คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีแรงงาน จำเลยมีสิทธิขอพิจารณาใหม่ได้ แม้พ้นกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
กรณีศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา แล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและออกหมายเรียก ให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกแล้ว ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ แต่การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด และพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ซึ่งจำเลย มีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ที่ศาลแรงงานส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านเลขที่อื่นตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นคำฟ้อง หากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบลดหนี้ต้องมีเหตุตามกฎหมายเท่านั้น การออกเพื่อแก้ไขการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ชอบ
การออกใบลดหนี้ใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/10 นั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าจะออกใบลดหนี้ได้ต้องเป็นเรื่องมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากผิดข้อตกลง สินค้าชำรุดเสียหายหรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด หรือมีการคืนสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/10 เท่านั้น
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาส เพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุน ก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไป โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้ว จึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10 (1) (2) (3) (4) ดังนั้น การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบลดหนี้ต้องเป็นไปตามเหตุที่กฎหมายกำหนด หากออกโดยไม่มีเหตุตามประมวลรัษฎากรแล้ว ถือเป็นการออกเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การออกใบลดหนี้ใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/10 นั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าจะออกใบลดหนี้ได้ต้องเป็นเรื่องมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากผิดข้อตกลง สินค้าชำรุดเสียหายหรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด หรือมีการคืนสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/10 เท่านั้น
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาสเพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุนก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไปโจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้วจึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10(1)(2)(3)(4) ดังนั้นการที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับศพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาเฉพาะส่วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ฉ.ผู้ตายอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไป เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลย 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับศพผู้เสียชีวิตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่จำกัดตามมูลค่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ฉ. ผู้ตายอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไป เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยร่วม และพิพากษาโดยไม่แก้ไขกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกัน ร่วมกันชำระค่าเสียหายเนื่องจากรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากโจทก์สูญหายไป จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และอ้างเหตุว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อได้ประกันภัยไว้กับบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ขอให้เรียกบริษัทสินมั่นคงประกันภัยจำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นจำเลยร่วม อันเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) ศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยร่วมให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำให้การของจำเลยร่วมจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยทั้งสาม เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และยกฟ้องสำหรับจำเลยร่วม โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ส่วนจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอชำระค่าเสียหายน้อยลง และขอให้จำเลยร่วมร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยด้วย เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยร่วมยังเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามและจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้เฉพาะโจทก์โดยไม่ได้ มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้แก่จำเลยร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235 และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสามพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา และที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีคำสั่งให้แก้ไขเกี่ยวกับกระบวนพิจารณา ดังกล่าวเสียก่อน กับที่ศาลชั้นต้นไม่นัดให้จำเลยร่วมมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยมิชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา จึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 และต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามฎีกาต่อมายังมิได้ผ่านการพิจารณาและพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามจึงยังไม่มีสิทธิที่จะฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามให้แก่จำเลยร่วม แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีและยกฎีกาของจำเลยทั้งสาม คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้จำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบตามกฎหมาย เนื่องจากจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองที่ดินจริง
จำเลยมิใช่ผู้มิสิทธิครอบครองที่พิพาท ฉะนั้น การออก น.ส.3 ก. เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองและ ได้ทำประโยชน์ในที่พิพาท จึงเป็นการออก น.ส.3 ก. ที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามสิทธิของโจทก์ จะบังคับให้จำเลยซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทโอนสิทธิครอบครอง ให้แก่โจทก์หาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานและคำขอพิจารณาใหม่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัดรูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายของจำเลยเป็นประการใดก็ตาม คดีของจำเลยย่อมจะไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้เช่นเดิม ฎีกาของจำเลยเช่นนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6933/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ การกำหนดจำนวนเงินชำระ และการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
