คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การรับรู้ความผิดของผู้เสียหายเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยชักชวนโจทก์ร่วมให้ลงทุนทำธุรกิจกับจำเลย โดยอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ของโรงแรมเพื่อจัดแสดงสินค้าหัตถกรรมไทยให้ชาวต่างประเทศมาซื้อและนำไปทำกล่องปากกาย่านลิเภาส่งให้บริษัท ก. พร้อมกับนำหลักฐานการติดต่อโรงแรมและบริษัท ก. มาให้ดู โจทก์ร่วมจึงโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยรวม 13 ครั้ง จากนั้นโจทก์ร่วมก็ไม่เห็นว่าจำเลยจะดำเนินการใดๆ และคอยติดตามทวงถามจำเลยว่าดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจไปมากน้อยเพียงใด จำเลยบ่ายเบี่ยงว่ากำลังติดต่ออยู่และยังดำเนินการไม่เสร็จ โจทก์ร่วมจึงทวงเงินคืน แต่แทนที่จำเลยจะคืนเงินกลับสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ร่วมสองฉบับ ซึ่งนับแต่วันที่ 28 เมษายน 2543 อันเป็นวันที่โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยครั้งแรกถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมนั้นก็เป็นระยะเวลาหลายเดือน โจทก์ร่วมย่อมน่าจะรู้แต่นั้นแล้วว่าจำเลยหลอกลวงเอาเงินไปโดยมิได้ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจตามที่ชักชวนไว้ ครั้นโจทก์ร่วมนำเช็คทั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมทวงถาม แต่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่มาสนับสนุนให้โจทก์ร่วมรู้แน่ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าถูกจำเลยหลอกลวงแล้ว การที่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายนั้นไม่เป็นผลลบล้างการรับรู้ของโจทก์ร่วมที่ถูกจำเลยหลอกลวง แต่วันที่โจทก์ร่วมไปทวงถามเงินคืนจากจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด จึงต้องถือเอาวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมเป็นวันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์ร่วมแล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จึงเกินกว่า 3 เดือน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องยาเสพติดและทรัพย์สิน: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงโดยอ้างเรื่องยาเสพติดและสินบนเจ้าพนักงาน ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลย สืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อฉ้อโกง: ศาลแก้ไขบทมาตราที่อ้างผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดของจำเลยฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก, 341 การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงและการใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นกรรมเดียว ศาลลดโทษจากคำพิพากษาเดิม
โจกท์ร่วมและบิดามารดากับ อ. พี่สาวโจทก์ร่วมได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร้านทองร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วนไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033 ดังนั้น โจทก์ร่วมซึ่งเป็นหุ้นส่วนในกิจการร้านทอง ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนคดีนี้ได้ โดยไม่จำต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมมีอำนาจดำเนินคดีแทนร้านทอง
จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าจะรับทองรูปพรรณจากร้านทองของโจทก์ร่วมไปจำหน่ายแก่ลูกค้าซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยขอใบบันทึกรายการขายของร้านทองของโจทก์ร่วมไปให้ลูกค้าชำระเงินค่าทองรูปพรรณให้แก่โจทก์ร่วมด้วยบัตรเครดิต โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายที่รูดกับเครื่องรูดบัตรของทางร้านซึ่งปรากฏชื่อร้านและหมายเลขสมาชิกของร้านทองแล้วให้จำเลยไป เมื่อจำเลยขายทองรูปพรรณให้แก่ลูกค้าได้แล้ว จำเลยจะได้จัดให้ลูกค้านำบัตรเครดิตของลูกค้ามารูดกับเครื่องรูดบัตรอีกเพื่อให้ปรากฏหมายเลขบัตรของลูกค้า วันหมดอายุบัตร และขออนุมัติวงเงินจากธนาคาร กรอกรายละเอียดวันที่ จำนวนเงินที่ลูกค้าชำระ และให้ลูกค้าลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายแล้วจำเลยจะได้ส่งใบบันทึกรายการขายนั้นให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจกท์ร่วมนำไปขอรับเงินจากธนาคารต่อไป แต่เมื่อหลอกลวงได้ทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายจากโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยกลับใช้บัตรเครดิตปลอมมารูดกับเครื่องรูดบัตรเพื่อลงใบบันทึกรายการขาย แล้วส่งใบบันทึกรายการขายปลอมดังกล่าวมาให้โจทก์ร่วมเพื่อขอรับเอาทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายไปจากโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยรับไปคิดเป็นเงิน 889,400 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง และจำเลยยังได้ร่วมกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายปลอมเป็นเอกสารประกอบการฉ้อโกงโดยส่งไปให้โจทก์ร่วม เพื่อให้โจทก์ร่วมนำส่งใบบันทึกรายการขายปลอมนั้นไปขอรับเงินจากธนาคาร ก. และธนาคาร ท. แต่ละวันแยกต่างหากจากกันตามที่ปรากฏในใบบันทึกรายการขาย การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดฐานใช้มบบันทึกรายการขายซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 24 กระทง ตามฟ้อง
