คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางในที่ดินของผู้อื่น: การได้รับอนุญาตไม่ใช่สิทธิภารจำยอม, การโอนสิทธิเมื่อเจ้าของเปลี่ยน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่610เป็นของบิดาจำเลยที่1เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วนเมื่อบิดาจำเลยที่1ถึงแก่ความตายจำเลยที่1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสองขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่1บิดาจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่1ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าวการที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาทจึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่1และตัวจำเลยที่1นั่นเองโจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่งเมื่อปรากฎว่าโจทก์ที่1เพิ่งจะซื้อที่่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2524โจทก์ที่2ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2527นับถึงวันฟ้องวันที่31มกราคม2534ยังไม่ครบ10ปีถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1ก็หาอาจได้สิทธิภารจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่ ที่โจทก์ที่2อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จำเลยที่1เคยทำสัญญาไว้ว่าเมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้นก็ปรากฎว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่1กับส.มิได้กระทำกับโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่2ได้หย่าขาดกับส.แล้วและมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภารจำยอมไว้ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างจำเลยที่1กับส. ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่2จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่1ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้ ขณะที่โจทก์ที่2สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่2จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาตเมื่อจำเลยที่2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีกโจทก์ที่2จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออกเมื่อโจทก์ที่2ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่2จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่2ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิหุ้นส่วนและการยุติสิทธิเรียกร้องเมื่อผลประโยชน์โอนเป็นหุ้นบริษัทอื่น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท 2,000 หุ้น โดยไม่ได้ออกเงิน ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัท ก.ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก.แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไป เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก.อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้ว ข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไป ดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่ แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับขนของทางทะเลและการไม่มีอำนาจฟ้องของผู้รับโอนสิทธิเมื่อสินค้าเสียหายก่อนถึงปลายทาง
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 มาตรา 627 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง" แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง เพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่ง บริษัท ย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัท ย. บริษัท ย.จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ด้วยเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งหลายทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การโอนสิทธิและผลกระทบต่อการฟ้องเพิกถอนใบจองเมื่อมีการโอนที่ดินไปแล้ว
จำเลยรับว่าใบจองตามที่ถูกโจทก์ฟ้อง จำเลยออกทับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แล้ว และก่อนฟ้องจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้ว ส่วนโจทก์แถลงรับว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.2 ใบจองเดิมของจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้วจริง ดังนี้ หากที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์กับที่ดินตามใบจองของจำเลยเป็นคนละแปลงกัน จำเลยก็ไม่ได้ออกใบจองทับที่ดินของโจทก์โจทก์ย่อมไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือได้รับความเสียหายใด ๆ จากการที่จำเลยออกใบจองและโจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปยื่นคำร้องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองตามใบจองได้ ที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยและเห็นว่าเมื่อจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ดังกล่าวให้แก่ ก.ไปแล้ว ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจใด ๆ ที่จะไปยื่นเรื่องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองใบจอง (น.ส.2) ตามคำขอท้ายฟ้องได้ และพิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทการเช่าซื้อรถยนต์: การชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและการโอนกรรมสิทธิ์
คดีที่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้เถียงกันว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่โจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท ส่วนคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยร่วมกันโอนใส่ชื่อโจทก์ในสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์พิพาทนั้นเป็นเพียงผลจากการที่ศาลได้พิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ อันได้แก่ราคารถยนต์นั่นเอง ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นค่าเช่ารถยนต์และชำระหนี้มิใช่ค่าเช่าซื้อนั้นก็เท่ากับปฏิเสธอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาท และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน และยกขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดจากการร้องเรียนกลั่นแกล้งและข่มขู่ผู้อื่นทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจก่อสร้างและการโอนสิทธิการเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด โดยบรรยายมาในคำฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า การร้องเรียนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการจงใจทำละเมิดและกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีเจตนาไม่ให้โจทก์ทำการก่อสร้างอาคารได้ตามปกติ ทำให้การก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด อีกทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และบริวารได้พูดจาข่มขู่บุคคลภายนอกที่มาติดต่อขอรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ว่า หากรับโอนสิทธิการเช่าไปก็จะมีความเดือดร้อนเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ยังมีข้อพิพาทกับโจทก์อยู่ ทำให้อาคารที่โจทก์สร้างขึ้น 4 หลัง มีผู้รับโอนสิทธิการเช่าเพียงหลังเดียว ส่วนอีก 3 หลัง ไม่มีผู้ใดกล้าเช่าช่วงหรือรับโอนสิทธิการเช่า ดังนี้ การกระทำตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช็คและการขาดอายุความฟ้องไล่เบี้ย
เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อ จึงย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วส่งมอบให้ธนาคาร ก.เพื่อขายลดเช็คนั้น ย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 920, 989ธนาคาร ก.จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ธนาคาร ก.นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจึงมิใช่การเรียกเก็บเงินในฐานะที่โจทก์ยังเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทแต่อย่างใด ครั้นต่อมาเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่ธนาคาร ก.และรับเช็คพิพาทคืนมา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สลักหลังหาใช่ผู้ทรงเช็คขณะนั้นไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้ภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์เข้าถือเอาเช็คพิพาทและใช้เงินตามป.พ.พ.มาตรา 1003 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ศาลสั่งให้โอนสิทธิได้ หากโจทก์ชำระเงินคงเหลือและค่าเช่ารายเดือน
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารกับการเคหะแห่งชาติ ต่อมาจำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไป แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโดยโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายกันบ้างแล้ว ย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ร่วมและการโอนสิทธิในที่ดินหลังประนีประนอมยอมความ
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่า เมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลง เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 2 ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 โดยเหตุนี้ แม้โจทก์ที่ 2 จะถอนคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ที่ 1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่ง ฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญา ณ วันที่ 26 ธันวาคม2531 เป็นต้นไป จึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสอง ดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิด จึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไม่รับโอนสิทธิเช่า และการคิดค่าเสียหายจากการอยู่อาศัยเกินสัญญา
สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้ โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัท ม.และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม.ต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด 1 ปีแรก หากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญา โจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาเช่าครบกำหนด 1 ปีแรกวันที่ 20 พฤศจิกายน 2531 และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3 ปีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ 5 เดือน แต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า 1 ปีแรก ล่วงพ้นไปแล้วถึง 1 ปี 6 เดือน จะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีก ทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1 ปีแรกแล้ว โจทก์ได้ถาม ส.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัท ม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ 60,000 บาท จำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ 65,000 บาท จึงไม่ต้องการรับโอน ดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า 1 ปีแรก ออกไปถึง1 ปี 6 เดือน ประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้ว คำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพัน เมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้า สมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 300,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไป อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลง แต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใด หรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามา ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่า ไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้
of 49