พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ105,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ. พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ. พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ. นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ. ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยัง ภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบ คำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย อยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็น ฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลย คืนเงินมัดจำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, การโอนกรรมสิทธิ์, มัดจำ, สัญญาแลกเปลี่ยน, หน้าที่ชำระราคา
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยมิได้ระบุว่าหากโจทก์ยืมเงินจากธนาคารไม่ได้ ให้ถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน โจทก์จึงจะนำเหตุที่ตนกู้ยืมเงินไม่ได้มาบอกเลิกสัญญากับจำเลยหาได้ไม่ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่อาจชำระราคาค่าบ้านและที่ดินให้แก่จำเลยได้ ทั้งการที่จำเลยโอนบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตนก็เป็นการกระทำโดยชอบและสุจริตเพราะดำเนินการไปโดยได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาท ดังกล่าวได้ แม้สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยจะระบุว่าโจทก์มอบบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นค่ามัดจำในการ ซื้อบ้านและที่ดินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้ส่งมอบบ้าน ดังกล่าวให้แก่จำเลย บ้านและที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่มัดจำ ดังนี้แม้โจทก์จะผิดสัญญาจำเลยก็ไม่อาจริบบ้านและที่ดินพิพาทได้ อย่างไรก็ตามการที่โจทก์และจำเลยต่างต้องโอนกรรมสิทธิ์ ในบ้านและที่ดินให้แก่กันนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาแลกเปลี่ยน ทรัพย์สิน ซึ่งต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 518-520 โดยจำเลยอยู่ใน ฐานะผู้ซื้อบ้านและที่ดินพิพาทส่วนโจทก์เป็นผู้ขายเมื่อจำเลย โอนบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของตนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้อง ชำระราคาค่าบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับมัดจำคืน
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ 6 งวด เริ่มงวดแรกวันที่ 15 มีนาคม 2533 งวดสุดท้ายวันที่ 15สิงหาคม 2533 ส่วนที่เหลือ 358,800 บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 388 การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ 5 ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตาม มาตรา 387 การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัท ท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว แม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การผิดสัญญาจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ และผลของการนัดโอนหลังผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ 6 งวด เริ่มงวดแรกวันที่15 มีนาคม 2533 งวดสุดท้ายวันที่ 15 สิงหาคม 2533ส่วนที่เหลือ 358,800 บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ 5 ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตามมาตรา 387 การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัทท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวแม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญาจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลย ไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนด ไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนด เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์ มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัยต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง การเปลี่ยนมือผู้เช่าซื้อไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า กรมธรรม์นี้จะสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้ผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่เอาประกันภัยโดยแท้จริง การที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท จ.แล้วโอนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อแทนโดยมิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 2เข้าสวมสิทธิแทนจำเลยที่ 3 เท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวต่อโจทก์ด้วย แม้โจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์โดยขายไปในสภาพที่ถูกชนก็ตาม จำเลยที่ 4ก็ต้องชดใช้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนกรรมสิทธิ์แทนกัน และข้อตกลงนอกศาลที่ไม่ผูกพัน
โจทก์ที่1ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวที่ระบุไว้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่1เพื่อให้จำเลยที่1ไปโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยที่2ด้วยจำเลยที่1จึงเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนของทรัพย์สินที่โจทก์ที่1จะต้องโอนให้แก่จำเลยที่2ไว้แทนจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่2ประสงค์จะให้จำเลยที่1ใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่1และจำเลยที่2ได้วางเงินในส่วนที่จำเลยที่2จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ที่1ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่1ได้จ่ายแทนไปก่อนไว้ที่ศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยที่1รับไปแล้วจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามที่จำเลยที่2มีความประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่2จึงขอให้บังคับคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ ส่วนที่จำเลยที่1อ้างว่าจำเลยที่2ได้ตกลงกับจำเลยที่1ว่าไม่ประสงค์จะรับที่ดินและตึกแถวที่จำเลยที่1ถือกรรมสิทธิ์แทนและขอโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่1ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่1ได้ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2แล้วนั้นข้อตกลงกันดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าศาลศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ดังกล่าวและรับบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน: สิทธิของผู้รับโอนที่ดีกว่าเมื่อผู้โอนมีสิทธิไม่สมบูรณ์
จำเลยกับ น.จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยผู้โอนขายกรรมสิทธิ์ให้ และตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยและ น.รับโอนโดยไม่สุจริตข้อเท็จจริงต้องฟังว่า จำเลยและ น.รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว โจทก์อ้างการได้ที่ดิน-พิพาทมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแต่เมื่อมิได้จดทะเบียนจึงยกขึ้นต่อสู้ น.ไม่ได้เมื่อที่ดินส่วนของ น. น.มีสิทธิดีกว่าโจทก์ ต่อมาที่ดินส่วนนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห. เมื่อ ห.ถึงแก่กรรม แม้จำเลยและ ถ.ผู้รับโอนมรดกที่ดินส่วนของ น.มาโดยไม่เสียค่าตอบแทน โจทก์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนใช้ยันจำเลยได้ เพราะสิทธิของโจทก์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ น.รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต กรณีนี้จะนำหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน" มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะสิทธิของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1299 ซึ่งเป็นบทยกเว้นหลัก-กฎหมายทั่วไป โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอากรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในที่ดิน และฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกและการแบ่งปันมรดกโดยผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขีเจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6 แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่นเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1722
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่นเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจทำให้การโอนกรรมสิทธิ์เป็นโมฆะไม่ได้ ผู้รับมอบอำนาจซื้อโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ช่วยค้ำประกันหนี้กู้ยืมโดยจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่มีข้อความกรอกไว้มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อและแจ้งว่าถ้ากรอกข้อความไปไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่ดำเนินการให้ โจทก์เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวพร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและโฉนดที่ดินพิพาทให้ไป การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 จะปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโดยกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1มีอำนาจขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ก็ตาม ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนซื้อขายเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 แล้วจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารจนกระทั่งจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ดังกล่าวโดยตรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ & สิทธิสุจริตผู้ซื้อ: เมื่อฝ่ายจำเลยอ้างการโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่สุจริต จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
คดีไม่มีการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้ฝ่ายโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วไม่มีฝ่ายใดสืบพยาน การที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีก็จะต้องถือหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส.ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่า โจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์
ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร.และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร.ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ ป. และ ป.ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับร.และ ป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมด และให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส.ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่า โจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์
ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร.และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร.ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ ป. และ ป.ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับร.และ ป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมด และให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต