พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญาและการแจ้งผลคดี ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจพนักงานอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาและการไม่อุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรก บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเช่นว่านี้หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่จำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไปเป็นการขอให้พิจารณาใหม่ จึงต้องห้าม และกรณีไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีได้เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีด้วยเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น มิได้เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ส่งหมายเรียกที่ตู้ไปรษณีย์ และโจทก์ทราบแล้ว ย่อมไม่อุทธรณ์ได้
เจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกถึงโจทก์รวม 2 ครั้งโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แจ้งให้โจทก์ไปให้ถ้อยคำชี้แจงประกอบการตรวจสอบไต่สวน และให้โจทก์ส่งมอบบัญชีพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบด้วย พนักงานไปรษณีย์มิได้นำส่งหมายเรียกยังภูมิลำเนาของโจทก์ แต่นำไปส่งไว้ที่ตู้ไปรษณีย์ซึ่งโจทก์เช่าไว้ โจทก์ให้พนักงานของโจทก์ไปรับหมายเรียกดังกล่าวมาโดยถูกต้อง ถือได้ว่าโจทก์ทราบหมายเรียกของจำเลยโดยชอบแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการส่งหมายเรียกไม่ถูกต้อง และถือเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของจำเลยหาได้ไม่ ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหมายเรียกของจำเลยโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง และแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระไปยังโจทก์ได้ และในกรณีนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) เมื่อโจทก์ถูกต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ต่อศาลได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การพ้นกำหนด ไม่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งรับคำให้การอ้างเหตุว่าตนมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การพร้อมกับยื่นคำให้การมาด้วย โดยยื่นมาก่อนที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ขยายระยะเวลาไม่ได้เพราะการขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยมายื่นวันนี้พ้นกำหนด 8 วันแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย ให้ยกคำร้อง' คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดี ตามมาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องขอรับคำให้การพ้นกำหนด ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งรับคำให้การอ้างเหตุว่าตนมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การพร้อมกับยื่นคำให้การมาด้วยโดยยื่นมาก่อนที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ขยายระยะเวลาไม่ได้เพราะการขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยมายื่นวันนี้พ้นกำหนด 8 วันแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย ให้ยกคำร้อง' คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดี ตามมาตรา 226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องขอรับคำให้การหลังพ้นกำหนด ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยที่5ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งรับคำให้การอ้างเหตุว่าตนมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การพร้อมกับยื่นคำให้การมาด้วยโดยยื่นมาก่อนที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า'ขยายระยะเวลาไม่ได้เพราะการขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จำเลยมายื่นวันนี้พ้นกำหนด8วันแล้วทั้งไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยให้ยกคำร้อง'คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตามมาตรา226(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตแก้ฟ้องไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่อุทธรณ์ได้ตามมาตรา 196
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง มิใช่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีบางส่วน แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเพราะมิได้ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำขอฉุกเฉินถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยไม่ชอบ
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 267 วรรคแรก เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอในเหตุฉุกเฉินแล้ว คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2936-2938/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับฟ้อง และไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ มีคำสั่ง ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ย่อมมิใช่คำสั่งไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็น คำสั่งซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 226