พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนปืนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว 2 นัด ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกันการกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองจึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ หากนำไปใช้ในการกระทำความผิดอื่นแล้ว ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง การที่จำเลยพาอาวุธปืนกับเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในที่เกิดเหตุนับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยให้เบาลงหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ หากนำไปใช้ในการกระทำความผิดอื่นแล้ว ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง การที่จำเลยพาอาวุธปืนกับเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในที่เกิดเหตุนับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยให้เบาลงหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10334/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากจำเลยคัดค้าน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตได้
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมกับคำร้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยแล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ของโจทก์มายังศาลฎีกา จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10207/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมัน ไม่ใช่สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า จึงไม่ต้องจดทะเบียน
ตามสัญญาเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมัน โจทก์เพียงตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันภายใต้ชื่อทางการค้า "บางจาก" ของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์มาจำหน่าย สินค้าดังกล่าวจึงเป็นสินค้าของโจทก์ แม้มีการใช้เครื่องหมายการค้า "บางจาก" กับสินค้านั้น ก็เป็นการใช้โดยโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เอง แล้วนำมาจำหน่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไป มิใช่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาแล้วนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 68 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9188/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริง: อธิบดีผู้พิพากษาภาคไม่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริง และบุคคลผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตราดังกล่าวก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่า คือ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9068/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบกิจการวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดเฉพาะครั้งคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้วถือว่าสิ้นสุด
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดจากการประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้งละคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้วก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป โจทก์บรรยายฟ้องระบุชัดว่าจำเลยกระทำผิดเฉพาะเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เวลากลางวันในคำฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำผิดต่อเนื่องออกไปอีก ของกลางที่ยึดได้จากจำเลยที่เกี่ยวกับวีดิทัศน์ก็มีการยึดทั้งแผ่นดีวีดีเกมเพลย์สเตชั่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 64 แผ่น และแผ่นซีซีดีและแผ่นดีวีดีเกมเพลย์สเตชั่น ที่ไม่มีผู้ยืนยันสิทธิอีกจำนวน 2,230 แผ่น อันส่อแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมยึดของกลางที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตมาหมดแล้ว โดยสภาพพฤติการณ์แห่งคดีที่ปรากฏดังกล่าวเชื่อว่า หลังเกิดเหตุคดีนี้จำเลยยังไม่อาจประกอบกิจการตามฟ้องต่อได้ และไม่อาจมีการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป คำให้การรับสารภาพของจำเลยในคดีนี้ เป็นการรับสารภาพตามข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมา เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดให้โจทก์ยืนยันในคำฟ้องว่าจำเลยยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก ลำพังคำให้การรับสารภาพของจำเลยจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดต่อเนื่องออกไปอีกดังที่โจทก์อุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายวีซีดีโดยไม่ได้รับอนุญาตและการเปลี่ยนแปลงฐานความผิดตามกฎหมายใหม่
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ฯ มาตรา 4 ได้บัญญัติ ว่าการจำหน่ายและขายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์หาใช่การให้การบริการไม่ ดังนั้น แม้ได้ความตามฟ้องโจทก์และจำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยนำวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจมาจำหน่ายและขายแก่ประชาชนทั่วไป ในสถานที่ที่จำเลยประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่เมื่อการกระทำของจำเลยไม่ใช่การให้บริการในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ เพราะการจำหน่ายไม่ใช่การจัดฉายหรือให้บริการโดยแสดงภาพและเสียง ทั้งมิใช่การจัดส่งไปทางสายหรือทางวิธีการอื่นที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานนำเทปและวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณามาให้บริการในสถานที่ให้บริการเทปและวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง, 34
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 (4) บัญญัติให้ยกเลิกพ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ ซึ่งตามมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า ภาพยนตร์ ไว้ หมายความว่า วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์ แต่ในการประกอบกิจการของจำเลยนั้น จำเลยจำหน่ายแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ด้วย การกระทำของจำเลยในการประกอบกิจการจำหน่ายแผ่นวีซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 จึงเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ด้วย กรณีไม่อาจถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานนำเทปและวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณามาให้บริการในสถานที่ให้บริการเทป และวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตวีซีดีเพลงของกลาง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 (4) บัญญัติให้ยกเลิกพ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ ซึ่งตามมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า ภาพยนตร์ ไว้ หมายความว่า วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์ แต่ในการประกอบกิจการของจำเลยนั้น จำเลยจำหน่ายแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ด้วย การกระทำของจำเลยในการประกอบกิจการจำหน่ายแผ่นวีซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 จึงเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ด้วย กรณีไม่อาจถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานนำเทปและวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณามาให้บริการในสถานที่ให้บริการเทป และวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตวีซีดีเพลงของกลาง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาต้องยื่นคำร้องต่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เท่านั้น การอนุญาตโดยผู้พิพากษาอื่นเป็นโมฆะ
ขั้นตอนการขออนุญาตฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นในศาลชั้นต้นด้วย การที่ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: ต้องยื่นคำร้องต่อผู้พิพากษาที่ระบุในคำพิพากษาเท่านั้น
ขั้นตอนในการขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ซึ่งตามคำร้องจำเลยระบุชื่อขอให้ พ. ช. และ ป. ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นในศาลชั้นต้นด้วย การที่นาย ส. ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องกลับเป็นผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองจึงเป็นการไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยเพิกถอนคำสั่งและส่งคำร้องคืนไปให้ศาลชั้นต้นส่งให้ผู้พิพากษาที่ระบุในคำร้องพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาแล้วสั่งฎีกาใหม่
1/1
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 8 เดือน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไม่อยู่กับร่องกับรอยปรักปรำจำเลยทั้งสองไม่น่าเชื่อถือ พยานจำเลยทั้งสองน่าเชื่อถือมากกว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ทำผิดตามฟ้อง หากเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยทั้งสองด้วยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจาณาต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะปฏิบัติเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว มิได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่จำเลยทั้งสองประสงค์จะขออนุญาตฎีกา พร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณาอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองคงเพียงขอให้ผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือ บ. และ ธ. อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แต่กลับส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 การที่ ช. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง จึงหามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 อันจะส่งผลตามกฎหมายให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสอง และมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