พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เกิดขึ้นก่อนล้มละลาย ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด มิฉะนั้นสิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งถึงที่สุดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลแทนจำเลยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2552 มูลหนี้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันดังกล่าว ก่อนศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 และเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ส่วนที่โจทก์มีมติเห็นชอบให้กำหนดจำนวนค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 เป็นเรื่องการรวบรวมค่าเสียหายให้ถูกต้องครบถ้วน มิใช่มูลหนี้ค่าเสียหายเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อโจทก์มีมติ เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงและขยายเวลาขอรับชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6295/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนล่าช้า ศาลอนุญาตขยายเวลาได้ หากโจทก์ยื่นภายในกำหนดที่ศาลอนุญาต
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง กำหนดว่า การยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน คดีนี้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหลังจากสืบพยานประเด็นโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ว่า ทนายผู้ร้องแถลงต่อศาลชั้นต้นขอยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ เนื่องจากทนายผู้ร้องยังไม่ทำคำร้องดังกล่าว เท่ากับทนายผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาให้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต เท่ากับศาลชั้นต้นได้กำหนดเวลาให้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว เมื่อโจทก์ร่วมได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมไว้พิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่ง จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15503/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาการยื่นคำร้องและผลของการส่งหมายเรียก
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา บัญญัติให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งในคดีล้มละลายแม้จะไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังเช่นในคดีแพ่งก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกไปยังจำเลยเพื่อไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 117 ถือเสมือนว่าเป็นการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15084/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีข้ามกำหนดเวลา 10 ปี ศาลฎีกายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่รับคำขอให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2546 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 57197 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยทั้งสองจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ถ้าได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ต่อมาในชั้นบังคับคดี โจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนองออกขายทอดตลาดแต่ยังขายไม่ได้ โจทก์จึงยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 20483 และ 20484 กับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่1920 โดยโจทก์เพิ่งยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 อันเป็นการร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาชั้นที่สุดสำหรับคดีนี้แล้ว ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลชั้นต้นได้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้โจทก์ ดังนี้ คำขอของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดโฉนดที่ดินเลขที่ 20483 และ 20484 กับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่1920
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14524/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ต้องยื่นคำร้องภายใน 90 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำชี้ขาด
ตามคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยผู้คัดค้าน ระบุว่า ผู้ร้องมีความประสงค์จะร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายที่ระบุอยู่ใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 กล่าวคือ ข้อ 7.1 ระบุว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ หรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการอันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) ข้อ 7.2 ระบุว่าองค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (จ) และในข้อ 7.3 ระบุว่าการยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 40 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด" ดังนั้น เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ให้เพิกถอนบรรดาข้อเรียกร้องทั้งหมดของผู้ร้อง โดยแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวในวันที่ 6 สิงหาคม 2557 ซึ่งเกินกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำร้อง และมีคำสั่งไม่รับคำร้องเพราะคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจ ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 ก็ตาม กรณีดังกล่าวจึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องย่อมขาดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง
ข้อคัดค้านของผู้ร้องว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
ข้อคัดค้านของผู้ร้องว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14524/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: กำหนดเวลา 90 วัน และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
ตามคำร้องขอของผู้ร้องที่อ้างว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยผู้คัดค้าน ข้อ 7.1 ระบุว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ หรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ เป็นการร้องขอตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) ข้อ 7.2 ระบุว่า องค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (จ) และในข้อ 7.3 ระบุว่า การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการร้องขอตามมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง จึงต้องดำเนินการภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ความว่าเมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดแล้วได้แจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวในวันที่ 6 สิงหาคม 2557 ซึ่งเกินกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องย่อมขาดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
สำหรับข้อคัดค้านของผู้ร้องว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
สำหรับข้อคัดค้านของผู้ร้องว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ในส่วนนี้จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคอนุญาตอุทธรณ์: นับจากคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ไม่ใช่มติไม่รับรอง
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ในกรณีเช่นนี้ผู้อุทธรณ์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคภายในเจ็ดวันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติถึงทางแก้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ กำหนดเวลาเจ็ดวันดังกล่าวจึงต้องนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14009/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยื่นคำร้องคัดค้านหลังพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย และความถูกต้องของอ้างอิงบทกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาลเห็นสมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวยื่นคำร้องต่อศาล ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร" มาตรา 296 วรรคสาม บัญญัติว่า "การยื่นคำร้องตามมาตรานี้อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง..." คดีนี้การบังคับคดีเสร็จสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ในราคา 1,120,000 บาท และเจ้าพนักงานเสนอบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินต่อศาลว่าได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีไปครบถ้วนแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องในคดีนี้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยกว่า 2 ปี หลังจากการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงไปแล้ว คำร้องขอให้กันส่วนที่ดินของผู้ร้องและยกเลิกการขายทอดตลาดของผู้ร้องจึงเป็นการล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม จึงเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นระบุมาตรา 1332 นั้น เนื่องจากมีข้อความว่าเป็นเรื่องผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ซึ่งเมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมายแล้วก็จะเห็นว่า มาตรา 1332 นั้นเป็นเรื่องของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิใช่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนในเรื่องชื่อของกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการอ้างกฎหมายผิด หรือไม่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ดังนั้นการอ้างชื่อบทกฎหมายผิดทั้ง ๆ ที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจึงไม่ก่อให้เกิดผลของการเปลี่ยนแปลงทางคดีแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นระบุมาตรา 1332 นั้น เนื่องจากมีข้อความว่าเป็นเรื่องผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ซึ่งเมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมายแล้วก็จะเห็นว่า มาตรา 1332 นั้นเป็นเรื่องของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิใช่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนในเรื่องชื่อของกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการอ้างกฎหมายผิด หรือไม่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ดังนั้นการอ้างชื่อบทกฎหมายผิดทั้ง ๆ ที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจึงไม่ก่อให้เกิดผลของการเปลี่ยนแปลงทางคดีแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13718/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาอุทธรณ์หลังกำหนด-เหตุผลไม่เป็นเหตุสุดวิสัย ศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2557 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 1 เดือน อ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับถ้อยคำสำนวนและคำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายไว้เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการทางธุรการ กรณีเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาขยายอุทธรณ์สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งจำเลยขอขยายได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่ข้ออ้างตามคำร้องถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองที่ไม่ติดตามเอกสารที่ขอคัดถ่ายไว้แต่เนิ่น ๆ จึงไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้ทนายจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 27 กันยายน 2557 และเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 26 กันยายน 2557 ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบเช่นกัน และไม่ก่อให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10195/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้ว แม้จะมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้
เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม แต่ต้องยื่นคำขอต่อผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 มาตรา 91 และมาตรา 94 หนี้ค่าปรับที่ผู้ร้องนำมาขอรับชำระหนี้ศาลมีคำสั่งปรับลูกหนี้ที่ 3 นายประกันตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 และวันที่ 14 มีนาคม 2549 ภายหลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคสอง กำหนดให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกันนานพอสมควรแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับโอนอำนาจการบังคับคดีแก่นายประกันย่อมสามารถดำเนินการวางระบบงานเพื่อตรวจสอบว่านายประกันสำนวนคดีใดบ้างผิดสัญญาประกันและเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ของตน และเพื่อทราบว่าลูกหนี้ใดศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
การที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแขวงนครราชสีมามีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการบังคับคดีแก่นายประกันไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และเพื่อมิให้หน่วยงานของรัฐต้องสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ กรณียังไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือกฎหมายให้อำนาจที่จะขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 ได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแขวงนครราชสีมามีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการบังคับคดีแก่นายประกันไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และเพื่อมิให้หน่วยงานของรัฐต้องสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ กรณียังไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือกฎหมายให้อำนาจที่จะขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 ได้