คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกเลิกสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด กรณีมีผู้คัดค้านการขาย
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 12 ไม่ให้ใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ผู้ร้องทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาดกับผู้คัดค้านก่อนวันที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกำหนดตามสัญญาที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้
ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นจะต้องปฏิบัติบังคับตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี และ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ซึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 388 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาดที่มีการคัดค้าน การปฏิบัติตามกฎหมายบังคับคดีและล้มละลาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 12 ไม่ให้ใช้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ผู้ร้องทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับผู้คัดค้าน ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมาปรับใช้กับสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ ต้องพิจารณาไปตามบทกฎหมายอื่น
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี และ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังกล่าว กรณีไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 388

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้บริโภคในการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน/บ้านที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสิทธิในการได้รับเงินคืน
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านและรั้วเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่กันและกันนั้นคือ ผู้บริโภคทั้งสี่รายต้องชำระเงินค่างวดให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตลอดจนชำระเงินงวดสุดท้ายในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือเมื่อจำเลยที่ 2 ก่อสร้างบ้านและรั้วเสร็จสิ้น ขณะเดียวกันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพร้อมรั้วไปด้วย แม้ตามสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของการพัฒนาที่ดินหรือสิ้นสุดของการก่อสร้างบ้านและรั้วของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะพึงต้องชำระหนี้ให้แก่ผู้บริโภคทั้งสี่ราย แต่ก็ย่อมอนุมานได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร การที่ข้อเท็จจริงได้ความว่านับแต่ทำสัญญาในปี 2538 จนถึงปี 2547 ที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาถึง 9 ปี ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพร้อมรั้วจนแล้วเสร็จให้อยู่ในสภาพพร้อมโอนให้ผู้บริโภคทั้งสี่รายได้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ซึ่งในเวลาเดียวกันผู้บริโภคทั้งสี่รายกลับผ่อนชำระให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงินพอสมควรดังกล่าวข้างต้น อันถือได้ว่าผู้บริโภคทั้งสี่รายได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ไปบ้างแล้ว ขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 หาได้ปฏิบัติการชำระหนี้เป็นการตอบแทนแต่อย่างใดไม่ เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะผู้มีอำนาจดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทั้งสี่รายซึ่งเป็นเสมือนเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามหนังสือและใบตอบรับก็เพื่อบอกเลิกสัญญา หาใช่หนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาไม่ ดังนั้นจึงไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลา 15 วันว่าเป็นเวลาพอสมควรหรือไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องชดใช้เงินคืนแก่ผู้บริโภคทั้งสี่รายตามฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 บัญญัติว่า การดำเนินคดีในศาลแทนผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคนั้นให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล และได้แจ้งคำสั่งไปยังกระทรวงยุติธรรมแล้ว จึงมีผลให้พนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีได้เองโดยตรงในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค หาใช่เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะเป็นทนายแผ่นดินไม่ ดังจะเห็นได้ว่าไม่มีการแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความเช่นคดีอื่นๆ เมื่อพนักงานอัยการมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความ จึงไม่ชอบที่ศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแก่ฝ่ายที่ชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากจำเลยมิได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ และการพิพากษาให้ชำระเงินตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเลขที่ 905 บี กับจำเลยที่ 1 โดยให้ถือเอาเงินจองที่โจทก์ได้ชำระแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุด และได้ชำระเงินในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนกับตกลงชำระส่วนที่เหลือเป็นงวดรายเดือน รวม 30 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนพฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป ส่วนราคาห้องชุดส่วนที่เหลือ โจทก์ตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ข้อเท็จจริงคดีนี้ จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดแก่โจทก์โดยมิชอบ กรณีจึงไม่มีผลตามกฎหมายและไม่อาจถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ขายห้องชุดพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6324/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าพื้นที่, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, และการชดใช้ค่าตกแต่งร้าน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาค่าสิทธิการเช่าโดยไม่มีอำนาจกระทำการซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองที่ต้องมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอื่นอีกหนึ่งคนซึ่งต้องมิใช่จำเลยที่ 3 และประทับตราสำคัญของบริษัทก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้ให้สัตยาบันการกระทำดังกล่าวตามรายงานการประชุมกรรมการจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823, 1167 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมัน: การบอกเลิกสัญญา, ค่าชดเชย, และค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์สิน