ข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นทั้งยี่สิบสามฉบับระหว่าง ท. ซึ่งเป็นผู้ซื้อกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ขาย ที่ได้ยื่นเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดนั้น เป็นสัญญาที่ทำกันขึ้นขณะที่ ท. ยังเป็นหน่วยงานหนึ่งของผู้ร้องและยัง มิได้โอนไปเป็นหน่วยงานของบริษัท อ. สิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้นจากสัญญาทั้งยี่สิบสามฉบับจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน แม้ในระหว่างที่สัญญายังมีผลผูกพันอยู่ ท. จะไม่เป็นหน่วยงานของผู้ร้องต่อไปแล้ว แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานหรือพฤติการณ์อย่างใด ๆ อันแสดงให้เห็นว่าได้มีการโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาทั้งยี่สิบสามฉบับจากผู้ร้องไปยังบริษัท อ. ด้วย เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ร้องในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธินำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้ เมื่อบริษัทผู้ร้องมีหนังสือไปถึงสมาคมการค้ายางนานาชาติเพื่อขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ และสมาคมการค้ายางนานาชาติได้ดำเนินการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามที่ได้ยื่นเสนอไป ย่อมฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ยื่นเสนอข้อพิพาทคดีนี้ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยตามสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน รวม 23 ฉบับ ซึ่งระบุให้คู่สัญญาปฏิบัติตามระเบียบของสมาคมการค้ายางนานาชาติในกรณีมีข้อพิพาทเกิดขึ้น โดยต้องมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เป็นผู้ทำการชี้ขาด และกระบวนการเสนอแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ได้ดำเนินการไปอย่างถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมดังกล่าวแล้ว เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 30
คดีนี้ผู้ร้องร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ข้อที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านไม่เคยทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกับผู้ร้องนั้น ไม่ใช่กรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และ 35 ทั้งอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าผู้ร้องกับผู้คัดค้านทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกันจำนวนยี่สิบสามฉบับ และผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา ที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวก็เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่เมื่อเหตุที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวไม่ใช่เหตุใดเหตุหนึ่งที่ศาลอาจมีคำสั่งปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ จึงเป็นข้อที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจรับวินิจฉัยเพื่อพิจารณาทบทวนคำชี้ขาดในข้อดังกล่าวนั้นได้อีก
แม้ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 จะกำหนดไว้ว่า คำชี้ขาดต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่ออนุญาโตตุลาการ โดยระบุเหตุผลแห่งข้อวินิจฉัยทั้งปวงไว้โดยแจ้งชัด แต่ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการภายในประเทศเท่านั้น ไม่มีบทมาตราใดตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำมาใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศด้วย และตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ ก็ระบุให้ศาลอาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับความถูกต้องของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้แต่เพียงว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 (4) เท่านั้น ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ไม่จำต้องระบุเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ด้วยเสมอไป
ในคำร้องขอข้อ 6 ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายมีข้อความว่า ผู้ร้องไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ จึงต้องยื่นคำร้องขอนี้ต่อศาลเพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ โดยชำระเงินจำนวน 15,320,332.56 บาท ให้ผู้ร้อง พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันยื่นคำร้องขอนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้ผู้ร้องครบถ้วน เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ร้องได้ขอให้บังคับผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันยื่นคำร้องขอจำนวน 15,320,332.56 บาท ไม่ใช่เงินตราต่างประเทศ ทั้งไม่อาจตีความหมายถ้อยคำตามคำร้องขอข้อ 6 ดังกล่าวว่าไม่ใช่คำขอบังคับ เป็นแต่เพียงเพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้นได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเฉพาะจำนวนเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการรวมยี่สิบสามฉบับเท่านั้น ไม่รวมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องตามคำร้องขอของผู้ร้อง โดยให้ชำระเป็นเงินตราต่างประเทศ แม้จะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยมาด้วย ก็เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานสภา อบต. การเรียกประชุมสภาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องได้ความว่า เจ้าพนักงานผู้นั้นได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเฉพาะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนตามกฎหมายหรือระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำโดยตรงเท่านั้น
จำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 1 เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภออนุมัติและมีคำสั่งประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญและชอบด้วย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง ในการเรียกประชุม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 54 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดประชุม เว้นแต่กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องเรียกประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม เมื่อนายอำเภอได้มีประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญตามคำร้องขอของจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมตามวันที่กำหนดย่อมต้องเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคือนายอำเภอเท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เมื่อนายอำเภอไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เรียกประชุม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะเรียกประชุมสมัยวิสามัญดังกล่าวได้ แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 พร้อมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมประชุม โดยมีจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยวิสามัญโดยชอบตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หมวด 2 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่โดยตรงต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หากมติที่ประชุมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งเก้าก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ
of 64