี้ในชั้นฎีกาได้ โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ณ. บุตรผู้เยาว์แก่โจทก์เดือนละ10,000 บาท แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา ดังนี้ แม้ว่าต่อมาโจทก์จะได้ยกเด็กหญิง ณ. ให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า ก. จดทะเบียนรับเด็กหญิง ณ.เป็นบุตรบุญธรรมภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว อีกทั้งบุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ด้วย การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวหามีผลทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาหย่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ยอมชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือทวงถามถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือและการโต้แย้งสิทธิครอบครอง
ย.และส. รวมทั้งจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาก่อน จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของย.และส.ซึ่งได้บุกเบิกมาย.และส. ตายเมื่อ พ.ศ. 2527ก่อนตายได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยครอบครองตลอดมาและได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยชอบ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า ย.และส. หรือจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท จึงอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 ไม่ได้ ดังนั้นศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองว่า จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์หาได้ไม่ เพราะว่าเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสัญชาติและการโต้แย้งสิทธิ: การที่บิดามารดาแจ้งสัญชาติด้วยความสมัครใจ และการที่โจทก์ไม่เคยโต้แย้งสิทธิ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดามารดาโจทก์ทั้งหกแจ้งการเกิดของโจทก์ทั้งหกต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกผู้ใดบังคับให้ไปแจ้ง และ ง. บิดาโจทก์ทั้งหกพาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ก็โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3เป็นคนญวนอพยพโดยมิได้มีผู้ใดบังคับเช่นกัน การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีประกาศให้คนญวนอพยพไปแจ้งต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพนั้นก็น่าจะเป็นประกาศที่มีลักษณะเป็นการประกาศทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่คำสั่งเฉพาะเจาะจงบังคับให้โจทก์ทั้งหกไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ เหตุที่มีชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ก็เนื่องจากบิดาของโจทก์ทั้งหกไปแจ้งต่อจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพ โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพ มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2และที่ 3 ที่เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยพลการทั้งโจทก์ทั้งหกก็ไม่เคยโต้แย้งต่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าโจทก์ทั้งหกมิใช่คนญวนอพยพ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.