การที่จำเลยกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายทั้ง 24 กรรมนั้น จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วม บันทึกรายการขายปลอมที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้โดยจัดส่งไปให้โจทก์ร่วมก็เพื่อเป็นอุบายหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยกับพวกนั่นเอง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่จำเลยกับพวกกระทำต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 24 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ฉ้อโกงประชาชนและทำให้เอกสารสูญหาย ศาลฎีกาแก้เป็นลงโทษฐานฉ้อโกง
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฟื้นฟูเกษตรกรไทย จังหวัดมหาสารคาม มีโครงการให้เกษตรกรกู้ยืมเงิน เพื่อให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบโฉนดที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยเพื่อใช้ประกอบการขอกู้ยืมเงิน แม้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนกับความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะต่างวาระกันแต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดเพื่อทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดนั่นเอง จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียวกัน เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ความผิดทั้งสองฐานมีอัตราโทษเท่ากัน ศาลให้ลงโทษฐานฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 343 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ฉ้อโกงประชาชนและทำให้สูญหายซึ่งเอกสาร ศาลฎีกาแก้โทษลงโทษฐานฉ้อโกงเท่านั้น
เหตุที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่า จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฟื้นฟูเกษตรกรไทย จังหวัดมหาสารคาม มีโครงการให้เกษตรกรกู้ยืมเงิน ก็เพื่อให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบโฉนดที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยเพื่อใช้ประกอบการขอกู้ยืมเงิน แม้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนกับความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะต่างวาระกัน แต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดเพื่อทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดนั่นเอง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารของผู้อื่น จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวงโดยตรง แม้มีสัญญาจำนำก็ไม่ทำให้เสียอำนาจฟ้อง
จำเลยกับพวกร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมแสดงต่อผู้เสียหายและหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่า ภ. เป็นเจ้าของรถยนต์ตามสมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์จริง จนผู้เสียหายยอมรับจำนำและจ่ายเงินให้จำเลยไป ลักษณะการกระทำตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อฉ้อโกง ว. และ ว. ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดของจำเลย จึงเป็นผู้เสียหาย แม้มีการทำสัญญาจำนำก็เป็นผลสืบเนื่องจากการหลอกลวงของจำเลยเพื่อให้ผู้เสียหายส่งมอบเงินอันเป็นทรัพย์สินให้ ดังนั้น สัญญาจำนำจะมีผลสมบูรณ์หรือไม่ หาเป็นเหตุให้ ว. ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่แล้วกลายเป็นมิใช่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8591/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: อั้งยี่, สมคบฟอกเงิน, และฉ้อโกง/ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์
ป.อ. มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติว่า การกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีไป เมื่อสภาพแห่งความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ กับความผิดฐานร่วมกันสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและฐานร่วมกันฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบ มีความมุ่งหมายให้เกิดผลต่อผู้กระทำความผิดที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละฐานความผิดแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่องค์ประกอบความผิด เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จ ตลอดจนบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างฉบับกัน แม้การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดในความผิดฐานดังกล่าวเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน แต่การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดมีเจตนาจะทำให้ผลของการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นต่างกัน การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดในความผิดฐานร่วมกันสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและฐานร่วมกันฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบจึงเป็นความผิดต่างกรรมกับการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติความผิดฐานร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน โดยเป็นการกระทำเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสด กับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่นนั้น เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดหลอกลวงผู้เสียหายจนหลงเชื่อและโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่จำเลยทั้งเจ็ดเตรียมไว้แล้ว จำเลยทั้งเจ็ดเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวจากตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติไป แม้การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบฯ จะกระทำภายหลังจากจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันฉ้อโกงผู้เสียหายสำเร็จแล้ว แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยจำเลยทั้งเจ็ดมีเจตนาที่จะใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน โดยเป็นการกระทำเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเบิกถอนเงินสดที่ผู้เสียหายโอนให้จำเลยทั้งเจ็ด ความผิดฐานร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบฯ กับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเดียว เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปลอม, การฉ้อโกง, และสิทธิในการบังคับคดี: ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้หากยังไม่ได้รับชำระหนี้
พ. ปลอมหนังสือมอบอำนาจ แล้วนำไปใช้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความลดยอดหนี้และรับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ทั้งห้า และแม้ว่าโจทก์ทั้งห้าจะได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้แก่ พ. ไป แต่ พ. เป็นทนายความของโจทก์ทั้งห้าย่อมถือเป็นผู้มีวิชาชีพและมีจรรยาบรรณเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนว่าจะกระทำการใด ๆ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของตนเพื่อจรรโลงความยุติธรรมในสังคม ทั้งจะต้องรักษาผลประโยชน์แห่งลูกความของตนไม่ให้เป็นที่เสื่อมเสีย เช่นนี้ การที่ พ. นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ทั้งห้าลงลายมือชื่อไปปลอมเอกสาร ย่อมถือไม่ได้ว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ทั้งห้า เมื่อ พ. นำหนังสือมอบอำนาจปลอมของโจทก์ทั้งห้าไปใช้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความลดยอดหนี้และรับเงินจากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่า โจทก์ทั้งห้าร่วมรู้เห็นกับการกระทำของ พ. ดังกล่าว การทำสัญญาระหว่าง พ. กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งห้า พ. จึงไม่มีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งห้า ไม่มีอำนาจรับเงินหรือเช็คจากจำเลยที่ 2 ไว้แทนโจทก์ทั้งห้า และมิใช่กรณีตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจในอันที่ตัวการจะให้สัตยาบัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ได้ ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จะได้ฟ้อง พ. ให้คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยที่ 2 แก่โจทก์ที่ 3 และที่ 4 หรือร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อ พ. กับพวกก็ตาม ก็เป็นเพียงการเรียกร้องค่าเสียหายและการดำเนินคดีเนื่องจากโจทก์ที่ 3 และที่ 4 ถูก พ. กระทำละเมิด ฉ้อโกง และยักยอกไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ พ.
ภายหลังจากที่ พ. รับเงินและเช็คจากจำเลยที่ 2 แล้ว พ. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและรับเงินตามเช็คเป็นของตน มิได้นำเงินที่ได้รับมาไปมอบให้แก่โจทก์ทั้งห้า ทั้งยังนำเช็คส่วนที่เหลืออีก 29 ฉบับ รวมเป็นเงิน 3,050,000 บาท ไปขายลดคืนให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคาเพียง 900,000 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินตามเช็คจำนวนมาก ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่ พ. จะต้องนำเช็คมาขายลดคืนแก่จำเลยที่ 2 ในราคาดังกล่าวและไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ทั้งห้าที่เป็นลูกความ การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 900,000 บาท แก่ พ. เพื่อแลกกับเช็คจำนวน 3,050,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งห้า ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่สมคบกับ พ. เพื่อที่จะไม่ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งห้าตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างว่าตนได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งห้าครบถ้วนแล้วขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ เมื่อโจทก์ทั้งห้ายังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จึงยังคงมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้
of 94