พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากผู้สลักหลังโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิจะเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน ส.ค.1 ที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอ ทำให้การบังคับโอนไม่มีผล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดิน ส.ค.1 ให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย ซึ่งเท่ากับขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงไม่อาจจะโอนให้กันได้ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 เมื่อตามกฎหมายไม่อาจจะโอนกันได้ ก็จะถือว่าจำเลยผิดสัญญา เพราะไม่ไปจดทะเบียนขายภายในกำหนดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ถูกริบ: การโอนหลังคำพิพากษาไม่ทำให้ผู้รับโอนมีสิทธิเรียกร้อง
เมื่อศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์แล้ว จึงได้มีการโอนรถยนต์นั้นมาเป็นของผู้เช่าซื้อ แล้วผู้เช่าซื้อได้โอนให้ผู้ร้องอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้น รถยนต์ย่อมตกเป็นของแผ่นดินการโอนให้แก่กันภายหลังนั้น ผู้รับโอนย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ ฉะนั้น ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของที่แท้จริงที่จะยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 เพราะขณะที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง รถยนต์นั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้ออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแม้ตื้นเขินก็ยังคงเป็นของรัฐ เอกชนไม่มีสิทธิครอบครองหรือโอน
ลำคลองอันเป็นทางน้ำที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาร่วมกัน.เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304. แม้ลำคลองนั้นได้ตื้นเขินขึ้นโดยธรรมชาติ. ไม่มีสภาพเป็นลำคลองมาประมาณ 30 ปีเศษ. และไม่มีราษฎรได้ใช้ประโยชน์ก็ตาม. แต่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพลำคลองนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง และทางราชการยังถือเป็นที่หลวงหวงห้ามลำคลองนั้นจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. จะโอนแก่กันมิได้. และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินก็ไม่ได้. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305,1306.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบทรัพย์ที่ยึดหลังขายทอดตลาด: ผู้รักษาทรัพย์ต้องส่งมอบให้ผู้ซื้อ แม้มีข้อขัดข้องในการโอน
เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบที่ดินที่ไปยึดไว้ให้จำเลยคนหนึ่งเป็นผู้รักษาจำเลยคนนั้นจึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ดูแลแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ชั่วคราว เมื่อศาลขายทอดตลาดที่ดินและโจทก์ซื้อไปแล้วศาลก็ต้องให้ผู้รักษาทรัพย์มอบทรัพย์ที่รักษาไว้แก่ผู้ซื้อส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินยังขัดข้องในการที่จะทำนิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวให้ผู้ซื้อนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งจะต้องว่ากล่าวกันต่อไปไม่เกี่ยวกับการที่ศาลจะให้ผู้รักษาทรัพย์มอบทรัพย์ที่ตนรักษาให้โจทก์ผู้ซื้อแต่อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในบำเหน็จข้าราชการสามารถโอนให้ผู้รับพินัยกรรมได้หลังผู้รับบำนาญเสียชีวิต แม้มีข้อจำกัดการโอนในขณะยังมีชีวิตอยู่
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า "สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้" นั้นหมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จ ให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้วเมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมโอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้วเมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมโอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น.ส.3 ไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่เป็นเพียงการรับรองการทำประโยชน์และสิทธิในการโอน
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เป็นเพียงคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว และให้โอนกันได้เท่านั้น หาใช่เป็นหลักฐานกรรมสิทธิ์ว่าผู้มีชื่อในหนังสือนั้นเป็นเจ้าของที่ดินทางทะเบียนเช่นโฉนดที่ดินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้มัสยิด แม้มัสยิดยังไม่ได้เป็นนิติบุคคลเมื่อยกให้ แต่เมื่อเป็นนิติบุคคลแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องกรรมสิทธิ์คืน
การยกที่ดินให้มัสยิดโจทก์ขณะยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลจะสมบูรณ์หรือไม่ก็ตามหากต่อมามัสยิดโจทก์มีสภาพเป็นนิติบุคคลขึ้น และมีความประสงค์ให้จำเลยซึ่งมีฐานะเป็นเพียงผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นแทนมัสยิดส่งมอบที่ดินคืนจำเลยย่อมหมดหน้าที่ที่จะยึดถือที่ดินไว้แทนมัสยิดโจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ตึกส่วนควบที่ดิน และการโอนโดยไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยได้เช่าที่ดินของผู้ร้องขัดทรัพย์ปลูกตึก ๆ ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 107 จำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกนี้ได้ ก็อาศัยสัญญาเช่าที่ดิน และตึกนี้ย่อมตกเป็นของผู้ร้องไปในตัวตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ฉะนั้น เมื่อจำเลยจะโอนตึกรายนี้ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเมื่อไร ไม่จำต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(อ้างฎีกา 561/2488)
(อ้างฎีกา 561/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วแลกเงินไม่สมบูรณ์และการโอนโดยส่งมอบ
หนังสือตราสารที่ขาดรายการตาม มาตรา 909 ย่อมไม่เป็นตั๋วแลกเงินที่สมบูรณ์ และเมื่อไม่มีข้อความว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถืออยู่ด้วยแล้ว เพียงการส่งมอบเท่านั้นยังไม่เป็นการโอนโดยชอบ
หนังสือตราสารซึ่งไม่มีลักษณะว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่งหรือตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งนั้นย่อมไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน
หนังสือตราสารซึ่งไม่มีลักษณะว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่งหรือตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งนั้นย่อมไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน