คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 948 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจำนอง แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาและหมายบังคับคดี
ป.พ.พ. มาตรา 719 วรรคสอง ให้อำนาจแก่ผู้รับจำนองที่จะยึดเอาสิ่งปลูกสร้างอันผู้จำนองปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 พร้อมกับที่ดินด้วยโดยไม่จำต้องขอให้ศาลระบุในหมายบังคับคดีว่าให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองด้วย และมิใช่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกเหนือจากที่ได้ระบุในหมายบังคับคดีแต่อย่างใด อีกทั้งโจทก์ไม่จำต้องแสดงหลักฐานให้ศาลเห็นว่าหากขายสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมไปด้วยจะทำให้การขายทอดตลาดกระทำได้ง่ายและจะได้ราคาแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีจำนองเดิมถึงที่สุดแล้ว ฟ้องใหม่โต้แย้งการมอบอำนาจเดิม ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีก่อน ร่วมกันรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับพวกรวม 6 คน ในฐานะที่จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทและที่ดินแปลงอื่นพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ทำสัญญาจำนองที่ดินรวมที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ไว้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) และจำเลยอื่นในคดีก่อนร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองรวมทั้งที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) และจำเลยที่ 6 ในคดีก่อนจนกว่าจะครบ ส่วนคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่า การมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย นิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาท ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้ละคดีก่อนจึงมีมูลมาจากสัญญาจำนองฉบับเดียวกัน เพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างในคดีก่อนว่า โจทก์ (จำเลยที่ 2 ในคดีนี้) ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยที่ 1 (โจทก์คดีก่อน) และจำเลยที่ 1 (โจทก์คดีก่อน) บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่หาได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทกับโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งๆ ที่โจทก์อาจต่อสู้ไว้ในคดีก่อนเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทได้ ฉะนั้น แม้คดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่มีต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจมาแสดง การทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะ ซึ่งดูประหนึ่งว่าจะมิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อนก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงความถูกต้องของสัญญาจำนองที่ดินพิพาท และโจทก์ไม่จำต้องผูกพันตามสัญญาจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไว้แก่จำเลยที่ 1 หรือไม่นั่นเอง เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสามจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ก็เป็นบุคคลที่โจทก์อ้างว่ารับมอบอำนาจซึ่งสืบสิทธิมาจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เงินกู้, การบังคับชำระหนี้จากกองมรดก, ค่าเบี้ยประกันภัย, ทายาทโดยธรรม, สิทธิจำนอง
เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 เมื่อ จ. ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของ จ. ได้แม้หนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามมาตรา 1754 วรรคสาม และมาตรา 192/27 แต่คงบังคับได้เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น ไม่อาจบังคับถึงทรัพย์สินอื่นในกองมรดกได้ด้วย แม้สัญญาจำนองจะมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระหนี้ เพราะเมื่อหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความแล้ว ทรัพย์สินอื่นในกองมรดกย่อมไม่ตกอยู่ในความรับผิดทางแพ่งอีกต่อไป
ตามสัญญากู้เงินกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดการเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองโดยผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ และในกรณีผู้กู้มิได้จัดทำประกันภัยแต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดทำประกันภัยแทนผู้กู้ ผู้กู้ยินยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมและเบี้ยประกันภัยคืนแก่ผู้ให้กู้ก่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้น จะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่กรณีที่โจทก์ขอมาตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้อง จึงเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคตและจะถือว่า จ. ละเลยไม่ชำระหนี้ของตนยังไม่ได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับ จ. ตามกฎหมายที่จะต้องให้จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. รับผิดชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้ยังมิได้ฟ้องบังคับจำนอง หรือมีจดหมายบอกกล่าว
ผู้รับจำนองมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 โดยหาจำต้องฟ้องร้องขอบังคับจำนองก่อนหรือต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่แล้วไม่เพราะกฎหมายมิได้มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองดังกล่าว และการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็มิใช่การฟ้องบังคับจำนองโดยตรง ผู้รับจำนองจึงไม่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองในทรัพย์จำนองที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นยึดไว้แล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกยึดโดยเจ้าหนี้อื่น แม้ยังมิได้บอกกล่าวลูกหนี้
ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองว่าจะต้องฟ้องร้องบังคับจำนองก่อนหรือจะต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองแล้วผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 ได้
การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ใช้สำหรับกรณีที่ผู้รับจำนองฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ในกรณีการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ใช่การฟ้องคดีบังคับจำนองที่จะต้องยึดทรัพย์นั้นอีก ผู้ร้องอีกยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองได้โดยไม่จำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ การจำนองเป็นโมฆะ และศาลสามารถพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองได้
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 จะรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองที่ดินพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายเสียแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นเสียได้การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้อง จึงมีความหมายรวมอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไปไม่ได้ การพิจารณาให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการปรับกฎหมายให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของคำฟ้อง หาเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมจำนองของผู้มีสิทธิในที่ดิน
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 จะรับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลตามกฎหมายเสียแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้อง จึงมีความหมายรวมอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไปไม่ได้ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการปรับกฎหมายให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของคำฟ้อง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโดยข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง คดีในชั้นฎีกาไม่มีประเด็นโต้เถียงเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องจากทรัพย์จำนองเท่านั้น, ห้ามยึดทรัพย์สินอื่นเมื่อขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,200,000 บาท โดยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจำนองไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้เงิน ต่อมาจำเลยกู้เงินโจทก์อีกโดยได้ทำบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองครั้งที่ 1 เป็นเงิน 3,500,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองและบังคับจำนองโดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองโดยประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวไม่มีข้อความว่า หากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 733

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15187/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจล่วงหน้าและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเพิกถอนจำนอง
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้าไว้โดยมิได้มีการกรอกข้อความรายละเอียดลงไป แสดงว่าโจทก์รู้ดีและยอมรับอยู่แล้วว่าผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทจะสามารถนำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปกระทำการโอนขายต่อหรือจำนองหรือกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายหลังที่พ้นกำหนดข้อห้ามโอน 5 ปีนับแต่ออกเอกสาร น.ส.3 ก. แล้ว เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินโดยสุจริตจากผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทไปตามวิธีปฏิบัติดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้โจทก์มิต้องชำระหนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยใช้ลายมือชื่อปลอม ผู้จำนองมีสิทธิเพิกถอนการจดทะเบียน
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนจำนองขึ้นเงินกับจำเลยที่ 3 อีก แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องเฉพาะโจทก์ที่ 2 เนื่องจากโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายก่อนยื่นฟ้อง และในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ไว้ก็ตาม แต่เมื่อมีการบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำฟ้อง และโจทก์ที่ 1 นำสืบว่า โจทก์ที่ 2 ไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนอง และไม่เคยรับเงินจากการจำนองที่ดินพิพาท ทั้งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเกี่ยวกับลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ปลอมหรือไม่ มาวินิจฉัยให้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. ปลอม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนจำนองโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิแทนโจทก์ที่ 2 และ ว. ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 และมีอำนาจขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งแปลง
of 95