พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9907/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลชั้นต้นในการกำหนดเงินรางวัลทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 และระเบียบศาลฯ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายเงินรางวัลแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ เป็นคำสั่งตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม จึงเป็นคำสั่งในทางคดี ซึ่งบัญญัติให้ศาลเป็นผู้จ่ายเงินรางวัลตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ข้อ 5 และข้อ 6 นั้น กำหนดให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้กำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วหรือเมื่อทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว ในกรณีที่มีการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกายังให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลเพิ่มเติมการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาให้ทนายความตามที่เห็นสมควร เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นกำหนดเงินรางวัลทนายความในคดีนี้ให้ผู้ร้องตามอัตราที่ระเบียบกำหนดไว้แล้ว การที่ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งว่าศาลชั้นต้นกำหนดเงินรางวัลให้ผู้ร้องไม่เหมาะสมแก่หน้าที่ ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดเงินรางวัลให้ใหม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมไม่อาจกำหนดเงินรางวัลให้ผู้ร้องได้ เพราะเป็นหน้าที่โดยเฉพาะของศาลชั้นต้นตามระเบียบดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9585/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้พิพากษาทำคำพิพากษาหลังย้ายไปรับราชการอื่น และการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) การที่ศาลอุทธณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่มิได้สั่งให้ทำคำพิพากษาใหม่แต่เพียงประการเดียว ถือได้ว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากฎีกาของจำเลยว่า ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี นั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปได้ ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปได้ เมื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายให้ ว. นั่งพิจารณาคดีแทน ว. จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทำคำพิพากษาทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีต่อไปได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามพฤติการณ์พิเศษ แม้ไม่ครบตามที่ขอ
การสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดเพียงใดก็ได้ตามที่ศาลจะเห็นสมควร ทั้งกฎหมายมิได้บังคับว่า ศาลต้องอนุญาตเท่ากับจำนวนวันที่คู่ความร้องขอเสมอไปและไม่จำต้องให้เหตุผลของการอนุญาตหรือไม่อนุญาตอีกด้วย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกเป็นเวลา 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ซึ่งครบวันที่ 29 ธันวาคม 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายได้ถึงวันที่ 12 มกราคม 2546 เป็นเวลาเพียง 14 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ แม้ไม่ครบ 30 วัน ตามที่โจทก์ขอและศาลชั้นต้นไม่ได้ให้เหตุผลที่อนุญาตไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์ขอไว้ก็ตามแต่ก็เป็นการสั่งภายในขอบเขตและหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 23 ดังกล่าว หาเป็นการขัดหรือฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอย่างใดไม่ แต่เจ้าพนักงานศาลกลับแจ้งแก่โจทก์ว่า ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่โจทก์ขอและนัดโจทก์มารับเอกสารที่ขอคัดถ่ายในวันที่ 14 มกราคม 2546 โจทก์จึงทำอุทธรณ์มายื่นในวันที่ 28 มกราคม 2546 กรณีจึงมีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุผลสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์อีก 16 วัน ตามที่โจทก์มีคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโดยผู้ให้เช่าซื้อไม่ใช่เจ้าของทรัพย์: ความยินยอมของเจ้าของทรัพย์ทำให้สัญญามีผลผูกพัน
การที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันโดยมิได้ฝ่าฝืนอำนาจของเจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้อ แม้โจทก์ที่เป็นฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้ออันเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติ มาตรา 572 ของป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 เช่าซื้อ ที่กำหนดให้เจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้ แต่กรณีนี้มีลักษณะพิเศษโดยเจ้าของทรัพย์สินให้ความยินยอมทำให้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและมาตรา 572 ก็มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้สัญญาเช่าซื้อจะแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย มาตรา 572 แต่ก็เป็นสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อที่มิใช่เจ้าของทรัพย์สินได้รับความยินยอมของเจ้าของทรัพย์สินให้นำทรัพย์สินออกให้เช่าซื้อได้จึงไม่เป็นโมฆะมีผลผูกพันคู่กรณี กรณีนี้เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาไปก็ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246 มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในสัญญาซื้อขาย หากทำหน้าที่ตามอำนาจและสัญญาทำในนามบริษัท
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2548 โจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นกล่องใส่ซีดีทำด้วยดีบุก จำนวน 5,000,000 ใบราคา 1,470,432 ดอลลาร์สหรัฐ และของเล่นเป็นรถไฟฟ้าทำด้วยไม้ระบบโซนิค จำนวน 5,501,500 ชิ้น ราคา 1,603,429 ดอลลาร์สหรัฐ จากจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ชำระเงินมัดจำร้อยละ 20 ของราคาสินค้าในแต่ละประเภทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าทั้งสองประเภทและไม่คืนเงินมัดจำ จึงเป็นการผิดสัญญาต้องคืนเงินและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้ในการติดต่อซื้อขายสินค้ากับโจทก์ โจทก์ติดต่อผ่านจำเลยที่ 2 โดยการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่ได้อ้างถึงจำเลยที่ 1 แต่ข้อความดังกล่าวจำเลยที่ 2 เขียนเพื่อแจ้งรายละเอียดของวันเวลาตามแผนงานการผลิตกล่องใส่ซีดีตั้งแต่วันเริ่มออกแบบจนถึงวันที่จัดส่งสินค้าเสร็จสิ้น และแจ้งราคาค่าเครื่องมือสำหรับผลิตกล่องใส่ซีดีและรถไฟไม้ให้โจทก์ทราบ รวมถึงการนัดหมายเชื้อเชิญให้โจทก์มาเยี่ยมชมโรงงาน ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปในฐานะส่วนตัว อีกทั้งหลักฐานการโอนเงินก็เป็นชื่อบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว มิใช่จำเลยที่ 2 ประกอบกับการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 นิติบุคคลย่อมจะต้องกระทำโดยผ่านจำเลยที่ 2 