คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ แม้ลงโทษอาญาแล้ว
การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แล้ว ยังเป็นความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐ อันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ อันมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็มีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยื่นคำร้อง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ต่อไปได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 บัญญัติว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หมายความตลอดถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทน ดังนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีล้มละลาย ไม่ใช่ยื่นคำร้องในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จำนองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจ ศาลต้องเพิกถอน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 ปรากฏว่ายังไม่ครบกำหนดที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่ออกหมายบังคับคดีให้ตามคำขอของโจทก์ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 เพื่อขายทอดตลาดโดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 278 ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการเพิกถอนการยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 ของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเสีย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 6 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 6 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าการยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 ของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการเพิกถอน จึงไม่มีกรณีที่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและมีคำสั่งระงับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยไม่มีอำนาจ และการขัดขวางเจ้าพนักงาน การกระทำที่ไม่เข้าข่ายความผิดต่อเจ้าพนักงาน
บ. พบกองไม้กระยาเลย อันเป็นไม้ผิดกฎหมายวางกองอยู่ข้างบ้าน ว. และ ว. รับว่ามีไม้หวงห้ามยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง การกระทำของ ว. ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าไม่เข้าข้อยกเว้นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80 วรรคสอง (1) (2) บ. จึงไม่มีอำนาจที่จะจับ ว. โดยไม่มีหมายจับ การที่ ว. ตาม บ. มาที่หน่วยคุ้มครองป่าจึงไม่ใช่เป็นการถูกจับตัวมา แม้ต่อมาจำเลยจะขับรถยนต์มาที่หน่วยคุ้มครองป่าและรับ ว. ขึ้นรถยนต์ของจำเลยขับออกไป บ. ติดตามจำเลยไปจนทันและเกิดเหตุกระทบกระทั่งกันขึ้นระหว่างจำเลยและ บ. ก็ยังไม่เป็นการต่อสู้หรือขัดขวาง บ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ฐานช่วยเหลือผู้อื่นให้ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งเป็นเรื่องนอกฟ้องและโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจึงลงโทษตามมาตรา 189 ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 และ 191 เนื่องจากโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยหลังจับกุมก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 ได้อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดของนิติบุคคล และอำนาจของเจ้าหน้าที่ระดับล่าง
โจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งในระหว่างเกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ว่าการ ส. จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การที่ น. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองกฎหมายอันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าโจทก์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะ น. ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ ส่วนคำสั่งของโจทก์เรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกองกฎหมายนั้น เป็นเพียงคำสั่งกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของโจทก์เท่านั้น การที่ น. มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางตามปกติ ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนผู้ว่าการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทนอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ส. ผู้ว่าการของโจทก์ได้ทราบเรื่องตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาตามลำดับชั้นและลงนามอนุมัติให้ดำเนินคดีกับจำเลยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 จึงต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071-2074/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดอำนาจตัวแทนหลังผู้เป็นตัวการเสียชีวิต และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้สัญญาตัวแทนจะระงับไปเมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม ทนายผู้ร้องก็ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของผู้ร้องต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของผู้ร้องจะอาจเข้ามาปกปักรักษาผลประโยชน์ของผู้ร้องโดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
ผู้ร้องถึงแก่กรรมวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของผู้ร้องจึงอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของผู้ร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ก็ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายประนีประนอมยอมความ: ทนายมีอำนาจใช้ดุลยพินิจเต็มที่ ไม่ต้องแจ้งความประสงค์จำเลย คู่ความฝ่ายใดฉ้อฉลไม่ได้
จำเลยแต่งตั้งให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ทนายจำเลยย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่ตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสม ไม่ได้เสียเปรียบ ทนายจำเลยไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นแม้จำเลยไม่ต้องการตกลงกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องทนายความของจำเลยกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของจำเลย หากจำเลยเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งมิใช่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการในการฎีกาคดีละเมิดอำนาจศาล และการพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาล
พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (7) บัญญัติว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย บัญญัติว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด พนักงานอัยการจึงยื่นฎีกาขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งศาลชั้นต้น การยื่นฎีกาของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (7) แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นผู้ทำการไต่สวนมาแต่แรก พนักงานอัยการก็มีอำนาจยื่นฎีกาคดีนี้ได้ และไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจและขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นละเมิดและผิดสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคาร ม. ให้แก่ธนาคาร ก. กำหนดการโอนกิจการ ให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของโจทก์โดยให้ดูแลลูกหนี้เจ้าหนี้นั้น ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่พึงได้โดยครบถ้วนและให้ทำหนังสือสัญญาก่อนดำเนินการโอน หนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ก็ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงรับโอนสินทรัพย์และหนี้สิน ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์นั้นตามข้อ 4 ก็เพียงแต่ระบุว่า "ก." ยินดีรับพนักงานของโจทก์ทุกคนที่สมัครใจทำงานกับ "ก." หรือบริษัทในเครือ หลักเกณฑ์ และหรือเงื่อนไขในการจ้าง "ก." จะพิจารณาตามความเหมาะสม ย่อมแสดงให้เห็นว่าโครงการโอนกิจการดังกล่าวโจทก์โอนเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินแก่ธนาคาร ก. เท่านั้น ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์ เป็นกรณีที่พนักงานโจทก์แต่ละรายจะต้องดำเนินการต่อไปและสมัครใจที่จะเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ภายใต้เงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ธนาคารผู้รับโอนพิจารณาก่อน จึงจะถือว่าเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิความเป็นนายจ้างของโจทก์กับพนักงานโจทก์จึงหาได้โอนไปยังธนาคารผู้รับโอนด้วยไม่ ยิ่งพิจารณาจากตำแหน่งของจำเลยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการโจทก์ด้วยแล้ว ถือว่าเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง จึงเป็นที่ชี้ชัดว่าจำเลยไม่ได้โอนไปเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีอยู่ต่อกันเช่นใดก็ยังคงเป็นไปตามนั้น หากจำเลยกระทำการไม่ถูกต้องในระหว่างที่เป็นลูกจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคำฟ้องของโจทก์บรรยายให้เห็นชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเป็นคณะกรรมการพิจารณาให้สินเชื่อชุดบริหาร มีอำนาจพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและต่ออายุสัญญาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าภายในวงเงินที่จำกัด แต่จำเลยอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์เกินกว่าอำนาจของตน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหา โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย และคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับของโจทก์ ในส่วนเรื่องการอนุมัติสินเชื่อของจำเลยเป็นการอนุมัติเร่งด่วนหรือไม่ ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในเอกสารท้ายคำฟ้องหรือไม่ อำนาจหน้าที่ระหว่างผู้บริหารระดับสูงของโจทก์กับจำเลยมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร จำเลยทำละเมิดหรือผิดสัญญาจ้างอย่างไร ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพียงใด เป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานกลางอาจหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้ เมื่อคดีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และคดีอาญาที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำเดียวกัน ประกอบกับคำฟ้องโจทก์ที่ว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริตปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายและคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการแก้ไขประเด็นข้อพิพาทให้ตรงตามที่คู่ความยื่นคำคัดค้าน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประเด็นนอกเหนืออำนาจ
ในชั้นทำคำชี้ขาด อนุญาโตตุลาการ เห็นว่า ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีการเรียกผู้คัดค้านทั้งสองสลับกัน จึงได้วินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้อง ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขโดยเรียกผู้คัดค้านให้ตรงตามที่ผู้ร้องเสนอข้อพิพาทและผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน การแก้ไขและการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นไปตามประเด็นที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
of 98