พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องยื่นภายใน 14 วันนับจากวันขายทอดตลาด มิเช่นนั้นศาลชอบยกคำร้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น คำขอเช่นว่านี้ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายได้ในครั้งนั้น ๆ" คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ วันที่ 4 สิงหาคม 2548 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าวันขายทอดตลาดคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 หาใช่วันที่คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องเสีย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องยื่นภายใน 14 วันนับจากวันขายทอดตลาด แม้คดีเพิกถอนการขายทอดตลาดค้างพิจารณา
ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้อง โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์วันที่ 4 สิงหาคม 2548 ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ แล้ว แม้จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าวันขายทอดตลาดคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 มิใช่วันที่คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุด
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์วันที่ 4 สิงหาคม 2548 ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ แล้ว แม้จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าวันขายทอดตลาดคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 มิใช่วันที่คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบข้อเท็จจริง การไม่ยื่นตามกำหนดทำให้คำร้องไม่ชอบ
คำร้องของจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง การยื่นคำร้องของจำเลยที่ 1 จึงต้องกระทำก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 179 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 โดยให้งดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ไว้เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคา จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ออกขายทอดตลาดในครั้งต่อไปตามประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ช้ากว่าสิบห้าวัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไม่ตัดสิทธิ แม้ยื่นคำขอเกินกำหนด หากมีเหตุจำเป็นตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 84 ทวิ เป็นกรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนซึ่งทราบถึงสิทธิและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ไปดำเนินการขอรับสิทธิแล้ว แต่ตนมิได้อยู่ในประเทศไทยหรืออยู่ในประเทศไทยแต่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถไปดำเนินการขอรับสิทธิตามกำหนดเวลานั้นได้ จึงยื่นคำร้องขอเลื่อนกำหนดเวลายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 56 ออกไปเพื่อรักษาประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิแต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเกินหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้นตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ก็ไม่ถูกตัดสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง: การยื่นอุทธรณ์ต้องภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง หากเกินกำหนด ศาลไม่รับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ชอบที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ประกอบมาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับฟ้องแย้งเดิมซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิมของจำเลยนั่นเอง เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เช่นนี้ การที่จำเลยยังคงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่ายื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังการขายทอดตลาดเกินกำหนด และการขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของอื่นที่ไม่ระบุในคำร้อง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 และขายทอดตลาดได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2545 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด แม้โจทก์นำยึดสิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 อีกคราวหนึ่งและไม่ได้มีการขายทอดตลาดก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องก็มีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านได้ แต่ผู้ร้องมิได้กล่าวไว้ในคำร้องและมิได้มีคำขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของดังกล่าวมาในท้ายคำร้องด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของภายในบ้านได้ เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8804/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี, สิทธิขอคืนภาษี, ดอกเบี้ยคืนภาษี, และผลของการไม่ยื่นรายการภาษีตามกำหนด
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์มิได้ใช้ที่ดินและโกดังสินค้าในการประกอบกิจการใด การขายที่ดินและโกดังสินค้าดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกข้อความตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. และข้อที่โจทก์ยอมรับการประเมินค่ารายปีและเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนมาประกอบดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มีอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไว้ในการประกอบกิจการจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็น แม้เหตุผลตามคำพิพากษาจะแตกต่างจากเหตุผลของเจ้าพนักงานประเมินหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม
โจทก์อ้างว่าอสังหาริมทรัพย์จำนวน 4 แปลง โจทก์ได้มาตั้งแต่ปี 2525 และขายไปในปี 2535 โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดิน 4 แปลงมาในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายไปในราคา 30,254,882 บาท และตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่าขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโกดังก่ออิฐถือปูน ซื้อเพื่อใช้เป็นที่สร้างคลังเก็บสินค้า แสดงว่าโจทก์ผู้ซื้อมีเจตนาใช้ประกอบกิจการเป็นโกดังเก็บสินค้ามิได้มีเจตนาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังยื่นแบบแสดงรายการกำหนดค่ารายปีและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (5) คือ อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ โจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ของโจทก์ เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินทั้ง 4 แปลงมาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไรให้เห็นโดยชัดแจ้ง คำให้การของจำเลยมุ่งแสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าโจทก์ขายที่ดินไปในทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอันเป็นภาษีคนละประเภทกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำให้การของจำเลยจึงมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไรนั้น ถือว่าจำเลยได้รับแล้ว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2535 สำหรับเงินได้จากการขายที่ดินตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 48 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 บัญญัติว่า "การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น..." ซึ่ง ป.รัษฎากร มาตรา 32 ได้กำหนดขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้วโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงมีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังกล่าวมาใช้ได้
มาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันยื่นรายการก็สืบเนื่องมาจากแม้ผู้ยื่นจะยื่นเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อผู้ยื่นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจึงต้องคืนให้ ส่วนเรื่องดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 2 กำหนดไว้ว่า การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนภาษีอากรนั้น จะคิดให้ต่อเมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการหรือคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือภายในเวลาที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับภาษีอากรที่ชำระไปแล้วคืนตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ย
โจทก์อ้างว่าอสังหาริมทรัพย์จำนวน 4 แปลง โจทก์ได้มาตั้งแต่ปี 2525 และขายไปในปี 2535 โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดิน 4 แปลงมาในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายไปในราคา 30,254,882 บาท และตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่าขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโกดังก่ออิฐถือปูน ซื้อเพื่อใช้เป็นที่สร้างคลังเก็บสินค้า แสดงว่าโจทก์ผู้ซื้อมีเจตนาใช้ประกอบกิจการเป็นโกดังเก็บสินค้ามิได้มีเจตนาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังยื่นแบบแสดงรายการกำหนดค่ารายปีและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (5) คือ อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ โจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ของโจทก์ เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินทั้ง 4 แปลงมาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไรให้เห็นโดยชัดแจ้ง คำให้การของจำเลยมุ่งแสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าโจทก์ขายที่ดินไปในทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอันเป็นภาษีคนละประเภทกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำให้การของจำเลยจึงมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไรนั้น ถือว่าจำเลยได้รับแล้ว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2535 สำหรับเงินได้จากการขายที่ดินตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 48 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 บัญญัติว่า "การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น..." ซึ่ง ป.รัษฎากร มาตรา 32 ได้กำหนดขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้วโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงมีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังกล่าวมาใช้ได้
มาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันยื่นรายการก็สืบเนื่องมาจากแม้ผู้ยื่นจะยื่นเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อผู้ยื่นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจึงต้องคืนให้ ส่วนเรื่องดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 2 กำหนดไว้ว่า การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนภาษีอากรนั้น จะคิดให้ต่อเมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการหรือคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือภายในเวลาที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับภาษีอากรที่ชำระไปแล้วคืนตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8787/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีประกันสังคมเกินกำหนด ทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์มีผลเป็นที่สุด
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 87 วรรคสาม กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย มิฉะนั้นคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด เมื่อ ค. หลานของโจทก์ลงลายมือชื่อในใบตอบรับเอกสารแทนโจทก์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 โจทก์จึงต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2547 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา ย่อมเป็นผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีประกันสังคมเกินกำหนด 30 วัน ทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์มีผลเป็นที่สุด
สำนักงานประกันสังคมส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ ค. หลานของโจทก์ลงลายมือชื่อในใบตอบรับเอกสารแทนโจทก์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 ต้องถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันนั้น
โจทก์ฟ้องคดีขอเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นผลให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องคดีขอเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นผลให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบภายในกำหนดเวลา
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จะให้สิทธิผู้รับประกันภัยบอกล้างโมฆียะกรรมได้แต่สัญญาประกันชีวิตเป็นนิติกรรมสองฝ่าย การบอกล้างโมฆียะกรรมต้องแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 เมื่อจำเลยต้องการบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตย่อมต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์ทั้งสามผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่าย มิใช่เพียงแสดงหลักฐานฝ่ายเดียวว่าตนได้ใช้สิทธิบอกล้างแล้ว การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๙ คดีนี้จำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปถึงโจทก์ทั้งสามที่จังหวัดพิจิตรทางไปรษณีย์ อันเป็นการแสดงเจตนาแก่บุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง การบอกล้างโมฆียะกรรมย่อมมีผลนับแต่เวลาที่หนังสือไปถึงโจทก์ทั้งสาม เมื่อนับจากวันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ถึงวันที่การแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมมีผลในวันที่ 7 หรือ 8 กันยายน 2540 จึงพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมนั้น การบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตให้โจทก์ทั้งสาม