ที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายสินค้าที่พิพาทกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพราะกระทำละเมิดแอบอ้างชื่อจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ นั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิด ข้ออ้างดังกล่าวถือเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินฯ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยล้มละลายไม่มีอำนาจอุทธรณ์หรือฎีกาคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพราะอำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยย่อมไม่มีอำนาจกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย โดยอำนาจดังกล่าวตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในทันทีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 และมาตรา 24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ ทั้งจำเลยก็ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาต่อมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ผู้โอนสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีแทนเจ้าหนี้เดิมหากไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับ
บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสอง ไม่ใช่คู่ความในคดีหรือเป็นบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ นอกจากนี้การที่จะเข้าสวมสิทธิแทนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีนั้น ต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายให้เข้าสวมสิทธิแทนได้ เช่น ตาม พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ เป็นต้น ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง กรณีผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย
คำว่า "ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองหมายถึงผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม
ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันการกระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 หากผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ในระหว่างนี้ผู้จัดการมรดกที่เหลือยังไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อการฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 วรรคสอง ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์ทั้งสองกับ ป. เป็นผู้จัดการมรดกต่อมา ป. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ทั้งสองจะจัดการมรดกเพียง 2 คน โดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลไม่มีอำนาจจะจัดการได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เหมือนการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินของผู้ตายแก่โจทก์ทั้งสอง
ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันการกระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 หากผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ในระหว่างนี้ผู้จัดการมรดกที่เหลือยังไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อการฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 วรรคสอง ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์ทั้งสองกับ ป. เป็นผู้จัดการมรดกต่อมา ป. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ทั้งสองจะจัดการมรดกเพียง 2 คน โดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลไม่มีอำนาจจะจัดการได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เหมือนการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินของผู้ตายแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: การเข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องมีอำนาจตามกฎหมาย และความสัมพันธ์กับความเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 แต่ตามคำฟ้องไม่ได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ แม้โจทก์ร่วมทั้งสองจะยื่นคำร้องอ้างว่าการทำร้ายของจำเลยทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา โดยโจทก์ไม่คัดค้านการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ตาม แต่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุนานเกือบ 9 เดือน และบาดแผลที่เป็นสาเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายก็มิใช่บาดแผลที่ผู้เสียหายถูกจำเลยทำร้ายตามฟ้อง ทั้งโจทก์ก็มิได้ยืนยันแน่นอนว่าบาดแผลที่ทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายเกิดจากการกระทำของจำเลยจริงดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบุพการีของผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายโดยเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร มิฉะนั้นการประเมินเป็นโมฆะ
แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการสาขาของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการย่อมต้องแยกใบกำกับภาษีและคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเลขที่ 119 โดยนำใบกำกับภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่เลขที่ 49 ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขา จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ การกระทำของโจทก์เป็นกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแก่โจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (2)
แม้คำว่า "อธิบดี" จะหมายความรวมถึงผู้ที่อธิบดีมอบหมายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 2 แต่จำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏว่าสรรพากรภาค 10 เป็นผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน 2540 จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2540 โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเลขที่ 119 คงยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่เลขที่ 49 เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเลขที่ 119 ภายในกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยไม่ต้องขออนุมัติการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (1) ประกอบมาตรา 88/6 (1) (ค)
แม้คำว่า "อธิบดี" จะหมายความรวมถึงผู้ที่อธิบดีมอบหมายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 2 แต่จำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏว่าสรรพากรภาค 10 เป็นผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน 2540 จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2540 โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเลขที่ 119 คงยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่เลขที่ 49 เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเลขที่ 119 ภายในกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยไม่ต้องขออนุมัติการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (1) ประกอบมาตรา 88/6 (1) (ค)