คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับโดยศาลอุทธรณ์ไม่ถือเป็นการแก้บท ฎีกาโจทก์เกี่ยวกับดุลพินิจโทษจึงต้องห้าม
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุกจำเลย3 เดือน และปรับ และศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้ ไม่ลงโทษปรับนั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ฉะนั้น การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นฎีกาเกี่ยวด้วยดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลซึ่งเป็นปัญหาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวระหว่างฎีกาและการปรับนายประกัน: ศาลพิจารณาโทษจำคุกและปรับควบคู่กันได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึงตลอดชีวิต และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ให้จำคุกจำเลย 7 ปี และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วย จำเลยฎีกาและร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาศาลอนุญาตให้ประกัน ตีราคา 100,000 บาท การปล่อยชั่วคราวโดยให้ประกันตัวจำเลยระหว่างฎีกาเป็นราคา 100,000 บาท ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการเรียกประกันเกินควรและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 แต่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับโทษทางอาญาในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การพิจารณาโทษปรับรายตัวและการกักขังแทนค่าปรับ
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติความว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้น ถ้าจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าของอัตราราคานั้น ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกิน 4 เท่า ย่อมขัดบทกฎหมายมาตราดังกล่าว และจะนำมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับไม่ได้ เพราะได้มีบัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยพระราชบัญญัติศุลกากรต่างหากแล้ว
ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่กำหนดวันกักขังแทนค่าปรับไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 10 ควรจะกักขังได้นานกว่านั้น แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาแก้ โจทก์ฎีกาขอให้แก้ไข ศาลฎีกาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับโทษทางศุลกากร การกำหนดโทษปรับรายตัว การกักขังแทนค่าปรับ และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติความว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้น ถ้าจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าของอัตราราคานั้น ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกิน 4 เท่าย่อมขัดบทกฎหมายมาตราดังกล่าว และจะนำ มาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับไม่ได้ เพราะได้มีบัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยพระราชบัญญัติศุลกากรต่างหากแล้ว
ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่กำหนดวันกักขังแทน ค่าปรับไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ควรจะกักขังได้นานกว่านั้นแต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาแก้ โจทก์ฎีกาขอให้แก้ไข ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ฎีกาแก้ไขได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงินคนละ 36,068 บาท บังคับค่าปรับตามมาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลยทั้งสามเป็นเงิน 36,068 บาท โดยแยกเรียงตัวคนละ 12,022 บาท 66 สตางค์ ไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 หากต้องกักขังแทนให้กักขังคนละ 8 เดือน ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสินบนนำจับการพนัน: ต้องมีโทษปรับก่อน จึงจะจ่ายจากเงินของกลางได้
ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 15 ประกอบกับพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2490 นั้น ในกรณีมีผู้นำจับ ให้อัยการร้องขอและให้ศาลสั่งให้ผู้กระทำผิดใช้เงินสินบนแก่ผู้นำจับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าปรับด้วยนั้น เงินสินบนนำจับนี้ ศาลจะสั่งให้จ่ายก็ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับแก่ผู้กระทำผิดด้วย เพราะเป็นเกณฑ์คำนวณว่าผู้กระทำผิดจะต้องจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับเท่าใด
ในคดีที่ศาลลงโทษจำคุกแต่อย่างเดียว โดยไม่ลงโทษปรับ ศาลไม่สั่งเรื่องให้จำเลย จ่ายเงินสินบนนำจับ แม้คดีนั้นจะมีเงินของกลางที่ศาลสั่งให้ริบอยู่
การจ่ายเงินของกลางเป็นเงินสินบนนำจับนั้น ก็ต้องมีการวางโทษปรับเป็นหลักด้วยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินสินบน จึงเอาเงินของกลางจ่ายเป็นค่าสินบนนำจับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเริ่มนับโทษปรับรายวันตามกฎหมายเฉพาะ: ต้องนับจากวันที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด
เมื่อกฎหมายไม่ระบุไว้ชัดเจน จะแปลให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้
จำเลยจะกระทำผิดหรือไม่นั้น ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
คำว่า "จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง" ในพระราชบัญญัตินี้ หมายความว่าให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด จะนับตั้งแต่วันสอบสวนไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงคดีปรับเกินสองพันบาท: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาได้หากลดโทษแล้วไม่เกินเกณฑ์
คดีที่มีโทษปรับเกินกว่าสองพันบาทเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงด้วยวาจาหากศาลจะวางโทษและลดโทษแล้วเหลือโทษปรับไม่ถึงสองพันบาท ศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษปรับจากการกระทำผิดจราจร ศาลสามารถลงโทษตามบทที่แก้ไขได้หากโทษไม่เปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2477 ม.14,29,66 แต่ปรากฎว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ. 2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้เคยต้องโทษปรับ: ศาลฎีกาตัดสินว่าเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญาไม่ได้หากเคยติดโทษปรับ
โทษปรับเป็นโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 12 ทั้งเป็นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา18 ด้วยแต่การจะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92(กฎหมายอาญามาตรา72) นั้น จะกระทำได้เฉพาะผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น ผู้ที่เคยต้องโทษปรับจะเพิ่มโทษด้วยหาได้ไม่
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องโทษจำคุก 1 เดือนปรับ 150 บาท ฐานเล่นการพนันสลากกินรวบ แต่โทษจำคุกศาลให้รอการลงอาญาไว้คงปรับแต่สถานเดียวเมื่อจำเลยมากระทำผิดในคดีนี้อีกภายในกำหนดดังนี้จะเพิ่มโทษจำเลยหาได้ไม่
of 15