การพิจารณาว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อตกลงแต่งตั้งผู้ประกอบการระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสำคัญซึ่งระบุไว้ในข้อ 10 ของสัญญาดังกล่าวว่า "ในระหว่างระยะเวลาการเช่าตามข้อ 6 หากผู้ประกอบการไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไป หรือสัญญานี้เลิก หรือสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาตามข้อ 1 เนื่องจากความผิดของผู้ประกอบการ บริษัทบางจากฯ มีสิทธิที่จะจัดผู้อื่นเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการแทนโดยจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ประกอบการ..." ข้อเท็จจริงได้ความว่า ก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โจทก์ประสบภาวะขาดทุนโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไปขอให้จำเลยรีบดำเนินการจ่ายเงินชดเชยค่าใช้ประโยชน์ในที่ดินและเงินชดเชยค่าก่อสร้างให้โจทก์ และเหตุที่โจทก์ประสบภาวะขาดทุนเป็นผลมาจากโจทก์ไม่สามารถซื้อน้ำมันจากจำเลยตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาจึงถูกจำเลยปรับ ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไปจึงเป็นผลมาจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 10 ที่จะจัดผู้อื่นเข้ามาดำเนินการแทนโดยจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ประกอบการ สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิของฝ่ายจำเลยที่จะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้เพราะข้อสัญญาไม่ได้บังคับไว้ เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ในส่วนที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่ายินดีที่จะใช้สิทธิเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันต่อไปและชำระค่าชดเชยแก่โจทก์ หนังสือนั้นจึงมีลักษณะเป็นคำสนองรับการไม่ประสบจะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากของโจทก์ แต่คำสนองของจำเลยดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่าจำเลยจะชำระค่าชดเชยแก่โจทก์ และจำเลยจะจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้สิทธิเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากจากโจทก์และจะนัดหมายโจทก์มาลงนามรับข้อตกลงต่อไป จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและมีหนังสือโต้แย้งจำนวนค่าชดเชยและวิธีการคำนวณค่าชดเชย หนังสือดังกล่าวจึงเป็นการบอกปัดคำเสนอของจำเลย คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพัน
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 12 ไม่ให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ การที่จำเลยทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 ก่อนวันที่ พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ จึงนำ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลภาครัฐ และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนจากความล่าช้าในการบอกเลิกสัญญา
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบงานบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์โดยผลของกฎหมาย เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาโดย ว. ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาในขณะยื่นฟ้องคดีนี้ได้ลงลายมือชื่อ แต่งให้ ส. อัยการผู้เชี่ยวชาญคดีแพ่ง เขต 8 เป็นทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานได้แล้วเสร็จตามสัญญาได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน ต้องนับว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควรทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเช่าล่วงหน้า, การคืนเงิน, ค่าเสียหาย
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า ชำระค่าเช่าล่วงหน้าสำหรับการเช่า 21 ปี เป็นเงิน 8,000,000 บาท ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ จะนำสืบว่าโจทก์มีเจตนาที่จะให้เงินจำนวน 8,000,000 บาท เป็นเงินค่าตอบแทนพิเศษหรือเงินกินเปล่านั้น เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) ดังนั้น จึงต้องรับฟังตามสัญญาเช่าที่ดินว่าเงินจำนวน 8,000,000 บาท ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ไปนั้นเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้าสำหรับการเช่าเป็นเวลา 21 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้านที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่างานก่อสร้างแล้วเสร็จ
โจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอาระยะเวลาในการก่อสร้างบ้านเป็นสำคัญ แต่ถือเอาการก่อสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ยังคงยืนยันว่าบ้านยังไม่เสร็จเรียบร้อย ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 387 เมื่อปรากฎว่าจำเลยขายบ้านไปแล้ว และโจทก์ก็ไม่ประสงค์จะซื้อบ้านอีกต่อไป สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันและต่างฝ่ายต่างกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตามมาตรา 391 วรรคสอง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต่างตอบแทน ผู้ขายผิดนัดก่อสร้างบ้าน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับ บ. เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยและ บ. จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่กันและกัน โดย บ. ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วบางส่วน อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยก็ต้องทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำภายในเวลาอันสมควร อันได้แก่การต้องลงมือก่อสร้างบ้านตามที่ตกลงไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยยังไม่ได้ลงมือก่อนสร้างบ้าน ถือว่า จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้เป็นการตอบแทน จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญาตั้งแต่นั้นมา จึงไม่ต้องคำนึงว่าระยะเวลา 15 วัน ที่โจทก์กำหนดไว้ในหนังสือให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลาพอสมควรหรือไม่ แม้หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่ระบุข้อความว่า บ. พร้อมที่จะชำระเงินดาวน์ส่วนที่เหลือ ก็ไม่ทำให้หนังสือบอกเลิกสัญญามาชอบแต่อย่างใด เพราะข้อความดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญของการบอกเลิกสัญญาหนังสือบอกเลิกสัญญาชอบแล้ว
of 103