พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ การชำระเงินโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนไม่ได้ และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับผู้ว่าจ้างแทนการที่จำเลยที่ 1 จะต้องวางเงินมัดจำในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างเหมาทำการก่อสร้างอาคารให้ผู้ว่าจ้าง หนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาที่โจทก์ผูกพันต่อผู้ว่าจ้างเพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและไม่ชำระหนี้เท่านั้น โจทก์มิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกันให้ไว้ต่อผู้ว่าจ้างขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างหนังสือค้ำประกันจึงมิใช่มัดจำ และเมื่อตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่มีข้อความให้ผู้ว่าจ้างริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ว่าจ้างจึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1722/2513)
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดหนี้เช็ค - ผู้ทรงเช็คมีสิทธิไล่เบี้ยทันทีเมื่อเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์ยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สั่งจ่ายได้ทันที ผู้สั่งจ่ายย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 ประกอบด้วยมาตรา 989 และมาตรา 204 เมื่อผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรม หน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ย่อมตกทอดไปยังกองมรดกของผู้ตายโดยผลของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายต้องรับผิด โดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีก
แม้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ลูกหนี้ร่วมที่มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องอายุความ
แม้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ลูกหนี้ร่วมที่มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: เริ่มนับจากวันที่ถูกฟ้อง ไม่ใช่เมื่อชำระเงินตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 สลักหลังให้โจทก์โจทก์สลักหลังต่อให้ จ. จ. นำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จึงฟ้องโจทก์เป็นจำเลยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2514 แม้ในคดีที่ จ.ฟ้องโจทก์นั้น โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2515 โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้ จ. และเข้าถือเอาเช็ครายพิพาทนี้ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เข้าถือเอาเช็คและใช้เงินตามความหมายของมาตรา 1003 ตอนแรก เพราะโจทก์ในฐานะผู้สลักหลังถูกฟ้อง มิใช่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ จ. และเข้าถือเอาเช็คไว้ไล่เบี้ย เมื่อโจทก์มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองในวันที่ 10 เมษายน 2515 พ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่โจทก์ถูกฟ้องแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003
กรณีดังกล่าวข้างต้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003ได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษต่างหากแล้วการนับอายุความจึงต้องบังคับไปตามมาตราดังกล่าว จะนำมาตรา 169 มาใช้บังคับโดยถือว่าให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้คือวันที่ 3 เมษายน 2515 เป็นต้นไป หาได้ไม่
กรณีดังกล่าวข้างต้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003ได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษต่างหากแล้วการนับอายุความจึงต้องบังคับไปตามมาตราดังกล่าว จะนำมาตรา 169 มาใช้บังคับโดยถือว่าให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้คือวันที่ 3 เมษายน 2515 เป็นต้นไป หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและการคิดดอกเบี้ย โดยมิได้ใช้สิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ผู้ทรงใช้สิทธิเรียกร้องโดยตรงกับจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมิได้เรียกร้องกับผู้สลักหลังหรือบุคคลอื่นซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วนั้น การใช้สิทธิดังกล่าวจึงไม่ใช่การใช้สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968
เมื่อจำเลยผู้ออกตั๋วไม่ได้เขียนข้อความกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยไว้โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยไม่ได้
เมื่อจำเลยผู้ออกตั๋วไม่ได้เขียนข้อความกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยไว้โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินเมื่อชำระหนี้แทนได้ แม้ยังไม่ชำระหนี้ทั้งหมด
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอาวัลไม่ต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระหนี้ ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมให้เชิดตัวเป็นตัวแทนออกตั๋วแลกเงิน และสิทธิไล่เบี้ยจากนายจ้าง
การที่นายจ้างยอมให้ลูกจ้างเชิดตัวลูกจ้างออกแสดงเป็นตัวแทนของนายจ้างในการออกตั๋วแลกเงินเพื่อขายให้บุคคลภายนอกนั้น. กรณีเช่นนี้ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือดังเช่นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนโดยตรง. และเมื่อหาตัวผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นไม่ได้. ผู้ทรงย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยจากนายจ้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันร่วมกัน ไล่เบี้ยเรียกคืนหนี้ได้กึ่งหนึ่งตามหลักทั่วไป
ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกัน บทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกัน บทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันร่วมกันมีสิทธิไล่เบี้ยกันได้ตามหลักทั่วไป
ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยตั๋วเงิน: ผู้สลักหลังฟ้องผู้สลักหลังด้วยกัน ต้องใช้มาตรา 1003
คดีที่โจทก์ฟ้องในฐานะผู้สลักหลังตั๋วเงินไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้สลักหลังด้วยกันต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้สลักหลัง หาใช่ผู้ทรงเช็คในขณะนั้น อายุความฟ้องร้องจึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 หาใช่มาตรา 1002 ไม่ และจำเลยจะถือเอาข้อความที่โจทก์เริ่มคำฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้ทรงเช็คโดยไม่คำนึงถึงข้อความที่โจทก์กล่าวอธิบายฟ้องต่อไปอีก หาได้ไม่