พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9574/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: ผู้ฟ้องต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีหลังบรรลุนิติภาวะ
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า "คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็น...คำร้องขอ..." การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจึงเป็นคำฟ้อง
ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้องขอ) ดังนั้นปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย หากผู้ร้องเห็นว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป
ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้องขอ) ดังนั้นปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย หากผู้ร้องเห็นว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9186/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอำนาจพิเศษในคดีบังคับคดี: แม้พ้นกำหนดก็ยื่นได้ แต่ต้องพิสูจน์สถานะไม่ใช่บริวาร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) บัญญัติถึงสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลของผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ว่า ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กำหนดเวลา 8 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลากฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่หาได้บังคับไว้เด็ดขาดว่าถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะเป็นการตัดสิทธิไม่ให้ยื่นคำร้องในภายหลัง ดังนั้น แม้จะล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องเพื่อขอแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลได้ กรณีไม่เกี่ยวกับมาตรา 199 จัตวา ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่การยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องตกลงให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในหนังสือรับรองการประโยชน์เพียงผู้เดียว และไม่เคยยินยอมให้จำเลยขายที่ดินอันเป็นสินสมรสให้แก่ ห. ก่อนมีการโอนขายกันต่อมาจนถึงโจทก์ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องยอมให้จำเลยเป็นตัวแทนถือสิทธิในที่ดินครึ่งหนึ่งแทนผู้ร้องโดยผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ ทั้ง ห. ไม่รู้ว่าจำเลยถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ร้องครึ่งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ขายที่ดินนั้นให้แก่ ห. ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยอมให้จำเลยทำการออกหน้าเป็นตัวการขายที่ดินให้แก่ ห. ผู้ร้องจึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของ ห. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเมื่อมีการโอนขายที่ดินกันต่อมาจนถึงโจทก์ ผู้ร้องจึงอ้างอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มาใช้ยันโจทก์ไม่ได้ และต้องถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นบริวารของจำเลย
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องตกลงให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในหนังสือรับรองการประโยชน์เพียงผู้เดียว และไม่เคยยินยอมให้จำเลยขายที่ดินอันเป็นสินสมรสให้แก่ ห. ก่อนมีการโอนขายกันต่อมาจนถึงโจทก์ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องยอมให้จำเลยเป็นตัวแทนถือสิทธิในที่ดินครึ่งหนึ่งแทนผู้ร้องโดยผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ ทั้ง ห. ไม่รู้ว่าจำเลยถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ร้องครึ่งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ขายที่ดินนั้นให้แก่ ห. ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยอมให้จำเลยทำการออกหน้าเป็นตัวการขายที่ดินให้แก่ ห. ผู้ร้องจึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของ ห. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเมื่อมีการโอนขายที่ดินกันต่อมาจนถึงโจทก์ ผู้ร้องจึงอ้างอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มาใช้ยันโจทก์ไม่ได้ และต้องถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการตามคำร้องขอเป็นคนอนาถา หากไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ศาลไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นอุทธรณ์เกิน 7 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย (เดิม) จึงไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาไม่ได้
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดตามกฎหมาย ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลผูกพันและไม่รับฎีกา
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การไม่ปฏิบัติตามกำหนด และเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 แต่เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมศาล จำเลยที่ 4 เพิ่งมายื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนในวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ถือได้ว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจำเลยที่ 4 จะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลภายในกำหนดเวลา หากพ้นกำหนดจำเลยที่ 4 จะสามารถยื่นคำร้องได้ต่อเมื่อมีเหตุสุดวิสัย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว ซึ่งตามเหตุผลในคำร้องที่อ้างว่าจำเลยที่ 4 หาเงินค่าธรรมเนียมศาลมาได้เพียงบางส่วนและจะนำค่าธรรมเนียมศาลส่วนที่เหลือมาวางภายใน 30 วัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 วางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ชอบ กรณีเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062-6063/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาลและการชำระค่าธรรมเนียมศาลตามกำหนดเวลา มีผลต่อการรับอุทธรณ์
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท โจทก์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 162/18 หมู่ที่ 10 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี 2540 แต่โจทก์ก็อ้างมาในฎีกาว่า โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเลิกบริษัท จึงถือว่าโจทก์ยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่บ้านหลังดังกล่าวจึงเป็นการส่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้แก่กรรมการผู้จัดการของโจทก์และทนายโจทก์ด้วยไม่
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมให้โจทก์เฉพาะค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์จำนวน 100,000 บาท ซึ่งเป็นค่าขึ้นศาลสำหรับทุนทรัพย์ 4,000,000 บาท เมื่อโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในทุนทรัพย์ที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ในทุนทรัพย์ 4,000,000 บาทนั้น ชอบแล้ว
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมให้โจทก์เฉพาะค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์จำนวน 100,000 บาท ซึ่งเป็นค่าขึ้นศาลสำหรับทุนทรัพย์ 4,000,000 บาท เมื่อโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในทุนทรัพย์ที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ในทุนทรัพย์ 4,000,000 บาทนั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4652/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในแผนฟื้นฟูกิจการ: สัญญาไม่ขัดต่อแผนหากชำระราคาครบถ้วนตามกำหนด
แผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) กำหนดว่า การชำระราคาซื้อหุ้นทั้งหมดของส่วนทุนตามแผนต้องชำระเป็นเงินสดครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่มีการซื้อขายนั้นซึ่งจะไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผนและตามสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 4.3.3 ได้กำหนดการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายว่า ผู้ซื้อแต่ละรายจะดำเนินการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายในราคาซื้อขายหุ้นสุดท้ายโดยการโอนเงินสดทั้งจำนวนเข้าบัญชีของผู้ขายตามรูปแบบและวิธีการที่กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักและผู้ร่วมลงทุนใหม่ตกลงกันก่อนวันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ และ ข้อ 1.9 "วันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ" หมายถึง วันที่การโอนหุ้นที่ซื้อขายและชำระราคาค่าหุ้นที่ซื้อขายตามข้อกำหนดในสัญญาจะต้องไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนสิ้นระยะเวลาการดำเนินการตามแผน เมื่อปรากฏว่ากลุ่มผู้ร่วมลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่ซื้อโดยโอนเงินสดครั้งเดียวเข้าบัญชีเงินฝากของลูกหนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ภายในระยะเวลาไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผน คือวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนเพื่อขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนแล้ว สัญญาซื้อขายหุ้นฉบับพิพาทจึงสอดคล้องไม่ขัดต่อข้อกำหนดของแผนส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและยกคำร้องคนอนาถา ผู้ร้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2)
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาศาลเพื่อให้ศาลทำการไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นคนยากจนจริงโดยผู้ร้องขอให้พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น และมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนการพิจารณาคดีในวันนัดไต่สวนออกไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลา 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
แม้ทนายผู้ร้องจะอ้างความเจ็บป่วยของบิดาเป็นเหตุให้มาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้ แต่ก็เป็นการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่ปรากฏเหตุสมควรที่จะทำให้เห็นได้ว่าทนายผู้ร้องต้องไปเฝ้าดูแลด้วยตนเองถึงขนาดที่จะมาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้แต่อย่างใด ประกอบกับผู้ร้องและพยานมิได้มาศาล พฤติการณ์ของทนายผู้ร้องและผู้ร้องส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานเข้าทำการไต่สวนให้น่าเชื่อว่าผู้ร้องมีฐานะยากจนและยกคำร้องของผู้ร้องจึงชอบแล้ว
แม้ทนายผู้ร้องจะอ้างความเจ็บป่วยของบิดาเป็นเหตุให้มาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้ แต่ก็เป็นการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่ปรากฏเหตุสมควรที่จะทำให้เห็นได้ว่าทนายผู้ร้องต้องไปเฝ้าดูแลด้วยตนเองถึงขนาดที่จะมาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้แต่อย่างใด ประกอบกับผู้ร้องและพยานมิได้มาศาล พฤติการณ์ของทนายผู้ร้องและผู้ร้องส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานเข้าทำการไต่สวนให้น่าเชื่อว่าผู้ร้องมีฐานะยากจนและยกคำร้องของผู้ร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม และการพิจารณาเรื่องราคาขายที่ต่ำกว่าราคาจริง
คำร้องของจำเลยที่ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ส่งประกาศขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทำให้จำเลยไม่ทราบวันขายทอดตลาดนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยโดยมิได้แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบ ซึ่งฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 306 วรรคหนึ่ง คำร้องของจำเลยดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำมาตรา 27 มาใช้บังคับแก่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องหลังจากการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวเสร็จลงจึงล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3422/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดินและผลของการฟ้องคดีเกินกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1375 วรรคสอง
จำเลยล้อมรั้วไม้ไผ่ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ โจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการกระทำดังกล่าวแต่จำเลยยังคงทำการล้อมรั้วจนแล้วเสร็จ เป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันที่มีการล้อมรั้วไม้ไผ่
ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ไม่ใช่เรื่องอายุความ จึงไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ไม่ใช่เรื่องอายุความ จึงไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย