คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง แม้ใช้รถที่ไม่ใช่ของตนเอง หากเป็นการใช้ในทางการที่จ้าง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถดับเพลิงของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ของบุคคลอื่นไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายนั้น หากปรากฏว่ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ได้นำมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 2 และขับไปในทางการที่จ้างแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เช่าซื้อเมื่อรถยนต์ถูกละเมิดเสียหาย และความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
ผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ชำระเงินค่าเช่าซื้อยังไม่ครบนั้น เมื่อมีใครมาทำละเมิดแก่รถยนต์ที่เช่าซื้อจนเกิดเสียหายและขาดประโยชน์การใช้ ย่อมถือว่าผู้เช่าซื้อเป็นผู้เสียหาย และมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รถยนต์โดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิดในละเมิด หากมิได้ประมาทเลินเล่อ
ใช้หรือวานบุคคลที่ไม่ใช่ลูกจ้างให้ขับรถยนต์ไปในธุระกิจของผู้ใช้เอง โดยผู้ถูกใช้เป็นผู้ขับรถยนต์ได้ และเคยขับให้ผู้ใช้มาก่อนแล้วนั้น หากผู้ถูกใช้ขับรถยนต์ไปชนบุคคลอื่นเป็นการละเมิดขึ้น ผู้ใช้ก็หาจำต้องร่วมรับผิดด้วยไม่ เพราะมิได้ประมาทเลินเล่อในการใช้หรือวาน
การรับใช้หรือวานขับรถยนต์ให้นั้นไม่ใช่เป็นตัวแทน เพราะมิใช่เป็นกิจการที่ทำแทนตัวการต่อบุคคลที่ 3 แต่เป็นกิจการในระหว่างผู้ใช้กับผู้รับใช้ ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่ 3 เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำของคนขับรถที่มิได้เป็นลูกจ้าง และนายจ้างมิได้รู้เห็น
คนประจำรถยนต์บรรทุกและรับส่งคนโดยสารซึ่งมิได้เป็นลูกจ้างมิได้รู้เห็น ทั้งคดีก็ไม่มีประเด็นตามฟ้องว่าลูกจ้างผู้ขับประจำรถคันนั้นมีความประมาทขาดความระมัดระวังเป็นเหตุให้คนประจำรถนั้นขับรถไปชนม้าของผู้อื่นด้วย ดังนี้ เจ้าของรถผู้เป็นนายจ้างหากต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของม้าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำของคนขับรถที่มิได้เป็นลูกจ้าง หากไม่มีประเด็นความประมาทของลูกจ้างผู้ขับประจำ
คนประจำรถยนต์บรรทุกและรับส่งคนโดยสารซึ่งมิได้เป็นลูกจ้างขับรถ ได้ขับรถไปชนม้าของผู้อื่นตายโดยนายจ้างมิได้รู้เห็น ทั้งคดีก็ไม่มีประเด็นตามฟ้องว่าลูกจ้างผู้ขับประจำรถคันนั้นมีความประมาทขาดความระมัดระวังเป็นเหตุให้คนประจำรถนั้นขับรถไปชนม้าของผู้อื่นด้วย ดังนี้ เจ้าของรถผู้เป็นนายจ้างหาต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของม้าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันจากการประนีประนอมยอมความและการรับผิดในคดีรถชน การพิจารณาความรับผิดของนายจ้าง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นถ้าไม่มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คงมีแต่คำรับผิดในชั้นสอบสวนเท่านั้นก็ไม่เข้าเกณฑ์มาตรานี้
คดีรถชนกัน การที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบและทำเอกสารไว้เป็นหลักฐานว่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โดยจะไปทำความตกลงกันที่อู่ซ่อมรถถือได้ว่าเป็นการประนีประนอมยอมความกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 ซึ่งผูกมัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้โต้แย้งว่าตนมิได้ขับรถโดยประมาทได้ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกผูกมัดด้วย ศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่อไปว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559-1560/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากละเลยหน้าที่ กั้นทางรถไฟไม่ถูกต้อง นายจ้างต้องรับผิดร่วม
การละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มีความหมายรวมทั้งการกระทำและละเว้นการกระทำอันบุคคลนั้น ๆ จะต้องกระทำด้วย และคำว่า "กระทำ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 ซึ่งให้นายจ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ก็หมายถึงการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามนับที่กล่าว ในเมื่อการกระทำหรือละเว้นนั้นเป็นไปในทางการที่จ้างนายจ้างก็ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559-1560/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดในละเมิด: การกระทำและละเว้นการกระทำของนายจ้างต่อลูกจ้าง
การละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มีความหมายรวมทั้งการกระทำและละเว้นการกระทำอันบุคคลนั้นๆจะต้องกระทำด้วย และคำว่า "กระทำ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 ซึ่งให้นายจ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ก็หมายถึงการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามนัยที่กล่าว ในเมื่อการกระทำหรือละเว้นนั้น เป็นไปในทางการที่จ้าง นายจ้างก็ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างเข้าใจผิดเรื่องค่าจ้างวันหยุดงาน ลูกจ้างไม่ทักท้วงนาน ไม่ถือว่าจงใจผิดนัด
ลูกจ้างรายเดือนที่มาทำงานให้นายจ้างในวันหยุดงาน มีสิทธิได้ค่าจ้างเป็น 2 เท่า ตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 มาตรา 26
นายจ้างประกาศไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่า ให้ลูกจ้างรายเดือนโดยเข้าใจข้อกฎหมายผิด ฝ่ายลูกจ้างไม่ทักท้วงและไม่เรียกร้องเอาค่าจ้างจนล่วง 1 ปี เศษจึงมาฟ้องโดยจำเลยก็ยินดีจะจ่ายให้ตามความเห็นของสารวัดแรงงาน ดังนี้จะถือว่านายจ้างจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 มาตรา 33 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างเข้าใจผิดเรื่องค่าจ้างทำงานวันหยุด ลูกจ้างไม่ทักท้วงนานกว่า 1 ปี ศาลไม่ถือว่าจงใจผิดนัด
ลูกจ้างรายเดือนที่มาทำงานให้นายจ้างในวันหยุดงานมีสิทธิได้ค่าจ้างเป็น 2 เท่าตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 26
นายจ้างประกาศไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าให้ลูกจ้างรายเดือนโดยเข้าใจข้อกฎหมายผิด ฝ่ายลูกจ้างไม่ทักท้วงและไม่เรียกร้องเอาค่าจ้างจนล่วงเวลา 1 ปีเศษจึงมาฟ้อง โดยจำเลยก็ยินดีจะจ่ายให้ตามความเห็นของสารวัตรแรงงาน ดังนี้ จะถือว่านายจ้างจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 33 วรรคสอง
of 111