คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ครอบครอง, เสพ, และโทษทางอาญา
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15วรรคหนึ่ง, 26 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 67, 76 วรรคหนึ่ง, 91, 92เป็นความผิดหลายกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง จำคุก 2 ปี ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครอง จำคุก6 เดือน ฐานเสพเฮโรอีนและกัญชา จำคุก 1 ปี รวมโทษจำคุก 3 ปี 6 เดือนลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลย 1 ปี9 เดือน ของกลางริบ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง จำคุก 1 ปี ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครอง จำคุก 3 เดือน และปรับ 1,000 บาท รวมโทษจำคุก 2 ปี 3 เดือนและปรับ 1,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คงจำคุก 1 ปี 1 เดือน 15 วัน และปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ความผิดฐานเสพเฮโรอีนและกัญชาศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้สักแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิสูจน์การครอบครองและโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อได้ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อรับจ้างบรรทุกไม้สักแปรรูปของกลางจากต่างจังหวัดมุ่งหน้าจะเข้ากรุงเทพมหานครโดยมีบุคคลที่จำเลยที่1อ้างว่าเป็นเจ้าของไม้ขับรถยนต์เก๋งนำทางแต่จำเลยที่1ถูกจับกุมระหว่างทางพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้ครอบครองไม้สักแปรรูปของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์และการลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2532) เรื่องเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความใน พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลบังคับเช่นกฎหมาย
จำเลยครอบครองเพโมลีนโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนเดียวกับที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก
การมีเพโมลีนไว้ในความครอบครองเพื่อขาย มิใช่เป็นความผิดในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งแต่เดิมจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้ขายได้ ตามสภาพและพฤติการณ์จำเลยอาจไม่รู้ว่าการมีเพโมลีนไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย และหากจำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมีพิสูจน์เช่นว่านั้นได้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.อ.มาตรา 64
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535ให้ยกเลิกมาตรา 13 เดิมและใช้ความใหม่แทน และให้เพิ่มความเป็นมาตรา 13 ทวิการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ และมีโทษตามมาตรา 89ซึ่งมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่มีโทษเบากว่าโทษตามมาตรา 89 เดิม จึงต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่เพราะเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันมียาเสพติดไว้เพื่อขาย และการใช้บทกฎหมายใหม่ที่มีผลต่อโทษ
พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องกันมั่นคงโดยเห็นการกระทำของจำเลยที่2ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งหิ้วถุงพลาสติกซึ่งบรรจุยาม้าของกลางไปส่งให้จำเลยที่1นำไปซุกไว้ที่ใต้เบาะที่นั่งคนขับรถยนต์ของ ส.ชั้นจับกุมจำเลยที่2ก็ให้การรับสารภาพโดยเขียนบันทึกคำให้การด้วยตนเองแม้จำเลยที่2 จะให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน แต่ก็รับว่า บันทึกคำให้การดังกล่าวเป็นลายมือของจำเลยที่2 พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักและ เหตุผลฟังได้ว่าจำเลยที่2 กับพวก ร่วมกันมียาม้าของกลางไว้เพื่อขาย หลังจากที่จำเลยที่2กระทำความผิดได้มีพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(ฉบับที่3)พ.ศ.2535แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518โดยเพิ่มเติมมาตรา13ทวิห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขายนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2แยกจากเดิมซึ่งบัญญัติรวมไว้ในมาตรา13และแก้ไขโทษปรับขั้นสูงให้ต่ำลงถือว่าเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7074/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับโทษ จำเลยอุทธรณ์ขอรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคหนึ่ง,83 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 15 ปีลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75แล้ว จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียงว่าให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74(5) โดยส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนด 1 ปี จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จำเลยฎีกาขอให้ศาลรอลงอาญาให้จำเลยหรือให้ศาลมอบตัวจำเลยให้แก่มารดาเพื่อควบคุมความประพฤติของจำเลยเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งถึงแม้ว่าจำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้รับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการพิจารณาโทษจากพฤติการณ์ร้ายแรง
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 และ 297 ที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยนั้น มิใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้น การที่ถ.และ อ. จะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือไม่ หามีผลต่ออำนาจฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกกระทำแก่ ถ.และ อ.เป็นการกระทำที่รุนแรง มีการใช้ไม้ท่อนและขวดเป็นอาวุธ ร่วมกระทำความผิดด้วยกันหลายคนโดยที่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายก่อเหตุก่อนและผลแห่งการถูกทำร้ายร่างกายครั้งนั้น ถ.ได้รับอันตรายสาหัสถึงกับเลือดคั่งใต้กะโหลกศีรษะ สมองช้ำ เดินไม่ได้ตามปกติ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บรรเทาผลร้ายแห่งคดีแต่อย่างใดเลย จึงไม่มีเหตุอันควรปรานีด้วยการรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษตามกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้บริษัท อ. ไปยื่นคำขออนุญาตแทนเพื่อขอมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง แต่ในขณะที่บริษัท อ.ส่งวัตถุระเบิดตามใบอนุญาตไปให้จำเลยที่ 1ปลัดกระทรวงกลาโหมยังไม่อนุญาตตามคำขอ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันมีวัตถุระเบิด เยลาทีนไดนาไมต์ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดขณะใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับความผิดตามฟ้องให้สูงขึ้นกว่าเดิม จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายและครอบครองกัญชา ศาลฎีกาแก้โทษจำหน่ายกัญชา แต่ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชา จำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวมสองกระทงจำคุก2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ปรับ 10,000บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ข้อหาอื่นให้ยกดังนี้ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะพิพากษาแก้ไขมาก แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ & กฎหมายอาคาร: การบังคับใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลงหลังการกระทำผิด
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริง แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในคดีอาญาหมายแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คาน ก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฏว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วย มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไข มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไข มีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆและศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร แม้ยินยอมก็ผิดได้ ศาลพิจารณาโทษรอการลงโทษ
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารมุ่งหมายถึงการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรในทางเพศ แม้การกระทำของจำเลยจะไม่เป็นความผิดฐานอนาจาร เนื่องจากผู้เสียหายยินยอม แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารได้ และแม้บิดามารดาของผู้เสียหายจะออกไปนอกบ้านขณะที่ผู้เสียหายออกจากบ้านและจำเลยได้พาไปที่ขนำก็ตาม ยังถือว่าผู้เสียหายอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนอนค้างคืนที่ขนำในสวนโดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย แล้วจำเลยได้กอดปล้ำหอมแก้มและจับหน้าอกผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยกับจำเลยอันเป็นกรณีตามมาตรา 319 ซึ่งมีโทษเบากว่าศาลย่อมลงโทษจำเลยตามมาตรา 319 ได้ เพราะการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจะโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตาม ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิดทั้งสองกรณี
of 36