พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เกินกำหนดเวลาฟ้องร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 181 บัญญัติกำหนดเวลาที่จะบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะว่าจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ การที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของผู้ตายทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือมอบอำนาจอันเป็นโมฆียะให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2507 โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 จึงล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทได้
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิฟ้องคดีเรียกทรัพย์คืนจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิ และสามารถฟ้องได้โดยไม่มีกำหนดอายุความนั้น คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องและคำให้การว่าโจทก์บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 หรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิโดยไม่มีกำหนดอายุความตามที่โจทก์ฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่นอกฟ้องนอกประเด็นถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิฟ้องคดีเรียกทรัพย์คืนจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิ และสามารถฟ้องได้โดยไม่มีกำหนดอายุความนั้น คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องและคำให้การว่าโจทก์บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 หรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิโดยไม่มีกำหนดอายุความตามที่โจทก์ฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่นอกฟ้องนอกประเด็นถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10912/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การเพิกถอนขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากพ้นกำหนดสิทธิขาด
คำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งประกาศแจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าการขายทอดตลาดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในบังคับมาตรา 296 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวและเสนอบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน รายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 ว่า ได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและจ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีไปแล้ว การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงตามมาตรา 296 วรรคสี่ (2) การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 13 ธันวาคม 2550 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์ภาษีไม่ใช่ อายุความ ฟ้องผิดศาลไม่ได้ขยายเวลา
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) ถือเป็นระยะเวลาให้ฟ้องคดีที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ถือเป็นอายุความ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่การที่โจทก์เข้าใจผิดในข้อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นฟ้องผิดศาลไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะใช้ดุลพินิจขยายระยะเวลาให้ได้
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่การที่โจทก์เข้าใจผิดในข้อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นฟ้องผิดศาลไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะใช้ดุลพินิจขยายระยะเวลาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังพ้นกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 โดยไม่มีการชี้สองสถาน การที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจึงอาจทำได้ภายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเกินกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 180 กำหนดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน/บ้าน: กำหนดเวลาสร้างและโอนกรรมสิทธิ์เป็นสาระสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญาเมื่อไม่สามารถสร้างตามกำหนด
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลย ย่อมแสดงว่าโจทก์ผู้จะซื้อเชื่อถือข้อสัญญาที่ทำกับจำเลยและมุ่งหมายจะได้รับประโยชน์จากการใช้สอย โดยมั่นใจว่าโครงการของจำเลยจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามที่ระบุในสัญญา กำหนดระยะเวลาก่อสร้างและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของสัญญา หาเป็นเพียงการประมาณเวลาที่จะแล้วเสร็จมิใช่กำหนดเวลาตายตัวแต่อย่างใดจำเลยเป็นเจ้าของโครงการขนาดใหญ่ มีประสบการณ์ในการจัดสรรที่ดินมาแล้วหลายโครงการย่อมทราบถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการขอใบอนุญาตจัดสรรเป็นอย่างดีจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องขวนขวายเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา จำเลยจะอ้างเหตุเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินล่าช้าเพื่อขยายระยะเวลาก่อสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ออกไปหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงปรากกฎว่าหลังจากโจทก์ชำระเงินดาวน์ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้น 29 งวดแล้ว โจทก์ได้รับการติดต่อจากจำเลยว่าหากจะผ่อนค่าบ้านต่อไปก็ผ่อนได้ โดยจำเลยจะนำเงินดังกล่าวไปเป็นทุนสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ โจทก์จึงชำระเงินให้แก่จำเลยอีก 5 งวด เป็นเงิน 75,000 บาท การที่โจทก์ขวนขวายหาเงินมาผ่อนชำระให้จำเลยอีก 5 งวด ทั้ง ๆ ที่ผ่อนเงินดาวน์มาครบแล้ว ย่อมแสดงว่าขณะนั้นโจทก์ต้องการจะรับโอนกรรมสิทธิ์และเข้าอยู่อาศัยแต่จำเลยก็มิได้ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ ทำให้โจทก์ต้องหยุดผ่อนชำระ จนกระทั่งปี 2543 หลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้วถึง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์หยุดผ่อนชำระไปแล้วกว่า 2 ปี จำเลยเพิ่งมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ การที่โจทก์ยังชำระเงินให้แก่จำเลยต่ออีก 5 งวด หลังจากชำระเงินดาวน์เสร็จสิ้นแล้วจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ภายใน 2 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามข้อตกลง จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาและการหักลบเวลาเดินทางตามกฎหมาย
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา แม้โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.55 น. ซึ่งนับแต่เวลาจับกุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.10 น. โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง 45 นาที ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาปรากฏว่า หลังจากจำเลยถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.30 นาฬิกา แล้ว ในวันเดียวกันเวลา 15.40 นาฬิกา จำเลยจึงถูกควบคุมตัว แสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้เวลาในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบกับยังมีระยะเวลาที่ต้องใช้ในการนำตัวจำเลยพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลคลองสานมายังที่ทำการของพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอีกด้วย เมื่อรวมระยะเวลาที่ใช้ไปในการนำตัวผู้ต้องหาเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวทั้งหมดแล้วเชื่อว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง เมื่อกฎหมายมิให้นับเวลาเดินทางตามปกติดังกล่าวเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ เห็นได้ว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงตามกฎหมาย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ประทับฟ้องด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง และการนับเวลาเดินทางของผู้ต้องหา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิได้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วยตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา ระบุวัน เดือน ปี และเวลาจับเป็นวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13 นาฬิกา วัน เดือน ปี และเวลาควบคุมเป็นวันเดียวกัน เวลา 14.40 นาฬิกา จึงต้องถือว่าวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 14.40 นาฬิกา เป็นเวลาที่นำตัวจำเลยจากที่จับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ซึ่งยังมิได้นับเวลาที่นำตัวจำเลยจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้ารวมในกำหนดเวลาด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.55 นาฬิกา จึงเห็นได้ชัดว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาจับกุมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการและการรับคำขอรับชำระหนี้ แม้พ้นกำหนด หากลูกหนี้จงใจปกปิดข้อมูลเจ้าหนี้
การที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการโดยมิได้แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมกับคำร้องขอ ทั้งๆ ที่ได้ปรากฏชื่อเจ้าหนี้ตามเอกสารต่างๆ ของลูกหนี้ที่ทำไว้เป็นหลักฐานสำคัญในการประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินของลูกหนี้ พฤติการณ์แห่งคดีส่อเจตนาของลูกหนี้ว่าจงใจไม่แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมคำร้องขอตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/6 วรรคสี่ อันเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะทำให้ศาลล้มละลายกลางไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มาก่อนหน้านี้ กรณีนับว่ามีเหตุตามกฎหมายให้รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจาณาแม้จะได้ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 แล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมถึงที่สุด การยื่นคำร้องหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์ไม่สามารถโต้แย้งได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ โจทก์ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง คือภายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 13 มกราคม 2549 ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ ความมุ่งหมายของโจทก์ก็คือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ มีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอม ซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของโจทก์จึงชอบแล้ว ส่วนคำพิพากษาตามยอมย่อมเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้อีก